กระบี่ - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 (ภูเก็ต) ติดตั้งเครื่องสูบน้ำระยะไกลระบายน้ำออกจากพื้นที่บ้านนาปู ต.ดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่ หลังเกิดน้ำท่วมขัง
วันนี้ (28 ม.ค.) นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 ภูเก็ต พร้อมด้วย นายเจริญ เกษีสม ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.ดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่ นำเจ้าหน้าที่เข้าติดตั้งเครื่องสูบน้ำระยะไกลที่บริเวณจุดน้ำท่วม ในพื้นที่บ้านนาปู และเขาไว้ข้าว ม.2 ต.ดินแดง เพื่อเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ หลังน้ำจากเทือกเขาหินปูน ซึ่งอยู่ในพื้นที่รอยต่อ อ.ลำทับ จ.กระบี่ และ อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช ไหลเข้าท่วมพื้นที่มานานกว่า 1เดือนที่ผ่านมา และปริมาณน้ำเพิ่งสูงขึ้นต่อเนื่องวันละ 30 ซม.และน้ำเพิ่มสูงขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนไปแล้วกว่า 30 ครัวเรือน ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านต้องอพยพออกจากพื้นที่ ส่วนคนที่ยังไม่อพยพก็ต้องอยู่อย่างลำบาก เพราะน้ำไม่มีทีท่าว่าจะลดลง นอกจากนั้นยังมีพื้นที่การเกษตรสวนยางพารา และปาล์มน้ำมันเสียหายแล้วกว่า 700 ไร่
นายชัชวาลย์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้นำเครื่องสูบน้ำระยะไกลมาติดตั้งในพื้นที่แล้ว รวม 2 เครื่อง รวมอัตราการสูบน้ำประมาณ 1 แสนลิตรต่อนาที เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ จากการสำรวจพื้นที่ร่วมกับนายก อบต.ดินแดง แล้วพบว่า พื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 500-700 ไร่ ระดับน้ำลึกโดยเฉลี่ย 2-3 เมตร ปริมาณน้ำ 1,500,000-2,000,000 คิว ขณะที่อัตราการการสูบน้ำอยู่ที่ 1 แสนลิตรต่อนาที คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ พื้นที่จุดที่ปล่อยน้ำ คือ อ.บางขัน ซึ่งไม่มั่นใจว่าจะสามารถรับปริมาณน้ำได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งระหว่างนี้ก็จะต้องเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยให้ทางนายก อบต.ดินแดง ประสานกับทางนายก อบต.ในพื้นที่บางขัน หากไม่สามารถรองรับได้ก็ต้องหามาตรการในการแก้ปัญหาต่อไป
วันนี้ (28 ม.ค.) นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 18 ภูเก็ต พร้อมด้วย นายเจริญ เกษีสม ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.ดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่ นำเจ้าหน้าที่เข้าติดตั้งเครื่องสูบน้ำระยะไกลที่บริเวณจุดน้ำท่วม ในพื้นที่บ้านนาปู และเขาไว้ข้าว ม.2 ต.ดินแดง เพื่อเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ หลังน้ำจากเทือกเขาหินปูน ซึ่งอยู่ในพื้นที่รอยต่อ อ.ลำทับ จ.กระบี่ และ อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช ไหลเข้าท่วมพื้นที่มานานกว่า 1เดือนที่ผ่านมา และปริมาณน้ำเพิ่งสูงขึ้นต่อเนื่องวันละ 30 ซม.และน้ำเพิ่มสูงขึ้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนไปแล้วกว่า 30 ครัวเรือน ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร ชาวบ้านต้องอพยพออกจากพื้นที่ ส่วนคนที่ยังไม่อพยพก็ต้องอยู่อย่างลำบาก เพราะน้ำไม่มีทีท่าว่าจะลดลง นอกจากนั้นยังมีพื้นที่การเกษตรสวนยางพารา และปาล์มน้ำมันเสียหายแล้วกว่า 700 ไร่
นายชัชวาลย์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้นำเครื่องสูบน้ำระยะไกลมาติดตั้งในพื้นที่แล้ว รวม 2 เครื่อง รวมอัตราการสูบน้ำประมาณ 1 แสนลิตรต่อนาที เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ จากการสำรวจพื้นที่ร่วมกับนายก อบต.ดินแดง แล้วพบว่า พื้นที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 500-700 ไร่ ระดับน้ำลึกโดยเฉลี่ย 2-3 เมตร ปริมาณน้ำ 1,500,000-2,000,000 คิว ขณะที่อัตราการการสูบน้ำอยู่ที่ 1 แสนลิตรต่อนาที คาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ พื้นที่จุดที่ปล่อยน้ำ คือ อ.บางขัน ซึ่งไม่มั่นใจว่าจะสามารถรับปริมาณน้ำได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งระหว่างนี้ก็จะต้องเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยให้ทางนายก อบต.ดินแดง ประสานกับทางนายก อบต.ในพื้นที่บางขัน หากไม่สามารถรองรับได้ก็ต้องหามาตรการในการแก้ปัญหาต่อไป