นครศรีธรรมราช - ประธานสภาวัฒนธรรม จ.นครศรีธรรมราช เผยนักวิชาการต่างประเทศ 10 ใน 14 คน ร่อนหนังสือขอเลื่อนการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “พระธาตุเจดีย์สู่มรดกโลก” จาก 14-15 ก.พ.เป็นเดือน พ.ค.อ้างไม่มั่นใจในความไม่ปลอดภัย หลังรัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช/ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ การนำเสนอพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เป็นมรดกโลก เปิดเผยว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้กำหนดการจัดสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “พระธาตุเจดีย์สู่มรดกโลก” ในช่วงการจัดงานประเพณี มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ นานาชาติ ที่เมืองนครฯ” ประจำปี 2557 ในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรมทวินโลตัสนครศรีธรรมราช เพื่อรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่ได้รับจากนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ มาประกอบในการจัดทำเอกสารทางวิชาการฉบับสมบูรณ์ (Nomination Dossier) ก่อนเสนอต่อยูเนสโก
เพื่อประกอบการนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อีกทั้งเพื่อให้นักวิชาการจากต่างประเทศได้เห็นถึงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องกันมายาวนานถึง 784 ปี ซึ่งตรงตามหลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรมในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกข้อที่ 6 คือ มีความคิด หรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
รศ.ฉัตรชัย กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทำหนังสือเชิญไปยังนักวิชาการจากต่างประเทศ จำนวน 14 คน เพื่อเข้าร่วมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “พระธาตุเจดีย์สู่มรดกโลก” ในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2557 ปรากฏว่า มีนักวิชาการ 10 คนจาก 14 คน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นต้น ตอบกลับมาว่าไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย หลังจากที่รัฐบาลไทยมีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งเป็นผลกระทบที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่นอกพื้นที่การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องเลื่อนการจัดสัมมนาครั้งนี้ออกไปก่อน
แต่ได้กำหนดจัดสัมมนาใหม่อีกครั้งในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งมีการจัดกิจกรรมทางศาสนาแห่ผ้าขึ้นธาตุเช่นเดียวกับเทศกาลมาฆบูชา อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำเอกสารฉบับสมบูรณ์ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2557 นี้ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ ในปี 2558 ตามขั้นตอนต่อไป
รศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช/ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ การนำเสนอพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เป็นมรดกโลก เปิดเผยว่า จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้กำหนดการจัดสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “พระธาตุเจดีย์สู่มรดกโลก” ในช่วงการจัดงานประเพณี มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ นานาชาติ ที่เมืองนครฯ” ประจำปี 2557 ในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2557 ณ โรงแรมทวินโลตัสนครศรีธรรมราช เพื่อรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่ได้รับจากนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ มาประกอบในการจัดทำเอกสารทางวิชาการฉบับสมบูรณ์ (Nomination Dossier) ก่อนเสนอต่อยูเนสโก
เพื่อประกอบการนำเสนอพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อีกทั้งเพื่อให้นักวิชาการจากต่างประเทศได้เห็นถึงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องกันมายาวนานถึง 784 ปี ซึ่งตรงตามหลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรมในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกข้อที่ 6 คือ มีความคิด หรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
รศ.ฉัตรชัย กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทำหนังสือเชิญไปยังนักวิชาการจากต่างประเทศ จำนวน 14 คน เพื่อเข้าร่วมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “พระธาตุเจดีย์สู่มรดกโลก” ในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2557 ปรากฏว่า มีนักวิชาการ 10 คนจาก 14 คน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นต้น ตอบกลับมาว่าไม่สามารถเดินทางมาเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย หลังจากที่รัฐบาลไทยมีการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งเป็นผลกระทบที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้น เนื่องจากจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่นอกพื้นที่การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องเลื่อนการจัดสัมมนาครั้งนี้ออกไปก่อน
แต่ได้กำหนดจัดสัมมนาใหม่อีกครั้งในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2557 ซึ่งมีการจัดกิจกรรมทางศาสนาแห่ผ้าขึ้นธาตุเช่นเดียวกับเทศกาลมาฆบูชา อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำเอกสารฉบับสมบูรณ์ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2557 นี้ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาการเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ ในปี 2558 ตามขั้นตอนต่อไป