ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สนข.รับฟังความคิดเห็นการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งสุดท้าย โครงการรถไฟฟ้ารางเบา ยันรัฐบาลพร้อมสนับสนุน แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนภูเก็ต ระบุหากทุกขั้นตอนเสร็จภายในปีนี้ สามารถเริ่มโครงการได้ในปี 2561 ใช้งบประมาณในการดำเนินการ 24,000 ล้านบาท
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลวิชิต นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 4 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หรือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เส้นทางจากท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-เมืองภูเก็ต-ฉลอง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.) จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 4 ก่อนที่สรุปนำเสนอรัฐบาลในการพิจารณาต่อไป โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วม
นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟฟ้ารางเบาสำหรับการคมนาคมขนส่งในจังหวัดภูเก็ต เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตอันเป็นผลกระทบจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การดำเนินโครงการนี้จะสำเร็จเป็นรูปธรรมนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน
ด้านนายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 และเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2555 มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาศึกษาความเหมาะสม และดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเป็นการสนับสนุน และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต จัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบารอบเกาะภูเก็ต และเส้นทางสนามบิน ทาง สนข.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวางแผน ออกแบบแผน และบูรณาการการจัดทำแผนด้านการขนส่ง รวมทั้งขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติจึงมอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษา ออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนภูเก็ตในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งจังหวัดภูเก็ต ให้มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสหกรรมท่องเที่ยว
ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่บริเวณทางเหนือของห้าแยกฉลอง บนถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร รวมระยะทาง 60 กิโลเมตร รูปแบบทางวิ่ง เป็นทางวิ่งระดับพื้นดินตลอดเส้น ยกเว้นหน้าสนามบินเป็นทางยกระดับ และมีบางจุดที่ต้องวิ่งลงใต้ดิน จำนวนสถานีทั้งสิ้น 23 สถานี
รูปแบบสถานีเป็นแบบ Modern และ Sino Portuguese ระบบรางเป็นขนาดรางมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นทางคู่โดยมีทางเดียวในช่วงท่านุ่น-ประตูเมืองภูเก็ต และช่วงทางแยกถลาง ใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์บริเวณสามแยกสนามบิน แยกบางคู ช่วงในเมืองสะพานเกาะผี และถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และมีการปรับเปลี่ยนการจราจรในเมืองช่วงนอกเมือง ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนในเมืองจะใช้ความเร็ว 20-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความจุของระบบ 2,000 คนต่อชั่วโมง
นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมกลุ่มย่อยการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง การประชุมในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โดยจะมีการนำเสนอผลการศึกษาโครงการในด้านต่างๆ เช่น การปรับปรุงแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การปรับปรุงจุดกลับรถระดับดินและการก่อสร้างทางลอดของแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) และมาตรการแก้ไขและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ซึ่งการประชุมได้เน้นการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ การตอบข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุมและตอบชี้แจงข้อซักถามต่างๆ อย่างเปิดกว้าง เพื่อช่วยกันระดมความคิดเห็นร่วมคิดร่วมสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดแรกของประเทศไทยในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ เพื่อรองรับระบบการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ ในส่วนของเส้นทางการเดินรถไฟรางเบานั้น ใช้งบประมาณก่อสร้าง 24,000 ล้านบาท โครงการเริ่มจากสถานีท่านุ่น จ.พังงา เข้าเส้นทางหลักวิ่งผ่านสนามบิน เข้าเส้นถนนเทพกระษัตรี ผ่านตัวเมืองไปจนถึง 5 แยกฉลอง ระยะทาง 60 กม. มีสถานีย่อย 23 สถานี จะใช้เส้นทางบนเกาะกลางถนนเท่านั้น โดยมีกำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี
ความคืบหน้าของโครงการฯ อยู่ระหว่างรอการดำเนินงานในการร่วมลงทุน หรือ PPP (public private partnership) ในการจัดหาผู้ร่วมลงทุนในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะอยู่ในช่วงปี 2560 โดยคาดว่าคนภูเก็ตจะได้ใช้รถไฟฟ้ารางเบาในปี 2564 โดยโครงการนี้จะอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในจังหวัดภูเก็ตได้เป็นอย่างมาก เพื่อรองรับระบบการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งความเป็นไปได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความต้องการของชาวภูเก็ต
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (7 ก.พ.) ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลวิชิต นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 4 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หรือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา เส้นทางจากท่านุ่น-ท่าอากาศยานภูเก็ต-เมืองภูเก็ต-ฉลอง ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งและจราจร (สนข.) จัดขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 4 ก่อนที่สรุปนำเสนอรัฐบาลในการพิจารณาต่อไป โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเข้าร่วม
นายธีระ อนันตเสรีวิทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟฟ้ารางเบาสำหรับการคมนาคมขนส่งในจังหวัดภูเก็ต เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งแก้ไขปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ตอันเป็นผลกระทบจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การดำเนินโครงการนี้จะสำเร็จเป็นรูปธรรมนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน
ด้านนายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2555 และเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2555 มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาศึกษาความเหมาะสม และดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำรายละเอียดแผนงานโครงการ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเป็นการสนับสนุน และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้
ในส่วนของจังหวัดภูเก็ต จัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบารอบเกาะภูเก็ต และเส้นทางสนามบิน ทาง สนข.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวางแผน ออกแบบแผน และบูรณาการการจัดทำแผนด้านการขนส่ง รวมทั้งขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติจึงมอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษา ออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนภูเก็ตในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง เพื่อพัฒนาระบบขนส่งจังหวัดภูเก็ต ให้มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อแก้ปัญหาการจราจรของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสหกรรมท่องเที่ยว
ส่วนจุดสิ้นสุดโครงการอยู่บริเวณทางเหนือของห้าแยกฉลอง บนถนนเจ้าฟ้าตะวันออก ห่างจากห้าแยกฉลอง ประมาณ 200 เมตร รวมระยะทาง 60 กิโลเมตร รูปแบบทางวิ่ง เป็นทางวิ่งระดับพื้นดินตลอดเส้น ยกเว้นหน้าสนามบินเป็นทางยกระดับ และมีบางจุดที่ต้องวิ่งลงใต้ดิน จำนวนสถานีทั้งสิ้น 23 สถานี
รูปแบบสถานีเป็นแบบ Modern และ Sino Portuguese ระบบรางเป็นขนาดรางมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นทางคู่โดยมีทางเดียวในช่วงท่านุ่น-ประตูเมืองภูเก็ต และช่วงทางแยกถลาง ใช้ช่องจราจรร่วมกับรถยนต์บริเวณสามแยกสนามบิน แยกบางคู ช่วงในเมืองสะพานเกาะผี และถนนเจ้าฟ้าตะวันออก และมีการปรับเปลี่ยนการจราจรในเมืองช่วงนอกเมือง ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนในเมืองจะใช้ความเร็ว 20-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความจุของระบบ 2,000 คนต่อชั่วโมง
นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมกลุ่มย่อยการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีการประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง การประชุมในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) โดยจะมีการนำเสนอผลการศึกษาโครงการในด้านต่างๆ เช่น การปรับปรุงแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต การปรับปรุงจุดกลับรถระดับดินและการก่อสร้างทางลอดของแนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนภูเก็ต บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (ถนนเทพกระษัตรี) และมาตรการแก้ไขและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ซึ่งการประชุมได้เน้นการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ การตอบข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุมและตอบชี้แจงข้อซักถามต่างๆ อย่างเปิดกว้าง เพื่อช่วยกันระดมความคิดเห็นร่วมคิดร่วมสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดแรกของประเทศไทยในจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลให้ความสำคัญให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ เพื่อรองรับระบบการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ทั้งนี้ ในส่วนของเส้นทางการเดินรถไฟรางเบานั้น ใช้งบประมาณก่อสร้าง 24,000 ล้านบาท โครงการเริ่มจากสถานีท่านุ่น จ.พังงา เข้าเส้นทางหลักวิ่งผ่านสนามบิน เข้าเส้นถนนเทพกระษัตรี ผ่านตัวเมืองไปจนถึง 5 แยกฉลอง ระยะทาง 60 กม. มีสถานีย่อย 23 สถานี จะใช้เส้นทางบนเกาะกลางถนนเท่านั้น โดยมีกำหนดระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี
ความคืบหน้าของโครงการฯ อยู่ระหว่างรอการดำเนินงานในการร่วมลงทุน หรือ PPP (public private partnership) ในการจัดหาผู้ร่วมลงทุนในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะอยู่ในช่วงปี 2560 โดยคาดว่าคนภูเก็ตจะได้ใช้รถไฟฟ้ารางเบาในปี 2564 โดยโครงการนี้จะอำนวยความสะดวกให้แก่พี่น้องประชาชน และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในจังหวัดภูเก็ตได้เป็นอย่างมาก เพื่อรองรับระบบการคมนาคมที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจของภูเก็ต ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งความเป็นไปได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความต้องการของชาวภูเก็ต