ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพใบยางพาราร่วงผิดธรรมชาติในพื้นที่ทุ่งสาคร ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ ถ่ายเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม 2559
หลายคนคงไม่รู้ว่า จ.กระบี่ เคยมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมาก่อน และประสบการณ์ที่เจ็บปวดทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
โรงไฟฟ้าถ่านหินที่นี่เริ่มเดินเครื่องเมื่อ พ.ศ.2507 มีกำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ ก่อนเพิ่มเป็น 60 เมกะวัตต์ และเดินเครื่องจนกระทั่งถึง พ.ศ.2538 จึงยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง และหันมาใช้น้ำมันเตาแทน
ในช่วงที่ผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินได้ทำให้ใบยางพาราที่ร่วงเหมือนผลัดใบ ผิดปกติถึง 2 ครั้งต่อปี!!
นอกเหนือจากผลัดใบตามธรรมชาติในช่วงหน้าแล้ง ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถกรีดยางได้ ยางพาราบางต้นยืนต้นตาย และไม่สามารถเพาะกล้ายางได้ เพราะมีขี้เถ้าถ่านหินมาเกาะใบตอนกลางคืน และหากฝนตกจะทำให้ใบกล้ายางไหม้ และร่วงหล่น บางต้นแห้งตาย
หลังจากเลิกใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ผ่านไป 21 ปี แต่ใบยางพารายังร่วงผิดธรรมชาติ 1 ครั้งต่อปี!!
นอกเหนือจากร่วงตามธรรมชาติในฤดูแล้ง สังเกตในภาพครับ ใบยางสีเขียวปลิดขั้วร่วงลงมา ไม่ใช่ร่วงตามธรรมชาติ
ในรายงานการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก็ได้ระบุถึงประสบการณ์ที่เลวร้ายนี้ของชาวบ้าน แต่ทำไมคนอยากได้โรงไฟฟ้าถ่านหินยังท่องคาถาว่า...
“ถ่านหินสะอาด”?!
ขอให้ลองคิดครับ นี่ขนาดโรงไฟฟ้าถ่านหินแค่กำลังผลิต 36 เมกะวัตต์เอง ผลกระทบยังขนาดนี้ หากจะสร้างขนาดใหม่ขนาด 800 เมกะวัตต์ ผลกระทบจะขนาดไหน?!?!
------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพจากงานวิจัย อันดามัน : ความรู้ท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมเชิงวัฒนธรรม การเมืองเรื่องความรู้ และความเป็นธรรมทางสังคมด้านสุขภาวะ (2559)