ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กองทัพบกใช้งบ 15 ล้านบาท ขุดลอกขุมน้ำประปาสวนหลวง จังหวัดภูเก็ต เพิ่มขีดความสามารถในการเก็บกักน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำช่วงหน้าแล้ง-อุทกภัย
วันนี้ (28 มี.ค.) พล.ต.วัจน์พัฒน์ เฟื่องฟู รองเจ้ากรมการทหารช่าง พร้อมด้วย พ.อ.ถาวร ไชยเดือน ผู้อำนวยการก่อสร้าง และ พ.อ.ภาสกร สนิท หัวหน้าชุดตรวจมาตรฐานฯ จากกรมทหารช่างราชบุรี ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบตามนโยบายของรัฐบาล ดำเนินการโดยกองทัพบก ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยมี น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ผู้แทนจากเทศบาลตำบลวิชิต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ ณ บริเวณขุมน้ำประปาสวนหลวง ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต
พล.ต.วัจน์พัฒน์ เฟื่องฟู รองเจ้ากรมการทหารช่าง กล่าวถึงการเข้ามาดำเนินโครงการดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า เนื่องจากรัฐบาลต้องการแบ่งความสุขด้วยการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องภัยแล้ง อุทกภัย จึงได้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา เป็นโครงการต่อเนื่อง สำหรับจังหวัดภูเก็ตได้ทั้งหมด 2 โครงการ ที่ขุมน้ำประปาสวนหลวง ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต เนื่องจากปัจจุบันขุมน้ำดังกล่าวมีสภาพตื้นเขิน ถูกปกคลุมด้วยวัชพืช และไม่ได้รับการขุดลอกมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ความสามารถในการเก็บกักน้ำลดลง ประกอบกับความต้องการน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคเพิ่มขึ้น จึงประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบ จึงได้ดำเนินโครงการฯ นี้ขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวของจังหวัดภูเก็ต เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคให้แก่ อ.เมืองภูเก็ต และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำให้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับการดำเนินการใช้งบในการดำเนินโครงการฯ จำนวน 15 ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ไปสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2560 นี้ หลังจากดำเนินการเสร็จคิดว่าจะรองรับน้ำได้ประมาณ 800 ครัวเรือน เก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นกว่า 4 แสนลูกบาศก์เมตร จะสามารถช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ไม่ให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำได้
ด้าน น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวเสริมว่า สำหรับขุมน้ำประปาสวนหลวงดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนเจ้าฟ้าฝั่งตะวันออกของนครภูเก็ต เป็นเขตรอยต่อระหว่างเทศบาลนครภูเก็ต กับเทศบาลตำบลวิชิต ช่วงหน้าแล้งน้ำจะอ่อน ฉะนั้น ขุมน้ำแห่งนี้ซึ่งได้อานิสงส์จากการขุดลอกเพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนก็จะสามารถรองรับน้ำได้ประมาณ 4 เท่าตัว เป็นการตอบโจทย์ในการบริการน้ำให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่รอยต่อดีขึ้นด้วย
วันนี้ (28 มี.ค.) พล.ต.วัจน์พัฒน์ เฟื่องฟู รองเจ้ากรมการทหารช่าง พร้อมด้วย พ.อ.ถาวร ไชยเดือน ผู้อำนวยการก่อสร้าง และ พ.อ.ภาสกร สนิท หัวหน้าชุดตรวจมาตรฐานฯ จากกรมทหารช่างราชบุรี ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบตามนโยบายของรัฐบาล ดำเนินการโดยกองทัพบก ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยมี น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ผู้แทนจากเทศบาลตำบลวิชิต และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ ณ บริเวณขุมน้ำประปาสวนหลวง ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต
พล.ต.วัจน์พัฒน์ เฟื่องฟู รองเจ้ากรมการทหารช่าง กล่าวถึงการเข้ามาดำเนินโครงการดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า เนื่องจากรัฐบาลต้องการแบ่งความสุขด้วยการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องภัยแล้ง อุทกภัย จึงได้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา เป็นโครงการต่อเนื่อง สำหรับจังหวัดภูเก็ตได้ทั้งหมด 2 โครงการ ที่ขุมน้ำประปาสวนหลวง ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต เนื่องจากปัจจุบันขุมน้ำดังกล่าวมีสภาพตื้นเขิน ถูกปกคลุมด้วยวัชพืช และไม่ได้รับการขุดลอกมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ความสามารถในการเก็บกักน้ำลดลง ประกอบกับความต้องการน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคเพิ่มขึ้น จึงประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบ จึงได้ดำเนินโครงการฯ นี้ขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวของจังหวัดภูเก็ต เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคให้แก่ อ.เมืองภูเก็ต และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการกักเก็บน้ำให้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับการดำเนินการใช้งบในการดำเนินโครงการฯ จำนวน 15 ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ไปสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2560 นี้ หลังจากดำเนินการเสร็จคิดว่าจะรองรับน้ำได้ประมาณ 800 ครัวเรือน เก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นกว่า 4 แสนลูกบาศก์เมตร จะสามารถช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ไม่ให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำได้
ด้าน น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวเสริมว่า สำหรับขุมน้ำประปาสวนหลวงดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนเจ้าฟ้าฝั่งตะวันออกของนครภูเก็ต เป็นเขตรอยต่อระหว่างเทศบาลนครภูเก็ต กับเทศบาลตำบลวิชิต ช่วงหน้าแล้งน้ำจะอ่อน ฉะนั้น ขุมน้ำแห่งนี้ซึ่งได้อานิสงส์จากการขุดลอกเพื่อเพิ่มปริมาณการเก็บกักน้ำในช่วงหน้าฝนก็จะสามารถรองรับน้ำได้ประมาณ 4 เท่าตัว เป็นการตอบโจทย์ในการบริการน้ำให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่รอยต่อดีขึ้นด้วย