สุราษฎร์ธานี - อดีต ส.ว.คนดัง พระสงฆ์ ภาครัฐ ผู้นำชุมชน ประชาชนออกโรงจี้รัฐบาลแก้ปัญหาน้ำป่าไหลหลากเข้าพื้นที่ย่านเศรษฐกิจ หลังหน่วยงานเกี่ยวข้องเสนอของบดำเนินการ แต่กลับถูกดองเงียบจนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมย่านเศรษฐกิจ
นายวศิน สมบูรณ์ รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสุราษฎร์ธานี 1 (พุนพิน) กล่าวภายหลังมีการหารือร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากแขวงทางหลวง สุราษฎร์ธานี 1 (พุนพิน) ตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพระชลธารถาวโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เขาเพ-ลา ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือใน อ.ท่าชนะ นายภิญญา ช่วยปลอด อดีต ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.สุราษฎร์ธานี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำป่าไหลหลากในที่พื้นที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเมื่อต้นปีใหม่มีน้ำป่าไหลหลากจนเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก และสะพานสายเอเชียขาดสะบั้น ทำให้เส้นทางสายใต้เป็นอัมพาตชั่วคราวนั้น ทั้งนี้ ในพื้นที่ อ.ท่าชนะ เป็นพื้นที่ต้นน้ำของ จ.สุราษฎร์ธานี กระแสน้ำพัดพาความเสียหายในย่านเศรษฐกิจบริเวณสี่แยกหนองนิล ต.สมอทอง อ.ท่าชนะจำนวนมหาศาล ว่า
สภาพปัญหาน้ำป่าไหลหลาก และท่วมขังในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นถนนสาย 4265 เป็นปัญหามานานเพราะทางระบายน้ำแคบ และเล็ก น้ำท่วมปีนี้ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ซึ่งทางแขวงทางหลวง ได้เขียนแผนขอสนับสนุนงบประมาณขยายถนนจาก 6 เมตร เป็น 8 เมตร ระยะทาง 1,250 เมตร และทำท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำป่าไหลหลากเข้าพื้นที่ย่านเศรษฐกิจ โดยใช้งบประมาณ 29 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน เม.ย.ปี 2559 แต่เรื่องกลับถูกดองเงียบ จนมาเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
ขณะที่ นายภิญญา ช่วยปลอด อดีต ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.สุราษฎร์ธานี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับปากว่า จะช่วยประสานไปยังหน่วยงานรัฐ และรัฐบาลอีกทางหนึ่งเพราะเข้าใจดีถึงสภาพน้ำท่วม ตนเองก็เคยประสบต่อน้ำท่วมหนักมาแล้ว
ขณะที่ พระชลธารถาวโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เขาเพ-ลา กล่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านตลอดเรื่องน้ำป่า และน้ำท่วม และเคยนั่งรถผ่านเห็นสภาพความเดือดร้อน และตั้งแต่ปลายปี 2559 จนถึงปีนี้น้ำท่วมร่วม 7 ครั้งมาแล้ว หน่วยงานภาครัฐควรที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้โดยไม่ให้มวลน้ำจำนวนมากไหลลงมารวมกันในพื้นที่ต่ำ ทางภาครัฐจะต้องเปิดเส้นทางน้ำให้ไหลไปลงที่คลองท่ากระจายอีกจุดหนึ่งเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากได้อย่างถาวร
อย่างไรก็ตาม ในการหารือร่วมกัน ในส่วนของชาวบ้านกว่าร้อยละ 90 พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ หากทางเจ้าหน้าที่รัฐสามารถแก้ไขสภาพปัญหาดังกล่าวได้ อีกทั้งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะรับไปดำเนินการประสานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อขอใช้พื้นที่วางคูระบายน้ำเพื่อลงสู่แหล่งรับน้ำ เพราะเส้นทางน้ำที่จะผ่านเป็นพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
นายวศิน สมบูรณ์ รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงสุราษฎร์ธานี 1 (พุนพิน) กล่าวภายหลังมีการหารือร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่จากแขวงทางหลวง สุราษฎร์ธานี 1 (พุนพิน) ตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพระชลธารถาวโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เขาเพ-ลา ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือใน อ.ท่าชนะ นายภิญญา ช่วยปลอด อดีต ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.สุราษฎร์ธานี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำป่าไหลหลากในที่พื้นที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเมื่อต้นปีใหม่มีน้ำป่าไหลหลากจนเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก และสะพานสายเอเชียขาดสะบั้น ทำให้เส้นทางสายใต้เป็นอัมพาตชั่วคราวนั้น ทั้งนี้ ในพื้นที่ อ.ท่าชนะ เป็นพื้นที่ต้นน้ำของ จ.สุราษฎร์ธานี กระแสน้ำพัดพาความเสียหายในย่านเศรษฐกิจบริเวณสี่แยกหนองนิล ต.สมอทอง อ.ท่าชนะจำนวนมหาศาล ว่า
สภาพปัญหาน้ำป่าไหลหลาก และท่วมขังในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นถนนสาย 4265 เป็นปัญหามานานเพราะทางระบายน้ำแคบ และเล็ก น้ำท่วมปีนี้ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ซึ่งทางแขวงทางหลวง ได้เขียนแผนขอสนับสนุนงบประมาณขยายถนนจาก 6 เมตร เป็น 8 เมตร ระยะทาง 1,250 เมตร และทำท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำป่าไหลหลากเข้าพื้นที่ย่านเศรษฐกิจ โดยใช้งบประมาณ 29 ล้านบาท ตั้งแต่เดือน เม.ย.ปี 2559 แต่เรื่องกลับถูกดองเงียบ จนมาเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น
ขณะที่ นายภิญญา ช่วยปลอด อดีต ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.สุราษฎร์ธานี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รับปากว่า จะช่วยประสานไปยังหน่วยงานรัฐ และรัฐบาลอีกทางหนึ่งเพราะเข้าใจดีถึงสภาพน้ำท่วม ตนเองก็เคยประสบต่อน้ำท่วมหนักมาแล้ว
ขณะที่ พระชลธารถาวโร เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เขาเพ-ลา กล่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านตลอดเรื่องน้ำป่า และน้ำท่วม และเคยนั่งรถผ่านเห็นสภาพความเดือดร้อน และตั้งแต่ปลายปี 2559 จนถึงปีนี้น้ำท่วมร่วม 7 ครั้งมาแล้ว หน่วยงานภาครัฐควรที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา ซึ่งการป้องกันสามารถทำได้โดยไม่ให้มวลน้ำจำนวนมากไหลลงมารวมกันในพื้นที่ต่ำ ทางภาครัฐจะต้องเปิดเส้นทางน้ำให้ไหลไปลงที่คลองท่ากระจายอีกจุดหนึ่งเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากได้อย่างถาวร
อย่างไรก็ตาม ในการหารือร่วมกัน ในส่วนของชาวบ้านกว่าร้อยละ 90 พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ หากทางเจ้าหน้าที่รัฐสามารถแก้ไขสภาพปัญหาดังกล่าวได้ อีกทั้งทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะรับไปดำเนินการประสานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อขอใช้พื้นที่วางคูระบายน้ำเพื่อลงสู่แหล่งรับน้ำ เพราะเส้นทางน้ำที่จะผ่านเป็นพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค