สุราษฎร์ธานี - ร้องนายกฯ ถนนเชื่อมหมู่บ้านในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกน้ำป่าทะลักไหลกัดเซาะขาดเป็นเหวลึกนานเกือบ 3 ปี ไร้การดูแล ล่าสุด 2 วันที่ผ่านมา ดินถล่มซ้ำเป็นหุบเหวลึกเกือบ 100 เมตร รถยนต์ผ่านไม่ได้ ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ด้านนายกเล็กเจ้าของพื้นที่ยันพิษการเมืองเป็นเหตุทำโครงการซ่อมแซมแต่ถูกสกัดจนไม่สามารถดำเนินการได้
เช้าวันนี้ (29 กย.) ชาวบ้านเขาสามยอด ม.10 ต.บ้านเสด็จ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี กว่า 50 คน ได้เข้าร้องขอความช่วยเหลือต่อสื่อมวลชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมนำสื่อไปดูถนนซอยทรัพย์ทวี ที่เป็นถนนดินแดง ที่ชาวบ้านกว่า 400 ครัวเรือน ใช้สัญจรนำผลผลิตด้านการเกษตรออกจากพื้นที่สู่ตลาด โดยชาวบ้านระบุว่า ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักมากว่า 3 ปีแล้ว เนื่องจากถนนเส้นดังกล่าวถูกน้ำป่าไหลกัดเซาะดินยุบตัวถนนขาดเสียหายหนักจนมีสภาพเป็นหุบเหวลึกประมาณเกือบ 100 เมตร ยาวกว่า 30 เมตร มาตั้งแต่ปี 2557 แต่ยังไม่ได้รับการซ่อมแซม
และล่าสุด เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักดินได้ถล่มซ้ำทำให้ถนนทรุดตัวเพิ่มขึ้น จนรถยนต์ไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหนักไม่สามารถนำพืชผลการผลิตออกสู่ตลาดได้ จึงได้รวมตัวร้องผ่านสื่อไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วยเหลือเป็นการด่วน เนื่องจากเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ มีงบประมาณแต่ไม่สามารถนำงบมาใช้ซ่อมแซมถนนที่พังเสียหายได้ เนื่องจากมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างหนักจนผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ ไม่สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้ ประกอบในช่วงนี้เป็นหน้าฝนดินเริ่มยุบตัวลงมาอย่างต่อเนื่องจนถนนกลายเป็นหุบเหวลึก และลุกลามเข้าไปถึงสวนยางของชาวบ้านอีกด้วย และที่สำคัญ คนนอกพื้นที่ไม่คุ้นเคยต่อเส้นทางหากไม่ระวังอาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตก็เป็นได้
ด้านนายศาสตร์สรรค์ จันทร์แก้ว นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเสด็จ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวชาวบ้านเดือดร้อนจริง ก่อนหน้านี้ ช่วงเกิดเหตุใหม่ๆได้ส่งช่างเทศบาลฯ มาสำรวจ และประเมินราคาครั้งแรกประมาณ 450,000 บาท หลังจากงบผ่านสภาก็เกิดเหตุซ้ำดินได้ถล่มขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นงบไม่เพียงพอในการซ่อมแซม จึงได้เสนอเรื่องขอสนับสนุนรถแบ็กโฮ จาก อบจ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมาขุดตักหินในพื้นที่มาถมแต่เรื่องเงียบหายไป ต่อมา ทาง อบจ.ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพร้อมประเมินราคาซ่อมแซมในจุดดังกล่าวด้วยงบประมาณ 1.7 ล้านบาท ซึ่งตนเอง และผู้บริหารเทศบาลเล็งเห็นว่า ทางเทศบาลฯ มีงบประมาณสะสมอยู่จำนวน 25 ล้านบาท น่าจะดำเนินการเองได้ ด้วยการตั้งงบประมาณจัดซื้อเครื่องกลหนักเพื่อจะได้ดำเนินการซ่อมแซมถนนชำรุดมากกว่า 30 ม.ในพื้นที่
แต่เมื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมสภาเทศบาลฯ ถึง 3 ครั้ง แต่แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 400 ครัวเรือนต้องได้รับความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางสายนี้ และล่าสุด ก็เกิดเหตุดินถล่มซ้ำทำให้รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่าน ซึ่งทางเทศบาลจะประสานขอสนับสนุนรถแบ็กโฮ จาก อบจ.อีกครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าไปก่อน หากไม่ได้รับการสนับสนุนก็จะเดินเรื่องถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อหาทางช่วยเหลือชาวบ้านต่อไป
เช้าวันนี้ (29 กย.) ชาวบ้านเขาสามยอด ม.10 ต.บ้านเสด็จ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี กว่า 50 คน ได้เข้าร้องขอความช่วยเหลือต่อสื่อมวลชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมนำสื่อไปดูถนนซอยทรัพย์ทวี ที่เป็นถนนดินแดง ที่ชาวบ้านกว่า 400 ครัวเรือน ใช้สัญจรนำผลผลิตด้านการเกษตรออกจากพื้นที่สู่ตลาด โดยชาวบ้านระบุว่า ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักมากว่า 3 ปีแล้ว เนื่องจากถนนเส้นดังกล่าวถูกน้ำป่าไหลกัดเซาะดินยุบตัวถนนขาดเสียหายหนักจนมีสภาพเป็นหุบเหวลึกประมาณเกือบ 100 เมตร ยาวกว่า 30 เมตร มาตั้งแต่ปี 2557 แต่ยังไม่ได้รับการซ่อมแซม
และล่าสุด เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักดินได้ถล่มซ้ำทำให้ถนนทรุดตัวเพิ่มขึ้น จนรถยนต์ไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหนักไม่สามารถนำพืชผลการผลิตออกสู่ตลาดได้ จึงได้รวมตัวร้องผ่านสื่อไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วยเหลือเป็นการด่วน เนื่องจากเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ มีงบประมาณแต่ไม่สามารถนำงบมาใช้ซ่อมแซมถนนที่พังเสียหายได้ เนื่องจากมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างหนักจนผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านเสด็จ ไม่สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้ ประกอบในช่วงนี้เป็นหน้าฝนดินเริ่มยุบตัวลงมาอย่างต่อเนื่องจนถนนกลายเป็นหุบเหวลึก และลุกลามเข้าไปถึงสวนยางของชาวบ้านอีกด้วย และที่สำคัญ คนนอกพื้นที่ไม่คุ้นเคยต่อเส้นทางหากไม่ระวังอาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิตก็เป็นได้
ด้านนายศาสตร์สรรค์ จันทร์แก้ว นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเสด็จ กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวชาวบ้านเดือดร้อนจริง ก่อนหน้านี้ ช่วงเกิดเหตุใหม่ๆได้ส่งช่างเทศบาลฯ มาสำรวจ และประเมินราคาครั้งแรกประมาณ 450,000 บาท หลังจากงบผ่านสภาก็เกิดเหตุซ้ำดินได้ถล่มขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นงบไม่เพียงพอในการซ่อมแซม จึงได้เสนอเรื่องขอสนับสนุนรถแบ็กโฮ จาก อบจ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมาขุดตักหินในพื้นที่มาถมแต่เรื่องเงียบหายไป ต่อมา ทาง อบจ.ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพร้อมประเมินราคาซ่อมแซมในจุดดังกล่าวด้วยงบประมาณ 1.7 ล้านบาท ซึ่งตนเอง และผู้บริหารเทศบาลเล็งเห็นว่า ทางเทศบาลฯ มีงบประมาณสะสมอยู่จำนวน 25 ล้านบาท น่าจะดำเนินการเองได้ ด้วยการตั้งงบประมาณจัดซื้อเครื่องกลหนักเพื่อจะได้ดำเนินการซ่อมแซมถนนชำรุดมากกว่า 30 ม.ในพื้นที่
แต่เมื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมสภาเทศบาลฯ ถึง 3 ครั้ง แต่แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 400 ครัวเรือนต้องได้รับความเดือดร้อนในการใช้เส้นทางสายนี้ และล่าสุด ก็เกิดเหตุดินถล่มซ้ำทำให้รถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่าน ซึ่งทางเทศบาลจะประสานขอสนับสนุนรถแบ็กโฮ จาก อบจ.อีกครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าไปก่อน หากไม่ได้รับการสนับสนุนก็จะเดินเรื่องถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อหาทางช่วยเหลือชาวบ้านต่อไป