พังงา - เด็กนักเรียนด้อยโอกาสกว่า 130 คน ในโรงเรียนเพื่อชีวิตพังงา เริ่มวิกฤต หลังถูกบริษัทต่างชาติลอยแพ ยุติการอุดหนุนเงินช่วยเหลือ
วันนี้ (10 ก.พ.) ที่โรงเรียนเพื่อชีวิตพังงา (เบลูก้า อุปถัมภ์) ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ทางโรงเรียนกำลังประสบปัญหาวิกฤตอย่างรุนแรง หลังจากบริษัท ฮานเซอาติก เอส.แอล.จำกัด (เดิมชื่อบริษัท เบลูก้า เอส.แอล.จำกัด) ซึ่งให้การสนับสนุนโรงเรียน โดยเป็นผู้ระดมทุนบริจาคหลักในการสนับสนุนดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนด้อยโอกาส ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงภัยต่างๆ โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ได้ยุติการสนับสนุนทุนทรัพย์ให้แก่ทางโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2557
ซึ่งการหยุดสนับสนุนดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ได้ตามมาตรฐานเหมือนโรงเรียนทั่วไป อาจจะทำให้เด็กในโรงเรียน ซึ่งเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสอยู่แล้วอาจจะหมดโอกาสไปเลยก็ได้ ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนซึ่งเป็นเด็กกำพร้า และเด็กด้อยโอกาส 130 กว่าชีวิต ประกอบไปด้วย ระดับชั้นอนุบาล ถึง ป.6 จำนวน 91 คน ไปเรียนต่อระดับมัธยมศึกษา 40 คน ที่ โรงเรียนทุ่งมะพร้าววิทยา ซึ่งทางโรงเรียนต้องอุปการะต่อเพราะเป็นเด็กกำพร้า
นางขวัญตา อ้นสุวรรณ ครูประจำโรงเรียน เปิดเผยว่า ทางบริษัทที่สนับสนุนได้มีหนังสือแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบในเดือนสิงหาคม 2557 และหยุดการสนับสนุนในเดือนตุลาคม 2557 เป็นการกระทำที่กะทันหันเกินไป และอยู่ในระหว่างปีการศึกษา ปัจจุบันทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากภาครัฐหัวละ 20 บาท ขณะที่เด็กต้องกินวันละ 3 มื้อ ทางโรงเรียนจึงต้องปลูกพืชผักต่างๆ ไว้กินภายในโรงเรียน ขณะที่คณะผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ก็อยู่กันด้วยใจทุกคนเพราะสงสารเด็ก บางคนได้รับเงินเดือนเพียงครึ่งเดียว บางคนก็ไม่ได้รับค่าตอบแทน
อย่างไรก็ตาม หลังจากถูกยุติการสนับสนุน ไฟฟ้า อินเทอร์เน็ตก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายในโรงเรียนได้ร่วมกันเสียสละเงินส่วนตัวดำเนินขอติดตั้งใหม่ โดยขณะนี้ทางผู้บริหารของโรงเรียนได้เดินสายขอความอนุเคราะห์จากองค์กรต่างๆ เพื่อหวังจะกู้วิกฤตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ให้ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายประจำของทางโรงเรียนในแต่ละเดือนอยู่ที่ประมาณ 6 แสนบาท
แหล่งข่าวได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า โรงเรียนได้มีสัญญาในการใช้ที่ดินกับบริษัทที่สนับสนุนเป็นเวลา 30 ปี ขณะที่บริษัทได้อ้างว่า ที่ยุติการสนับสนุนเพราะมีปัญหาในเรื่องการระดมทุนบริจาค และได้ส่งต่อให้หน่วยงานช่วยเหลือระหว่างประเทศเข้ามาดูแลแทน และหากโรงเรียนประสบปัญหาถึงขั้นจะต้องปิดโรงเรียน จะทำให้บริษัทสามารถที่จะทำอย่างไรต่ออาคารและที่ดินได้ตามต้องการ และล่าสุด ได้ทราบว่า มีการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพังงา ให้ดำเนินการตรวจสอบ และให้การช่วยเหลืออีกทางหนึ่งด้วย
วันนี้ (10 ก.พ.) ที่โรงเรียนเพื่อชีวิตพังงา (เบลูก้า อุปถัมภ์) ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ทางโรงเรียนกำลังประสบปัญหาวิกฤตอย่างรุนแรง หลังจากบริษัท ฮานเซอาติก เอส.แอล.จำกัด (เดิมชื่อบริษัท เบลูก้า เอส.แอล.จำกัด) ซึ่งให้การสนับสนุนโรงเรียน โดยเป็นผู้ระดมทุนบริจาคหลักในการสนับสนุนดูแลช่วยเหลือเด็กนักเรียนด้อยโอกาส ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงภัยต่างๆ โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ได้ยุติการสนับสนุนทุนทรัพย์ให้แก่ทางโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2557
ซึ่งการหยุดสนับสนุนดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ได้ตามมาตรฐานเหมือนโรงเรียนทั่วไป อาจจะทำให้เด็กในโรงเรียน ซึ่งเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสอยู่แล้วอาจจะหมดโอกาสไปเลยก็ได้ ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนซึ่งเป็นเด็กกำพร้า และเด็กด้อยโอกาส 130 กว่าชีวิต ประกอบไปด้วย ระดับชั้นอนุบาล ถึง ป.6 จำนวน 91 คน ไปเรียนต่อระดับมัธยมศึกษา 40 คน ที่ โรงเรียนทุ่งมะพร้าววิทยา ซึ่งทางโรงเรียนต้องอุปการะต่อเพราะเป็นเด็กกำพร้า
นางขวัญตา อ้นสุวรรณ ครูประจำโรงเรียน เปิดเผยว่า ทางบริษัทที่สนับสนุนได้มีหนังสือแจ้งให้ทางโรงเรียนทราบในเดือนสิงหาคม 2557 และหยุดการสนับสนุนในเดือนตุลาคม 2557 เป็นการกระทำที่กะทันหันเกินไป และอยู่ในระหว่างปีการศึกษา ปัจจุบันทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากภาครัฐหัวละ 20 บาท ขณะที่เด็กต้องกินวันละ 3 มื้อ ทางโรงเรียนจึงต้องปลูกพืชผักต่างๆ ไว้กินภายในโรงเรียน ขณะที่คณะผู้บริหาร ครู และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ก็อยู่กันด้วยใจทุกคนเพราะสงสารเด็ก บางคนได้รับเงินเดือนเพียงครึ่งเดียว บางคนก็ไม่ได้รับค่าตอบแทน
อย่างไรก็ตาม หลังจากถูกยุติการสนับสนุน ไฟฟ้า อินเทอร์เน็ตก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายในโรงเรียนได้ร่วมกันเสียสละเงินส่วนตัวดำเนินขอติดตั้งใหม่ โดยขณะนี้ทางผู้บริหารของโรงเรียนได้เดินสายขอความอนุเคราะห์จากองค์กรต่างๆ เพื่อหวังจะกู้วิกฤตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ให้ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายประจำของทางโรงเรียนในแต่ละเดือนอยู่ที่ประมาณ 6 แสนบาท
แหล่งข่าวได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า โรงเรียนได้มีสัญญาในการใช้ที่ดินกับบริษัทที่สนับสนุนเป็นเวลา 30 ปี ขณะที่บริษัทได้อ้างว่า ที่ยุติการสนับสนุนเพราะมีปัญหาในเรื่องการระดมทุนบริจาค และได้ส่งต่อให้หน่วยงานช่วยเหลือระหว่างประเทศเข้ามาดูแลแทน และหากโรงเรียนประสบปัญหาถึงขั้นจะต้องปิดโรงเรียน จะทำให้บริษัทสามารถที่จะทำอย่างไรต่ออาคารและที่ดินได้ตามต้องการ และล่าสุด ได้ทราบว่า มีการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพังงา ให้ดำเนินการตรวจสอบ และให้การช่วยเหลืออีกทางหนึ่งด้วย