ศูนย์ข่าวภูเก็ต - พบอีก 1 ตัว โลมากระโดดเกยตื้น คราวนี้คลื่นซัดเข้าหาดในยาง ชาวบ้านช่วยผลักดันกลับทะเล แต่สุดท้ายถูกคลื่นซัดกลับเข้าฝั่งอีกรอบ แจ้งเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งและป่าชายเลนช่วย แต่ไม่รอดเนื่องจากร่างกายอ่อนเพลีย ตรวจสอบพบมีแผลในปาก
เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. วันนี้ (8 พ.ค.) เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งและป่าชายเลน (ภูเก็ต) รับแจ้งจากชาวบ้าน ว่า มีโลมาถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นที่บริเวณชายในยาง ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ หลังรับแจ้งทางสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก จึงเดินทางไปตรวจสอบเพื่อช่วยเหลือโลมาดังกล่าว เมื่อไปถึงพบว่า เจ้าหน้าที่มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต และชาวบ้านกำลังช่วยกันประคองโลมาตัวดังกล่าวไว้ในทะเล เนื่องจากไม่สามารถว่ายน้ำได้เองเนื่องจากสภาพร่างกายอ่อนแอ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำโลมาตัวดังกล่าวมายังกลุ่มสัตว์ทะเลหายากเพื่อช่วยเหลือปฐมพยาบาลในเบื้องต้น แต่เนื่องจากโลมาตัวดังกล่าวมีสภาพอ่อนแรง หลังจากนำมาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก โลมาก็ได้ตายลงในที่สุด
จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เป็นโลมาเพศผู้ น้ำหนัก 18.3 กิโลกรัม ยาวประมาณ 150 เซนติเมตร เป็นโลมากระโดด ซึ่งพบในในทะเลฝั่งอันดามัน และจากการตรวจสอบในเบื้องต้นไม่พบว่า มีบาดแผลภายนอกแต่อย่างใด แต่จากการตรวจสอบภายในช่องปากพบว่ามีรอยบาดแผลในปาก ลักษณะผอม คาดว่าไม่ได้กินอาหารมาแล้วหลายวัน อย่างไรก็ตาม วันนี้ทางเจ้าหน้าที่จะผ่าพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุการตายอีกครั้ง
สำหรับโลมาตัวดังกล่าวนั้น ทราบว่าถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดในยาง ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา และทางชาวบ้านได้ช่วยกันผลักดันเพื่อให้ว่ายน้ำกลับลงไปในทะเล แต่ถูกคลื่นซัดกลับเข้ามาที่บริเวณชายฝั่งอีกครั้ง จึงแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากเข้าช่วยเหลือเพื่อยื้อชีวิต แต่สุดท้ายไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ เนื่องจากโลมามีสภาพอ่อนเพลีย และอ่อนแรงทำให้ตายลงในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม ว่า สำหรับโลมาตัวนี้ถือว่าเป็นโลมา ตัวที่ 2 ที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังจากเกิดเหตุแผ่นไหวในทะเล ซึ่งมีจุดศูนย์กลางใกล้กับเกาะยาว จ.พังงา ซึ่งเมื่อวานนี้พบโลมาลายแถบ ถูกคลื่นซัดเข้ามาที่บริเวณหาดบางเทา อ.ถลาง จ.ภูเก็ต แล้ว 1 ตัว ส่วนสาเหตุที่ทำให้โลมาทั้ง 2 ตัว ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นคาดว่าเกิดจากอาการป่วยเรื้อรัง ประกอบกับคลื่นลมแรง ทำให้ถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้จะมีการผ่าซากของโลมาเพื่อหาสาเหตุการตายอีกครั้ง
เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. วันนี้ (8 พ.ค.) เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งและป่าชายเลน (ภูเก็ต) รับแจ้งจากชาวบ้าน ว่า มีโลมาถูกคลื่นซัดมาเกยตื้นที่บริเวณชายในยาง ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ หลังรับแจ้งทางสัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก จึงเดินทางไปตรวจสอบเพื่อช่วยเหลือโลมาดังกล่าว เมื่อไปถึงพบว่า เจ้าหน้าที่มูลนิธิกุศลธรรมภูเก็ต และชาวบ้านกำลังช่วยกันประคองโลมาตัวดังกล่าวไว้ในทะเล เนื่องจากไม่สามารถว่ายน้ำได้เองเนื่องจากสภาพร่างกายอ่อนแอ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำโลมาตัวดังกล่าวมายังกลุ่มสัตว์ทะเลหายากเพื่อช่วยเหลือปฐมพยาบาลในเบื้องต้น แต่เนื่องจากโลมาตัวดังกล่าวมีสภาพอ่อนแรง หลังจากนำมาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก โลมาก็ได้ตายลงในที่สุด
จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เป็นโลมาเพศผู้ น้ำหนัก 18.3 กิโลกรัม ยาวประมาณ 150 เซนติเมตร เป็นโลมากระโดด ซึ่งพบในในทะเลฝั่งอันดามัน และจากการตรวจสอบในเบื้องต้นไม่พบว่า มีบาดแผลภายนอกแต่อย่างใด แต่จากการตรวจสอบภายในช่องปากพบว่ามีรอยบาดแผลในปาก ลักษณะผอม คาดว่าไม่ได้กินอาหารมาแล้วหลายวัน อย่างไรก็ตาม วันนี้ทางเจ้าหน้าที่จะผ่าพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุการตายอีกครั้ง
สำหรับโลมาตัวดังกล่าวนั้น ทราบว่าถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดในยาง ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา และทางชาวบ้านได้ช่วยกันผลักดันเพื่อให้ว่ายน้ำกลับลงไปในทะเล แต่ถูกคลื่นซัดกลับเข้ามาที่บริเวณชายฝั่งอีกครั้ง จึงแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากเข้าช่วยเหลือเพื่อยื้อชีวิต แต่สุดท้ายไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ เนื่องจากโลมามีสภาพอ่อนเพลีย และอ่อนแรงทำให้ตายลงในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม ว่า สำหรับโลมาตัวนี้ถือว่าเป็นโลมา ตัวที่ 2 ที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต หลังจากเกิดเหตุแผ่นไหวในทะเล ซึ่งมีจุดศูนย์กลางใกล้กับเกาะยาว จ.พังงา ซึ่งเมื่อวานนี้พบโลมาลายแถบ ถูกคลื่นซัดเข้ามาที่บริเวณหาดบางเทา อ.ถลาง จ.ภูเก็ต แล้ว 1 ตัว ส่วนสาเหตุที่ทำให้โลมาทั้ง 2 ตัว ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นคาดว่าเกิดจากอาการป่วยเรื้อรัง ประกอบกับคลื่นลมแรง ทำให้ถูกคลื่นซัดเข้าหาฝั่ง แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้จะมีการผ่าซากของโลมาเพื่อหาสาเหตุการตายอีกครั้ง