xs
xsm
sm
md
lg

เลขาฯ สนช ลงพื้นที่ติดตามน้ำท่วมปัตตานี พร้อมมอบถุงยังชีพ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปัตตานี - เลขา สนช ลงพื้นที่ติดตามน้ำท่วมปัตตานี มอบถุงยังชีพ หลังจากยังคงมีน้ำท่วมขังอีกหลายพื้นที่ ถึงแม้น้ำในคลองได้ลดระดับมาอย่างต่อเนื่องทำให้การเร่งระบายน้ำในหลายพื้นที่ได้รวดเร็วขึ้น และมีหลายพื้นที่กำลังสู่ภาวะปกติ โดยเจ้าของบ้านได้ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน

วันนี้ (31 ธ.ค.) นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เลขา สนช.ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมปัตตานี หลังจากยังคงมีน้ำท่วมขังอีกหลายพื้นที่ ถึงแม้น้ำในคลองได้ลดระดับมาอย่างต่อเนื่องทำให้การเร่งระบายน้ำในหลายพื้นที่ได้รวดเร็วขึ้น มีหลายพื้นที่กำลังสู่ภาวะปกติ เจ้าของบ้านได้ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน เพื่อเข้าไปอยู่เหมือนเดิม บ้านยือโม๊ะ บ้าน จางา บ้านปะกาฮารัง ตำบลปะกาฮารัง และบางส่วนของตำบลตะลุโบ๊ะ อำเภอเมืองปัตตานี เป็นพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง สภาพน้ำท่วมถนนเข้าออกหมู่บ้าน บางจุดยังคงต้องใช้เรือสัญจร เนื่องจากมีระดับน้ำสูง 50-200 ซม.

นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เลขาฯ สนช.ได้นำทีมงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ลงพื้นที่บ้านยือโม๊ะ บ้านจางา และบ้านปะกาฮารัง พร้อมมอบข้าวสารอาหารแห้ง และสิ่งของจำเป็นให้กับพี่น้องประชาชนที่ยังประสบภัยน้ำท่วมขัง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ท่ามกลางความดีใจของพี่น้องในพื้นที่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมู่บ้านดังกล่าว เป็นพื้นที่ลุ่ม มีลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ ระดับพื้นดินอยู่ในระดับเดียวกับแม่น้ำ ประกอบกับโครงสร้างพัฒนาได้ปิดเส้นทางน้ำ ทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้ยาก และล่าช้ากว่าที่อื่น ชาวบ้านกว่า 500 หลังเรือน ต้องจมอยู่ใต้น้ำที่สูงกว่า 2 เมตร นานกว่าสัปดาห์แล้วและอาจใช้เวลานานถึง1เดือนกว่าน้ำจะแห้งทั้งหมด จึงทำให้เครื่องอุปโภคบริโภคเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพี่น้องพื้นที่นี้อย่างมากในขณะนี้

นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล เลขา สนช. กล่าวว่า ที่ตำบลปะกาฮารัง โดยเฉพาะ บริเวณ ม.1 ม.2 ม.5 ม.8 ที่น้ายังท่วมขังอยู่อีก รวมทั้ง ต.ตะลูโฐ๊ะบางส่วนด้วย โดยทั่วไปแม้น้ำจะลดไปเป็นบางส่วนแล้ว แต่ที่บ้านจางา และบ้าน ยือโม๊ะนี้ เป็นพื้นที่ยังหนักอยู่ พี่น้องประชาชนต้องพ่ายเรือเข้าออกพื้นที่ โดยเฉพาะออกมารับถุงยังชีพที่มีหลายหน่วยงานเข้ามามอบ แล้วน้ำท่วมถึงชั้น1ของบ้านอยู่ ประเด็นคือว่าหลังน้ำท่วม การฟื้นฟู การซ่อมแซมบ้าน ที่อยู่อาศัย โดยที่สำคัญที่สุดที่อาจดูละเลยคือสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะที่จางา ทุกวันนี้ หญ้าที่ให้กับวัวก็ขาดแคลน ชาวบ้านเป็นห่วงเรื่องนี้ด้วย แผนระยะยาว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาดูเรื่องของการระบายน้ำ ตอนนี้ สิ่งปลูกสร้างที่มาขวางเส้นทางน้ำ ก็มีมากขึ้น แต่ต่อไประยะยาวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ว่าจะทำยังไงที่นอกจากจะ ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า เรื่องการแจกถึงยังชีพ และมาคิดในเรื่องของการที่จะทำยังไงไม่ให้น้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น