สุราษฎร์ธานี - ชาวบ้านในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แห่เก็บหนอนผีเสื้อราตรี หรือผีเสื้อหลน ในพื้นที่ป่าชายเลนกว่า 2,000 ไร่ จำหน่ายทำเป็นเมนูเด็ดอ้างบำรุงร่างกายเสริมพลังทางเพศ สร้างรายได้ให้ชาวบ้านวันละ 4,000-5,000 บาท ด้านเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่งสุราษฎร์ธานี เร่งจับมือผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องป้องกันการลักลอบตัดต้นยางตุ่ม ที่หนอนผีเสื้อใช้กินเป็นอาหาร พร้อมขยายพื้นที่ปลูก เพิ่มปริมาณสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

ที่บริเวณป่าชายเลนป่าท่าโพธิ์ ม.2 บ้านท่าโพธิ์ ต.ท่าทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีชาวบ้านในพื้นที่ และนอกพื้นที่ รวมทั้งชาวประมงพื้นบ้านเดินทางมาเก็บตัวหนอน หรือดักแด้ หรือตัวหลน ของผีเสื้อราตรี หรือผีเสื้อหลน (Achaea janata L.) กันเป็นจำนวนมาก หลังพบว่าในพื้นที่ดังกล่าวได้มาออกไข่ขยายพันธุ์บนต้นยางตุ่ม และอาศัยเกาะกินใบของต้นยางตุ่มเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงตัวในวัยอ่อนจำนวนมากก่อนที่จะเป็นผีเสื้อเต็มตัว

ซึ่งชาวบ้านระบุว่า ราคาของตัวหนอน หรือตัวหลน มีราคาขายส่งในพื้นที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 1,000 บาท เมื่อนำขึ้นจำหน่ายบนร้านอาหารมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท ซึ่งในช่วงนี้พบว่ามีปริมาณมากชาวบ้านจับได้คนละ 4-5 กิโลกรัม สร้างรายได้วันละ 4,000-5,000 บาท เนื่องจากในท้องตลาดมีความต้องการสูง และมีจำนวนน้อย เหตุส่วนใหญ่ร้านอาหารสั่งจองไว้หมดเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า สำหรับตัวหลน หรือหนอนผีเสื้อราตรี จะเกิดในพื้นที่ป่าชายเลนป่าท่าโพธิ์เพียงแห่งเดียว เนื่องจากเป็นป่าที่สมบูรณ์ และมีต้นยางตุ่มในพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ หลังจากที่ผีเสื้อราตรี หรือผีเสื้อหลนได้เกิดขึ้นมาในปี 2554 ปีน้ำท่วมใหญ่แล้วหลังจากนั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาอีกเลย จวบจนมาถึงปีนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง และมีจำนวนมากชาวบ้างบางคนก็บอกว่ามาหาไปกินกันในครอบครัว

นายวิชัย สมรูป ผอ.ส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วม สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) กล่าวว่า จากผลการวิจัยเกี่ยวกับวงจรชีวิตของหนอนหลน (Achaea janata L.) พบว่า หนอนหลน คือ ผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งที่ออกไข่ตัวละหลาย 100 ฟอง จนถึง 1,000 ฟอง จากนั้นก็จะเป็นตัวหนอน แล้วกลายเป็นดักแด้ ในระยะดักแด้หนอนจะนอนนิ่งอยู่ในใบยางตุ่มนานประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะกลายร่างเป็นผีเสื้อกลางคืน และช่วงที่เป็นดักแด้ม้วนตัวอยู่ในใบไม้นั้นได้นำตัวดักแด้ ไปทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารตามหลักโภชนาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ในตัวหนอนหลนน้ำหนักสด 100 กรัม มีโปรตีนสูงถึง 19.5 กรัม ใกล้เคียงกับเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อวัว มีไขมันต่ำเพียง 5.5 กรัม พลังงาน 126 กิโลแคลลอรี่ นอกจากบำรุงร่างกายแล้ว ตัวหลนยังมีสารสำคัญที่เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชายอีกด้วย

ส่วนการเก็บตัวหนอนของผีเสื้อหลนนั้นหลายคนอาจคิดว่าเป็นการทำลาย หรือส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาในป่าชายเลนนั้น จากการตรวจสอบ และทำการวิจัยยังไม่มีผลกระทบ เนื่องจากผีเสื้อหลนออกไข่ครั้งละจำนวนมาก และมีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ และต้นยางตุ่มก็ไม่ตาย

เนื่องจากดักแด้ของผีเสื้อหลนในท้องตลาดมีความต้องการสู งและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทางสำนักงานฯ ได้ร่วมกับผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมขยายพื้นปลูกต้นยางตุ่มเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้แก่หนอนผีเสื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน พร้อมจัดกำลังดูแลป้องกันการทำลายต้นยางตุ่ม เนื่องจากขณะนี้มีชาวบ้านบางรายเกิดความเห็นแก่ตัว เกิดการแย่งชิงตัวหนอนก่อนจะฝังตัวเป็นดักแด้ ด้วยการตัดต้นยางตุ่มแล้วเก็บตัวหนอนวัยอ่อนไปเลี้ยงรอเวลาการจำหน่าย ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศ และทำลายผีเสื้อชนิดนี้ให้หายไปจากพื้นที่ได้อีก จึงขอฝากไปยังชาวบ้านขอให้ระมัดระวังในการเก็บ อย่าทำลายต้นยางตุ่ม ที่เป็นพืชอาหารของหนอนหลน ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ต้านยางตุ่มที่เป็นพืชอาหารของหนอนหลนมีจำนวนมาก

ด้าน นางเมตตา สุขสม ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 บ้านท่าโพธิ์ ต.ท่าทอง อ.กาญจนดิษฐ์ กล่าวว่า ชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสังเกตใบของต้นยางตุ่มถูกกิน และโดยเฉพาะนกกาจะแห่เข้าไปหากินตัวหนอน ก็แสดงว่า ในพื้นที่มีหนอนหลนจำนวนมาก ชาวก็ออกไปจับมากิน และจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่รู้จักหนอนหลนเป็นอย่างดี และเป็นอาหารเมนูเด็ดกินกันมานานเป็น 100 ปีแล้ว แต่ระยะหลังระบบนิเวศถูกทำลาย ทำให้หายไปนานหลายปี เพิ่งจะมาปีนี้ที่มีหนอนหลนเกิดขึ้นในพื้นที่จำนวนมาก

ซึ่งชาวบ้านได้ออกเก็บหนอนหลนมาร่วม 1 สัปดาห์เต็มแล้ว มีรายได้วันละประมาณ 5,000-6,000 บาท โดยเก็บหนอนหลนสดๆ ได้วันละไม่ต่ำกว่า 5-6 กิโลกรัม ตลอด 1 สัปดาห์มีรายได้กว่า 50,000 บาทแล้ว ซึ่งช่วงนี้หนอนหลนเริ่มฟักเป็นผีเสื้อกลางคืนแล้ว ปริมาณหนอนหลนเริ่มลดลง และคาดว่าจะหมดไปใน 1-2 สัปดาห์นี้ แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีที่มีหนอนหลนเกิดขึ้นในพื้นที่จนชาวบ้านมีรายได้เสริมมาจุนเจือครอบครัว หลังจากเจอภาวะเศรษฐกิจราคาผลผลิตด้านการเกษตรตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง

ที่บริเวณป่าชายเลนป่าท่าโพธิ์ ม.2 บ้านท่าโพธิ์ ต.ท่าทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีชาวบ้านในพื้นที่ และนอกพื้นที่ รวมทั้งชาวประมงพื้นบ้านเดินทางมาเก็บตัวหนอน หรือดักแด้ หรือตัวหลน ของผีเสื้อราตรี หรือผีเสื้อหลน (Achaea janata L.) กันเป็นจำนวนมาก หลังพบว่าในพื้นที่ดังกล่าวได้มาออกไข่ขยายพันธุ์บนต้นยางตุ่ม และอาศัยเกาะกินใบของต้นยางตุ่มเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงตัวในวัยอ่อนจำนวนมากก่อนที่จะเป็นผีเสื้อเต็มตัว
ซึ่งชาวบ้านระบุว่า ราคาของตัวหนอน หรือตัวหลน มีราคาขายส่งในพื้นที่อยู่ที่กิโลกรัมละ 1,000 บาท เมื่อนำขึ้นจำหน่ายบนร้านอาหารมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท ซึ่งในช่วงนี้พบว่ามีปริมาณมากชาวบ้านจับได้คนละ 4-5 กิโลกรัม สร้างรายได้วันละ 4,000-5,000 บาท เนื่องจากในท้องตลาดมีความต้องการสูง และมีจำนวนน้อย เหตุส่วนใหญ่ร้านอาหารสั่งจองไว้หมดเพื่อนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า สำหรับตัวหลน หรือหนอนผีเสื้อราตรี จะเกิดในพื้นที่ป่าชายเลนป่าท่าโพธิ์เพียงแห่งเดียว เนื่องจากเป็นป่าที่สมบูรณ์ และมีต้นยางตุ่มในพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ หลังจากที่ผีเสื้อราตรี หรือผีเสื้อหลนได้เกิดขึ้นมาในปี 2554 ปีน้ำท่วมใหญ่แล้วหลังจากนั้นก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาอีกเลย จวบจนมาถึงปีนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง และมีจำนวนมากชาวบ้างบางคนก็บอกว่ามาหาไปกินกันในครอบครัว
นายวิชัย สมรูป ผอ.ส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วม สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 (สุราษฎร์ธานี) กล่าวว่า จากผลการวิจัยเกี่ยวกับวงจรชีวิตของหนอนหลน (Achaea janata L.) พบว่า หนอนหลน คือ ผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่งที่ออกไข่ตัวละหลาย 100 ฟอง จนถึง 1,000 ฟอง จากนั้นก็จะเป็นตัวหนอน แล้วกลายเป็นดักแด้ ในระยะดักแด้หนอนจะนอนนิ่งอยู่ในใบยางตุ่มนานประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะกลายร่างเป็นผีเสื้อกลางคืน และช่วงที่เป็นดักแด้ม้วนตัวอยู่ในใบไม้นั้นได้นำตัวดักแด้ ไปทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารตามหลักโภชนาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า ในตัวหนอนหลนน้ำหนักสด 100 กรัม มีโปรตีนสูงถึง 19.5 กรัม ใกล้เคียงกับเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อวัว มีไขมันต่ำเพียง 5.5 กรัม พลังงาน 126 กิโลแคลลอรี่ นอกจากบำรุงร่างกายแล้ว ตัวหลนยังมีสารสำคัญที่เพิ่มสมรรถภาพทางเพศชายอีกด้วย
ส่วนการเก็บตัวหนอนของผีเสื้อหลนนั้นหลายคนอาจคิดว่าเป็นการทำลาย หรือส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาในป่าชายเลนนั้น จากการตรวจสอบ และทำการวิจัยยังไม่มีผลกระทบ เนื่องจากผีเสื้อหลนออกไข่ครั้งละจำนวนมาก และมีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ และต้นยางตุ่มก็ไม่ตาย
เนื่องจากดักแด้ของผีเสื้อหลนในท้องตลาดมีความต้องการสู งและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทางสำนักงานฯ ได้ร่วมกับผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมขยายพื้นปลูกต้นยางตุ่มเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้แก่หนอนผีเสื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน พร้อมจัดกำลังดูแลป้องกันการทำลายต้นยางตุ่ม เนื่องจากขณะนี้มีชาวบ้านบางรายเกิดความเห็นแก่ตัว เกิดการแย่งชิงตัวหนอนก่อนจะฝังตัวเป็นดักแด้ ด้วยการตัดต้นยางตุ่มแล้วเก็บตัวหนอนวัยอ่อนไปเลี้ยงรอเวลาการจำหน่าย ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศ และทำลายผีเสื้อชนิดนี้ให้หายไปจากพื้นที่ได้อีก จึงขอฝากไปยังชาวบ้านขอให้ระมัดระวังในการเก็บ อย่าทำลายต้นยางตุ่ม ที่เป็นพืชอาหารของหนอนหลน ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ต้านยางตุ่มที่เป็นพืชอาหารของหนอนหลนมีจำนวนมาก
ด้าน นางเมตตา สุขสม ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 บ้านท่าโพธิ์ ต.ท่าทอง อ.กาญจนดิษฐ์ กล่าวว่า ชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสังเกตใบของต้นยางตุ่มถูกกิน และโดยเฉพาะนกกาจะแห่เข้าไปหากินตัวหนอน ก็แสดงว่า ในพื้นที่มีหนอนหลนจำนวนมาก ชาวก็ออกไปจับมากิน และจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่รู้จักหนอนหลนเป็นอย่างดี และเป็นอาหารเมนูเด็ดกินกันมานานเป็น 100 ปีแล้ว แต่ระยะหลังระบบนิเวศถูกทำลาย ทำให้หายไปนานหลายปี เพิ่งจะมาปีนี้ที่มีหนอนหลนเกิดขึ้นในพื้นที่จำนวนมาก
ซึ่งชาวบ้านได้ออกเก็บหนอนหลนมาร่วม 1 สัปดาห์เต็มแล้ว มีรายได้วันละประมาณ 5,000-6,000 บาท โดยเก็บหนอนหลนสดๆ ได้วันละไม่ต่ำกว่า 5-6 กิโลกรัม ตลอด 1 สัปดาห์มีรายได้กว่า 50,000 บาทแล้ว ซึ่งช่วงนี้หนอนหลนเริ่มฟักเป็นผีเสื้อกลางคืนแล้ว ปริมาณหนอนหลนเริ่มลดลง และคาดว่าจะหมดไปใน 1-2 สัปดาห์นี้ แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีที่มีหนอนหลนเกิดขึ้นในพื้นที่จนชาวบ้านมีรายได้เสริมมาจุนเจือครอบครัว หลังจากเจอภาวะเศรษฐกิจราคาผลผลิตด้านการเกษตรตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง