ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นายกรัฐมนตรีเปิดงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016” ที่จังหวัดภูเก็ต เผยความสำเร็จสตาร์ทอัพภูมิภาค - ผุดเชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์ - เร่งสร้างสตาร์ทอัพขอนแก่นเชื่อมกลุ่มลุ่มน้ำโขง เตรียมนำร่องภูเก็ตสู่มาร์ทซิตี้ ในปี 2563
วันนี้ ( 16 ก.ย.) ที่โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 (Startup Thailand and Digital Thailand 2016)” ระดับภูมิภาค พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Phuket as Smart City & Startup Paradise” ทั้งนี้ยังมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเปิดงานในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อการเข้าสู่การเป็นประเทศชั้นนำในระดับนานาชาติ โดยการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ และการเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า งานสตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ ระดับภูมิภาคนี้ ได้จัดขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาลที่จะปลุกกระแสให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ขึ้นทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ไทยแลนด์ 4.0 และทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งวันนี้ต้องยืนยันกับประชาคมโลกว่า ภูเก็ตพร้อมแล้วที่จะก้าวสู่การเป็นเมืองอัจริยะ (Smart City) พร้อมกับเป็นศูนย์กลางที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่และเป็นศูนย์กลางสตาร์ทอัพ (Startup Hub) ของภูมิภาคอาเซียนต่อไป
สำหรับงานระดับภูมิภาค ในจังหวัดเชียงใหม่นั้นได้แสดงให้เห็นศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางของผู้ประกอบการกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์และได้กำหนดจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “ครีเอทีฟ วัลเลย์ (Creative Valley)” ซึ่งก็ได้การตอบรับจากประชาชนในภาคเหนือเหนือเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมชมงานแสดงนิทรรศการ ฟังปาฐกถาพิเศษและเสวนา รวมทั้งสิ้นกว่า 4,500 คน มีนิทรรศการของวิสาหกิจเริ่มต้นเข้าร่วมงาน จำนวน 60 ราย ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เกิดเป็นกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ไม่เพียงเท่านั้น ช่วงปลายสิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงไอซีที ก็ได้จัดงานสตาร์ทอัพฯ ภูมิภาคขึ้นอีกครั้งในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้แนวคิดแม่โขง คอนเน็ก (Mekong Connect) โดยเชื่อว่ากลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานของไทยนั้น จะเป็นจุดเชื่อมสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งภายหลังการจัดงานสตาร์ทอัพที่ขอนแก่นนั้นถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเราได้รับความร่วมมือจากลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจากกลุ่ม CLMVT ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว. พม่า เวียดนาม และไทย ซึ่งได้รับการตอบเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมชมงานแสดงนิทรรศการ ฟังปาฐกถาพิเศษและเสวนา รวมทั้งสิ้นกว่า 7,300 คน พร้อมมีวิทยากรจากประเทศไทยและต่างประเทศ (สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) กว่า 60 คน ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกที่เราจะขับเคลื่อนขอนแก่นและจังหวัดในภาคอีสานไปสู่ฐานเศรษฐกิจใหม่ เช่น การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เป็นต้น
และที่สำคัญในวันนี้ เราได้มาจัดงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นจังหวัดที่มีตัวเลขการเติบโตของนักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมา สูงถึง 13.2 ล้านคน โดยกว่า 9.5 ล้านคนเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ และสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 313,300 ล้านบาท และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางยูเนสโกยังยกให้ภูเก็ตเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy) ประจำปี 2558 โดยเป็น 1 ใน 18 เมืองทั่วโลกและเป็นเมืองแรกของไทยและอาเซียนอีกด้วย เป็นการสะท้อนให้เห็นศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตในการเป็นเมืองนานาชาติ และรัฐบาลเองจึงมีหน้าที่ที่จะผลักดันให้เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อจะรองรับการพัฒนาภูเก็ตในระยะต่อไป
ด้วยศักยภาพของจังหวัดภูเก็ต เมื่อเสริมกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของรัฐบาล ต่อไปภูเก็ตจะไม่ใช่เป็นเพียงแค่เมืองที่ได้ยอมรับว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองอาหารชั้นนำ แต่ภูเก็ตจะเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม เมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ และเป็นศูนย์กลางของนักรบธุรกิจใหม่ หรือ สตาร์ทอัพฮับ อีกด้วย” พลเอก ประยุทธ์ กล่าว
นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมและต่อยอดอุตสาหกรรมใหม่ หรือเรียกว่า New S-Curve รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อให้ก้าวข้ามกับกับดักรายได้ปานกลาง และขณะนี้จังหวัดภูเก็ตเอง ถือเป็นจังหวัดนำร่อง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและอุตสาหกรรมดิจิทัล หรือ ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยจะเห็นภูเก็ตเป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart City) อย่างสมบูรณ์แบบให้ได้ในปี 2563
“ท้ายสุดนี้ หวังว่าภูเก็ตสมาร์ทซิตี้นี้ จะเป็นหนึ่งในศักยภาพสำคัญของการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม และต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงไอซีที ที่ได้ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนการจัดงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ขึ้น หวังว่าการจัดงานสตาร์ทอัพฯในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และสามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตเพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศในอนาคตได้ยั่งยืนต่อไป” พลเอกประยุทธ์”กล่าว
ด้าน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะเจ้าภาพหลักของงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ และได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมทุกรูปแบบ เช่น การสร้างผู้ประกอบการที่มีความสามารถและและดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกมาเมืองไทย การปรับกฎหมายธุรกิจเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพและสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพเติบโตได้อย่างรวดเร็ว การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในสตาร์ทอัพ ส่งเสริมกิจการร่วมลงทุน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพ เป็นต้น โดยการจัดงาน“สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016” ทั้งหมดในปีนี้ เป็นการประกาศจุดยืนและความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะใช้ฐานเศรษฐกิจนี้เพื่อการขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0
"งาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”ภูมิภาค 2016 ที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากการจัดงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”ที่กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และขอนแก่น ในพิธีเปิดได้รับเกียรติจากท่านนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การส่งเสริมภูเก็ตสู่ศูนย์กลางธุรกิจสตาร์ทอัพและเมืองอัจฉริยะ” นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาและบรรยายพิเศษ การจัดแสดงบูธนิทรรศการทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ บูธแหล่งเงินทุน บูธให้คำปรึกษา รวมกว่า 200 บูธ และเชื่อว่าจะมีประชาชน นักเรียน นักศึกษา นักลงทุน ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และสตาร์ทอัพ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก" ดร.พิเชฐ กล่าว
ด้านนางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที ในฐานะเจ้าภาพหลักงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”กล่าวว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตในการพัฒนาเป็น Smart City จึงคัดเลือกจังหวัดภูเก็ตให้เป็นหนึ่งในสองจังหวัดที่เป็นซุปเปอร์คลัสเตอร์ด้านดิจิทัล คู่กับจังหวัดเชียงใหม่ โดยสนับสนุนการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การจัดทำโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ขยายจุดให้บริการฟรี Wi-fi 1,000 จุด การแก้ไขปัญหาจราจรโดยระบบเซนเซอร์อัจฉริยะ การจัดทำศูนย์ภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้ อินโนเวชั่น (Phuket Smart City Innovation Park) เพื่อสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล (Super Cluster Digital) นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนภูเก็ตไปสู่ “Phuket Smart City 2020” ซึ่งการจัดงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการเปิดตัวของ Phuket Smart City อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลที่ขยายผลสู่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศต่อไป
วันนี้ ( 16 ก.ย.) ที่โรงแรมดวงจิตต์ รีสอร์ท แอนด์ สปา หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 (Startup Thailand and Digital Thailand 2016)” ระดับภูมิภาค พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Phuket as Smart City & Startup Paradise” ทั้งนี้ยังมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ร่วมเปิดงานในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อการเข้าสู่การเป็นประเทศชั้นนำในระดับนานาชาติ โดยการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ และการเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัล
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า งานสตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ ระดับภูมิภาคนี้ ได้จัดขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาลที่จะปลุกกระแสให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ขึ้นทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ไทยแลนด์ 4.0 และทำให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย ซึ่งวันนี้ต้องยืนยันกับประชาคมโลกว่า ภูเก็ตพร้อมแล้วที่จะก้าวสู่การเป็นเมืองอัจริยะ (Smart City) พร้อมกับเป็นศูนย์กลางที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพรุ่นใหม่และเป็นศูนย์กลางสตาร์ทอัพ (Startup Hub) ของภูมิภาคอาเซียนต่อไป
สำหรับงานระดับภูมิภาค ในจังหวัดเชียงใหม่นั้นได้แสดงให้เห็นศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางของผู้ประกอบการกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์และได้กำหนดจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “ครีเอทีฟ วัลเลย์ (Creative Valley)” ซึ่งก็ได้การตอบรับจากประชาชนในภาคเหนือเหนือเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมชมงานแสดงนิทรรศการ ฟังปาฐกถาพิเศษและเสวนา รวมทั้งสิ้นกว่า 4,500 คน มีนิทรรศการของวิสาหกิจเริ่มต้นเข้าร่วมงาน จำนวน 60 ราย ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เกิดเป็นกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ไม่เพียงเท่านั้น ช่วงปลายสิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงไอซีที ก็ได้จัดงานสตาร์ทอัพฯ ภูมิภาคขึ้นอีกครั้งในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้แนวคิดแม่โขง คอนเน็ก (Mekong Connect) โดยเชื่อว่ากลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานของไทยนั้น จะเป็นจุดเชื่อมสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งภายหลังการจัดงานสตาร์ทอัพที่ขอนแก่นนั้นถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเราได้รับความร่วมมือจากลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจากกลุ่ม CLMVT ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว. พม่า เวียดนาม และไทย ซึ่งได้รับการตอบเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมชมงานแสดงนิทรรศการ ฟังปาฐกถาพิเศษและเสวนา รวมทั้งสิ้นกว่า 7,300 คน พร้อมมีวิทยากรจากประเทศไทยและต่างประเทศ (สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) กว่า 60 คน ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกที่เราจะขับเคลื่อนขอนแก่นและจังหวัดในภาคอีสานไปสู่ฐานเศรษฐกิจใหม่ เช่น การพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เป็นต้น
และที่สำคัญในวันนี้ เราได้มาจัดงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นจังหวัดที่มีตัวเลขการเติบโตของนักท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมา สูงถึง 13.2 ล้านคน โดยกว่า 9.5 ล้านคนเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ และสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 313,300 ล้านบาท และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางยูเนสโกยังยกให้ภูเก็ตเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy) ประจำปี 2558 โดยเป็น 1 ใน 18 เมืองทั่วโลกและเป็นเมืองแรกของไทยและอาเซียนอีกด้วย เป็นการสะท้อนให้เห็นศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตในการเป็นเมืองนานาชาติ และรัฐบาลเองจึงมีหน้าที่ที่จะผลักดันให้เกิดการสร้างสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพื่อจะรองรับการพัฒนาภูเก็ตในระยะต่อไป
ด้วยศักยภาพของจังหวัดภูเก็ต เมื่อเสริมกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของรัฐบาล ต่อไปภูเก็ตจะไม่ใช่เป็นเพียงแค่เมืองที่ได้ยอมรับว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองอาหารชั้นนำ แต่ภูเก็ตจะเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม เมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ และเป็นศูนย์กลางของนักรบธุรกิจใหม่ หรือ สตาร์ทอัพฮับ อีกด้วย” พลเอก ประยุทธ์ กล่าว
นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมและต่อยอดอุตสาหกรรมใหม่ หรือเรียกว่า New S-Curve รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อให้ก้าวข้ามกับกับดักรายได้ปานกลาง และขณะนี้จังหวัดภูเก็ตเอง ถือเป็นจังหวัดนำร่อง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและอุตสาหกรรมดิจิทัล หรือ ภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยจะเห็นภูเก็ตเป็นสมาร์ทซิตี้ (Smart City) อย่างสมบูรณ์แบบให้ได้ในปี 2563
“ท้ายสุดนี้ หวังว่าภูเก็ตสมาร์ทซิตี้นี้ จะเป็นหนึ่งในศักยภาพสำคัญของการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม และต้องขอขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานโดยเฉพาะกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงไอซีที ที่ได้ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนการจัดงานสตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ขึ้น หวังว่าการจัดงานสตาร์ทอัพฯในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และสามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตเพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศในอนาคตได้ยั่งยืนต่อไป” พลเอกประยุทธ์”กล่าว
ด้าน ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะเจ้าภาพหลักของงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ และได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมทุกรูปแบบ เช่น การสร้างผู้ประกอบการที่มีความสามารถและและดึงดูดคนเก่งจากทั่วโลกมาเมืองไทย การปรับกฎหมายธุรกิจเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพและสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพเติบโตได้อย่างรวดเร็ว การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในสตาร์ทอัพ ส่งเสริมกิจการร่วมลงทุน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพ เป็นต้น โดยการจัดงาน“สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016” ทั้งหมดในปีนี้ เป็นการประกาศจุดยืนและความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะใช้ฐานเศรษฐกิจนี้เพื่อการขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0
"งาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”ภูมิภาค 2016 ที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากการจัดงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”ที่กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และขอนแก่น ในพิธีเปิดได้รับเกียรติจากท่านนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การส่งเสริมภูเก็ตสู่ศูนย์กลางธุรกิจสตาร์ทอัพและเมืองอัจฉริยะ” นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาและบรรยายพิเศษ การจัดแสดงบูธนิทรรศการทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและวิทยากรทั้งในและต่างประเทศ บูธแหล่งเงินทุน บูธให้คำปรึกษา รวมกว่า 200 บูธ และเชื่อว่าจะมีประชาชน นักเรียน นักศึกษา นักลงทุน ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และสตาร์ทอัพ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก" ดร.พิเชฐ กล่าว
ด้านนางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที ในฐานะเจ้าภาพหลักงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”กล่าวว่า รัฐบาลได้เล็งเห็นศักยภาพของจังหวัดภูเก็ตในการพัฒนาเป็น Smart City จึงคัดเลือกจังหวัดภูเก็ตให้เป็นหนึ่งในสองจังหวัดที่เป็นซุปเปอร์คลัสเตอร์ด้านดิจิทัล คู่กับจังหวัดเชียงใหม่ โดยสนับสนุนการพัฒนาและวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การจัดทำโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ขยายจุดให้บริการฟรี Wi-fi 1,000 จุด การแก้ไขปัญหาจราจรโดยระบบเซนเซอร์อัจฉริยะ การจัดทำศูนย์ภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้ อินโนเวชั่น (Phuket Smart City Innovation Park) เพื่อสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล (Super Cluster Digital) นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนภูเก็ตไปสู่ “Phuket Smart City 2020” ซึ่งการจัดงาน “สตาร์ทอัพไทยแลนด์และดิจิทัลไทยแลนด์ 2016”ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการเปิดตัวของ Phuket Smart City อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลที่ขยายผลสู่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศต่อไป