พังงา - พบโลมาปากยาวเกยตื้นที่หาดบางสัก จ.พังงา เจ้าของเรือพยายามช่วยเหลือแต่ไม่สำเสร็จตายในที่สุด เผยเป็ตัวแรกที่เกยตื้นตายในฝั่งอันดามัน และตัวที่ 2 ของประเทศ เร่งหาสาเหตุการตาย
เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (24 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายสรวิศ จ้านสกุล เจ้าของร้านคนต้องสู้ หาดบางสัก จ.พังงา ว่า ได้ให้การช่วยโลมาเกยตื้นที่ หาดบางสัก ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา แต่ไม่สำเร็จ จนโลมาเสียชีวิตในเวลาต่อมา จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบปลาโลมามีปากยาว รูปร่างเพรียว ความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ด้านหลังสีเทาเข้ม แนวสีขาวอมเหลืองตัดข้างลำตัวแบ่งสีชัดเจน โดยแนวสีเหลืองจางตัดเป็นเส้นโค้งจากหน้าผากโค้งไปลงที่กึ่งกลางลำตัว จึงได้ถ่ายรูป และส่งไปให้สัตวแพทย์หญิงราชาวดี จันทรา อดีตสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัย และพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลอันดามัน ทำการตรวจสอบ พร้อมประสานเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลอันดามัน เข้ารับร่างโลมาไปศึกษาต่อไป
เบื้องต้น พบว่าโลมาดังกล่าวเป็นโลมาธรรมดาชนิดปากยาว Long beak form Common dolphin ชื่อวิทยาศาสตร์ Delphinus capensis ลูกโลมาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาว 2.6 เมตร ในประเทศไทยมีรายงานเคยพบฝูงโลมาธรรมดาชนิดปากยาว ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ.2516 และพบตัวอย่างเกยตื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งโลมาธรรมดาชนิดปากยาวตัวนี้ถือเป็นตัวที่ 2 ของประเทศไทย และเป็นตัวแรกของฝั่งอันดามันที่มีรายงานการพบเห็นการเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องนำร่างไปศึกษาหาสาเหตุการเสียชีวิตต่อไป
เมื่อเวลา 11.00 น.วันนี้ (24 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายสรวิศ จ้านสกุล เจ้าของร้านคนต้องสู้ หาดบางสัก จ.พังงา ว่า ได้ให้การช่วยโลมาเกยตื้นที่ หาดบางสัก ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา แต่ไม่สำเร็จ จนโลมาเสียชีวิตในเวลาต่อมา จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบปลาโลมามีปากยาว รูปร่างเพรียว ความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ด้านหลังสีเทาเข้ม แนวสีขาวอมเหลืองตัดข้างลำตัวแบ่งสีชัดเจน โดยแนวสีเหลืองจางตัดเป็นเส้นโค้งจากหน้าผากโค้งไปลงที่กึ่งกลางลำตัว จึงได้ถ่ายรูป และส่งไปให้สัตวแพทย์หญิงราชาวดี จันทรา อดีตสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัย และพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลอันดามัน ทำการตรวจสอบ พร้อมประสานเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลอันดามัน เข้ารับร่างโลมาไปศึกษาต่อไป
เบื้องต้น พบว่าโลมาดังกล่าวเป็นโลมาธรรมดาชนิดปากยาว Long beak form Common dolphin ชื่อวิทยาศาสตร์ Delphinus capensis ลูกโลมาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาว 2.6 เมตร ในประเทศไทยมีรายงานเคยพบฝูงโลมาธรรมดาชนิดปากยาว ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ.2516 และพบตัวอย่างเกยตื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งโลมาธรรมดาชนิดปากยาวตัวนี้ถือเป็นตัวที่ 2 ของประเทศไทย และเป็นตัวแรกของฝั่งอันดามันที่มีรายงานการพบเห็นการเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องนำร่างไปศึกษาหาสาเหตุการเสียชีวิตต่อไป