ชุมพร - เรือประมงชุมพรนับพันลำจอดสนิท หลังรัฐบาลดีเดย์ตรวจเข้มเรือเข้า-ออกจากท่า ขณะที่ชาวประมงเตรียมเคลื่อนไหวหากรัฐบาลยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือจากมาตรการตรวจเข้ม อ้างต้องใช้เงินลงทุนอีกหลายล้านบาทต่อลำ

วันนี้ (1 ก.ค.) ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลดีเดย์ดำเนินการการตรวจสอบการแจ้งเข้า-ออก สำหรับเรือประมง ของศูนย์ตรวจเรือประมงเข้า-ออก(Port in-Port out หรือ PI-PO) ที่มีการตรวจละเอียดทั้งทะเบียนเรือ อาชญาบัตร การใช้แรงงานในเรือประมง โดยเรือประมงส่วนใหญ่นั้นไม่มีอาชญาบัตร หรือมีอาชญาบัตรแต่ไม่ตรงกับเครื่องมือทำการประมงภายในเรือ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการผ่อนผันมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่เมื่อครบกำหนดเส้นตายวันนี้ ทำให้เรือส่วนใหญ่ที่ผิดกฎหมายไม่สามารถออกทำการประมงได้ เพราะจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างถูกต้องทุกขั้นตอนก่อนออกเรือ

นายพิศาล ศันติวิชยะ นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพร กล่าวว่า ในส่วนของเรือประมงในพื้นที่ จ.ชุมพร ซึ่งมีอยู่มากกว่า 1,000 ลำ ส่วนใหญ่ไม่มีอาชญาบัตร หรือมีก็ไม่ตรงกับเครื่องมือทำการประมง เนื่องจากหากจะทำให้ถูกต้องก็จะต้องเปลี่ยนเครื่องมือทำการประมงใหม่ต้อลงทุนอีกอย่างน้อยลำละกว่า 2-3 ล้านบาท ชาวประมงคงไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีเงิน สัตว์น้ำหายากขึ้น รายได้ลดลง

จึงต้องขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องผ่อนผันออกไปอีกระยะหนึ่งเพื่อให้ชาวประมงตั้งตัวได้เพราะต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้เรือประมงจำนวนนับพันลำเข้ามาจอดเทียบท่าต่างๆ ในพื้นที่ จ.ชุมพร โดยจะมีการประชุมกันเพื่อกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป
วันนี้ (1 ก.ค.) ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลดีเดย์ดำเนินการการตรวจสอบการแจ้งเข้า-ออก สำหรับเรือประมง ของศูนย์ตรวจเรือประมงเข้า-ออก(Port in-Port out หรือ PI-PO) ที่มีการตรวจละเอียดทั้งทะเบียนเรือ อาชญาบัตร การใช้แรงงานในเรือประมง โดยเรือประมงส่วนใหญ่นั้นไม่มีอาชญาบัตร หรือมีอาชญาบัตรแต่ไม่ตรงกับเครื่องมือทำการประมงภายในเรือ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้มีการผ่อนผันมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่เมื่อครบกำหนดเส้นตายวันนี้ ทำให้เรือส่วนใหญ่ที่ผิดกฎหมายไม่สามารถออกทำการประมงได้ เพราะจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างถูกต้องทุกขั้นตอนก่อนออกเรือ
นายพิศาล ศันติวิชยะ นายกสมาคมประมงปากน้ำชุมพร กล่าวว่า ในส่วนของเรือประมงในพื้นที่ จ.ชุมพร ซึ่งมีอยู่มากกว่า 1,000 ลำ ส่วนใหญ่ไม่มีอาชญาบัตร หรือมีก็ไม่ตรงกับเครื่องมือทำการประมง เนื่องจากหากจะทำให้ถูกต้องก็จะต้องเปลี่ยนเครื่องมือทำการประมงใหม่ต้อลงทุนอีกอย่างน้อยลำละกว่า 2-3 ล้านบาท ชาวประมงคงไม่สามารถทำได้เพราะไม่มีเงิน สัตว์น้ำหายากขึ้น รายได้ลดลง
จึงต้องขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องผ่อนผันออกไปอีกระยะหนึ่งเพื่อให้ชาวประมงตั้งตัวได้เพราะต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้เรือประมงจำนวนนับพันลำเข้ามาจอดเทียบท่าต่างๆ ในพื้นที่ จ.ชุมพร โดยจะมีการประชุมกันเพื่อกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป