xs
xsm
sm
md
lg

รมช.ศึกษาฯ ลงพื้นที่นราฯ ติดตามคืบหน้าปรับโครงสร้างการศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
นราธิวาส - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่นราธิวาส เพื่อติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ

วันนี้ (21 ก.ค.) ที่ห้องประชุมชั้น 3 ตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เดินทางมาเป็นประธานเพื่อติดตามโครงสร้างการขับเคลื่อนการศึกษาในเขตพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส โดยมีนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส และนายประหยัด สุขขี ศึกษาธิการ จ.นราธิวาส ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยคณะอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ การศึกษานราธิวาส 3 เขต ผู้อำนายการโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา รวมถึงผู้เกี่ยวข้องจำนวนกว่า 200 คน เข้าร่วมประชุมรับนโยบาย และชี้แจงรายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ

ซึ่งจังหวัดนราธิวาส มีเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนราธิวาส 5 อำเภอ 5 ตำบล ประกอบด้วย ต.โล๊ะจูด อ.แว้ง, ต.ละหาร อ.ยี่งอ, ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส, ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ และ ต.สุไหงโก-ลก อ.สุไหงโก-ลก
 

 
โดย นายไกรศร รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดได้กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษซึ่งนราธิวาส มีชายแดนติดมาเลเซีย 3 ด่าน คือ ด่าน อ.สุไหงโก-ลก ด่าน อ.ตากใบ และด่าน อ.แว้ง ได้วางยุทธศาสตร์เน้นในการพัฒนาการค้าการลงทุนระหว่างชายแดน โดยสร้างแรงจูงใจให้ผู้ลงทุนทั้งคนไทย และคนในมาเลเซีย การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ การสร้างพื้นที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในขณะนี้อันเนื่องจากรัฐบาลได้ลดหย่อนภาษี และยกเว้นภาษีผู้ที่ประกอบการ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเดินตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ที่วางไว้เป็นรูปธรรมได้

ในส่วนของพื้นที่การศึกษานั้น พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จังหวัดนราธิวาสได้มีการกำหนดแล้วในพื้นที่ จากการติดตามมีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่เน้นคือ การทำงาน หรือการปฏิบัติต้องเป็นไปในลักษณะบูรณาการทุกฝ่ายในพื้นที่ และสามารถสอดคล้องต่อการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อยกระดับของการศึกษา ปรับทัศนคติ ความคิด เยาวชน ทั้งการศึกษาในระบบ และนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นประถม มัธยม หรืออุดมศึกษา ต้องผสมผสานไปกับประชาคมอาเซียน ไม่เพียงแต่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือบุคลาการทางการศึกษาก็ต้องมีศักยภาพ เพื่อเดินหน้าประเทศรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการเติบโตของประชาคมอาเซียน และสอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศทั้งระบบด้วยที่จะต้องเป็นไปตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เป็นรูปธรรม และและเกิดความมั่นคงต่อประเทศในอนาคต
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น