ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก เผยแผ่นดินไหวใต้ทะเลใกล้เกาะยาว จ.พังงา ติดต่อกัน 2 ครั้ง เกิดจากปลดปล่อยพลังงานของรอยเลื่อนคลองบางมะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา ที่ยังมีพลัง แต่ไม่เกิดสึนามิ เนื่องจากไม่รุนแรง การเคลื่อนตัวไม่ได้เป็นในลักษณะแทนที่น้ำ หรือเกิดในแนวดิ่ง
นายวิวัฒน์ อินทนพานิช ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก เปิดเผยถึงสาเหตุแผ่นดินไหวใต้ทะเลใกล้ๆ กับเกาะยาว จ.พังงา ติดต่อกัน 2 ครั้ง ในวันที่ 6 และ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า แผ่นดินไหวทั้ง 2 ครั้ง เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลังในทะเลอยู่ไม่ห่างไกลจากภูเก็ต และพังงา แต่แผ่นดินไหวในทะเลครั้งนี้ไม่เข้าเกณฑ์ทำให้เกิดสึนามิ เนื่องจากอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง และการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่บริเวณนี้ไม่ได้เป็นในลักษณะแทนที่น้ำ หรือเกิดในแนวดิ่ง แต่เกิดในลักษณะขัดเฉือนกัน
โดยรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยย เป็นรอยเลื่อนที่ปลดปล่อยพลังงานในทะเลอยูเป็นประจำ ย่อมส่งผลดีกว่าการเก็บสะสมพลังงานไว้ เหตุแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดนี้เป็นพลังงานใหม่ที่เกิดขึ้น ทำให้แผ่นดินไหวไม่ใช่การเกิดอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งแรก ซึ่งทั้ง 2 ครั้งมีความแรงไม่เกิน 5 ริกเตอร์ และบริเวณจุดดังกล่าวไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเกินขนาด 6 ริกเตอร์ จึงไม่น่ากลัวต่อการเกิดสึนามิ
“แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นเมื่อใด แต่พบว่าช่วงต้นปี 2558 นี้เกิดขึ้นมาแล้ว 4 ครั้ง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า หากเกิดขึ้นบ่อยๆ อาจจะกระทบต่ออาคารบ้านเรือนของประชาชนได้ จึงอยากฝากให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประชาชนที่จะก่อสร้างอาคารบ้านเรือนขึ้นมาใหม่ให้มีการออกแบบที่ดีแข็งแรงมากขึ้น เพื่อรับมือต่อเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต”
นายวิวัฒน์ อินทนพานิช ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก เปิดเผยถึงสาเหตุแผ่นดินไหวใต้ทะเลใกล้ๆ กับเกาะยาว จ.พังงา ติดต่อกัน 2 ครั้ง ในวันที่ 6 และ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า แผ่นดินไหวทั้ง 2 ครั้ง เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลังในทะเลอยู่ไม่ห่างไกลจากภูเก็ต และพังงา แต่แผ่นดินไหวในทะเลครั้งนี้ไม่เข้าเกณฑ์ทำให้เกิดสึนามิ เนื่องจากอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง และการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่บริเวณนี้ไม่ได้เป็นในลักษณะแทนที่น้ำ หรือเกิดในแนวดิ่ง แต่เกิดในลักษณะขัดเฉือนกัน
โดยรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยย เป็นรอยเลื่อนที่ปลดปล่อยพลังงานในทะเลอยูเป็นประจำ ย่อมส่งผลดีกว่าการเก็บสะสมพลังงานไว้ เหตุแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดนี้เป็นพลังงานใหม่ที่เกิดขึ้น ทำให้แผ่นดินไหวไม่ใช่การเกิดอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งแรก ซึ่งทั้ง 2 ครั้งมีความแรงไม่เกิน 5 ริกเตอร์ และบริเวณจุดดังกล่าวไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเกินขนาด 6 ริกเตอร์ จึงไม่น่ากลัวต่อการเกิดสึนามิ
“แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นเมื่อใด แต่พบว่าช่วงต้นปี 2558 นี้เกิดขึ้นมาแล้ว 4 ครั้ง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า หากเกิดขึ้นบ่อยๆ อาจจะกระทบต่ออาคารบ้านเรือนของประชาชนได้ จึงอยากฝากให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ประชาชนที่จะก่อสร้างอาคารบ้านเรือนขึ้นมาใหม่ให้มีการออกแบบที่ดีแข็งแรงมากขึ้น เพื่อรับมือต่อเหตุแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต”