ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ชาวบ้าน นักเรียนหลายจังหวัดยังจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงพ่อ ขณะที่ชาวบ้านดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่ ได้ระดมกล้วยหอมทอง จำนวนกว่า 2 ตัน แจกจ่ายให้ประชาชนที่ไปร่วมแสดงความอาลัย ส่วนหนุ่มพังงาเดินตามรอยพ่อ
เมื่อเวลา 12.30 น.วันนี้ (16 พ.ย.) ที่ศาลาอเกนกประสงค์ บ้านดินแดง ต.ดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่ นายอรุณ สิงห์อินทร์ นายอำเภอลำทับ พร้อมด้วย พ.ต.อ.วิชญ์สัณห์ บุญณรงค์ รักษาราชการแทน ผกก.สภ.ลำทับ นายพรศักดิ์ หนูชัยแก้ว ผญบ.ม.3 ต.ดินแดง และชาวบ้านได้ร่วมกันนำกล้วยหอมทอง บรรจุหีบห่อ พร้อมนำขึ้นรถบรรทุกกระบะเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาร่วมแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ท้องสนามหลวง รวมจำนวน 12,000 ลูก น้ำหนักประมาณ 2 ตัน โดยเกษตรกรปลูกกล้วยหอมในพื้นที่ตำบลดินแดง ได้ร่วมกันบริจาค โดยจะออกเดินทางในเวลา 13.00 น.วันนี้ (16 พ.ย.) คาดว่าจะไปถึงที่กรุงเทพฯ ในเวลา 08.00 น.ของวันที่ 17 พ.ย.59
นายอรุณ สิงห์อินทร์ นายอำเภอลำทับ กล่าวว่า เกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองบ้านดินแดง ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และทำการเกษตรจนประสบความสำเร็จ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ จึงได้รวบรวมกล้วยหอมทองจากเกษตรในพื้นที่นำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนที่เดินทางไปกราบพระบรมศพ และถวายเป็นพระราชกุศล สำหรับกล้วยหอมทอง เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของอำเภอลำทับ จ.กระบี่ มีรสชาติหอมหวาน เป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยเกษตรในพื้นบ้านดินแดง มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทอง ทั้งหมดกว่า 5 พันไร่
ขณะที่จังหวัดระนอง นางกุลชยา เพชรปลูก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางเบน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง นำคณะครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง รวม 509 คน ร่วมกันแปรอักษรเลข ๙ ในรูปหัวใจ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
นางกุลชยา เพชรปลูก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางเบน กล่าวว่า ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมนี้เพื่อปลุกจิตสำนึกให้กับเด็กๆ และเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านมีต่อปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยในวันนี้ได้ร่วมกันแปรอักษร ซึ่งนักเรียนทุกคนและผู้ปกครองต่างให้ความร่วมมือ และได้ร่วมกันวางแผนฝึกซ้อมกว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งได้บอกแก่ทุกคนว่า สิ่งที่พวกเราได้เหน็ดเหนื่อยจากการร่วมกันทำกิจกรรมนี้ เป็นเพียงเศษเสี้ยวของพระองค์ท่านที่ได้อุทิศพระองค์เพื่อปวงชนชาวไทย
ส่วนที่จังหวัดพังงา นายจักรเพชร ชำนิกุล อายุ 28 ปี อยู่ที่บ้านเชียงใหม่ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาพัฒนาการเกษตร ผันตัวเองมาประกอบอาชีพปลูกสับปะรด เดินทางรอยเศรษฐกิจพ่อเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยนายจักรเพชร กล่าวว่า หลังจากเรียนจบได้เลือกทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทต่างจังหวัดแทนการเป็นเกษตรกรเหมือนพ่อแม่ ทำงานอยู่หลายปีก็ไม่เหลือเงินเก็บ และบางเดือนก็ไม่พอใช้ จึงหันกลับมาเจริญรอยตามพ่อและแม่ ซึ่งที่บ้านทำสวนปาล์ม และปลูกสับปะรดภูงา โดยได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ปลูก และจำหน่ายโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง แปรรูปเป็นสับปะรดกวนจำหน่ายแบบครบวงจร สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในช่วงพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
นายนิรันดร์ ปานเมือง เกษตรอำเภอตะกั่วทุ่ง กล่าวว่า สับปะรดภูงา เป็นพืชเศรษฐกิจที่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกสับปะรดภูงาแซมในสวนปาล์มน้ำมัน ที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี เกษตรกรสามารถปลูกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกสับปะรดภูงาได้ 5,000 ต้น ใช้เวลาประมาณ 1 ปี 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ มีการตั้งกลุ่มเกษตรผู้ปลูกสับปะรด เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเดือนละครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอตะกั่วทุ่ง ร่วมด้วย
เมื่อเวลา 12.30 น.วันนี้ (16 พ.ย.) ที่ศาลาอเกนกประสงค์ บ้านดินแดง ต.ดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่ นายอรุณ สิงห์อินทร์ นายอำเภอลำทับ พร้อมด้วย พ.ต.อ.วิชญ์สัณห์ บุญณรงค์ รักษาราชการแทน ผกก.สภ.ลำทับ นายพรศักดิ์ หนูชัยแก้ว ผญบ.ม.3 ต.ดินแดง และชาวบ้านได้ร่วมกันนำกล้วยหอมทอง บรรจุหีบห่อ พร้อมนำขึ้นรถบรรทุกกระบะเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาร่วมแสดงความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ท้องสนามหลวง รวมจำนวน 12,000 ลูก น้ำหนักประมาณ 2 ตัน โดยเกษตรกรปลูกกล้วยหอมในพื้นที่ตำบลดินแดง ได้ร่วมกันบริจาค โดยจะออกเดินทางในเวลา 13.00 น.วันนี้ (16 พ.ย.) คาดว่าจะไปถึงที่กรุงเทพฯ ในเวลา 08.00 น.ของวันที่ 17 พ.ย.59
นายอรุณ สิงห์อินทร์ นายอำเภอลำทับ กล่าวว่า เกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองบ้านดินแดง ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต และทำการเกษตรจนประสบความสำเร็จ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ จึงได้รวบรวมกล้วยหอมทองจากเกษตรในพื้นที่นำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนที่เดินทางไปกราบพระบรมศพ และถวายเป็นพระราชกุศล สำหรับกล้วยหอมทอง เป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของอำเภอลำทับ จ.กระบี่ มีรสชาติหอมหวาน เป็นที่นิยมของผู้บริโภค โดยเกษตรในพื้นบ้านดินแดง มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทอง ทั้งหมดกว่า 5 พันไร่
ขณะที่จังหวัดระนอง นางกุลชยา เพชรปลูก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางเบน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง นำคณะครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และอุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง รวม 509 คน ร่วมกันแปรอักษรเลข ๙ ในรูปหัวใจ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
นางกุลชยา เพชรปลูก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางเบน กล่าวว่า ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมนี้เพื่อปลุกจิตสำนึกให้กับเด็กๆ และเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ท่านมีต่อปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า โดยในวันนี้ได้ร่วมกันแปรอักษร ซึ่งนักเรียนทุกคนและผู้ปกครองต่างให้ความร่วมมือ และได้ร่วมกันวางแผนฝึกซ้อมกว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งได้บอกแก่ทุกคนว่า สิ่งที่พวกเราได้เหน็ดเหนื่อยจากการร่วมกันทำกิจกรรมนี้ เป็นเพียงเศษเสี้ยวของพระองค์ท่านที่ได้อุทิศพระองค์เพื่อปวงชนชาวไทย
ส่วนที่จังหวัดพังงา นายจักรเพชร ชำนิกุล อายุ 28 ปี อยู่ที่บ้านเชียงใหม่ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาพัฒนาการเกษตร ผันตัวเองมาประกอบอาชีพปลูกสับปะรด เดินทางรอยเศรษฐกิจพ่อเพียงของในหลวงรัชกาลที่ ๙ โดยนายจักรเพชร กล่าวว่า หลังจากเรียนจบได้เลือกทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทต่างจังหวัดแทนการเป็นเกษตรกรเหมือนพ่อแม่ ทำงานอยู่หลายปีก็ไม่เหลือเงินเก็บ และบางเดือนก็ไม่พอใช้ จึงหันกลับมาเจริญรอยตามพ่อและแม่ ซึ่งที่บ้านทำสวนปาล์ม และปลูกสับปะรดภูงา โดยได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ปลูก และจำหน่ายโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง แปรรูปเป็นสับปะรดกวนจำหน่ายแบบครบวงจร สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ในช่วงพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
นายนิรันดร์ ปานเมือง เกษตรอำเภอตะกั่วทุ่ง กล่าวว่า สับปะรดภูงา เป็นพืชเศรษฐกิจที่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกสับปะรดภูงาแซมในสวนปาล์มน้ำมัน ที่มีอายุไม่เกิน 3 ปี เกษตรกรสามารถปลูกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อ พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกสับปะรดภูงาได้ 5,000 ต้น ใช้เวลาประมาณ 1 ปี 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ มีการตั้งกลุ่มเกษตรผู้ปลูกสับปะรด เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเดือนละครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอตะกั่วทุ่ง ร่วมด้วย