ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นิติศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่ จัดเสวนา “เห็นต่าง ร่วมทางได้” หัวข้อ “ประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง 2 ก.พ.2557” มีนักวิชาการทางกฎหมายมหาชนร่วมเสวนาปัญหาการเมือง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมเสวนาแสดงความเห็นอย่างอิสระ ภายใต้แนวความคิด “เห็นต่าง ร่วมทางได้”
เมื่อวานนี้ (27 ม.ค.) เวลา 15.00 น. ที่บริเวณลานดอกแก้ว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยคณะนิติศาสตร์ ได้จัดเสวนา “เห็นต่าง ร่วมทางได้” ในหัวข้อ “ประเทศไทยหลัง 2 ก.พ.2557” ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์ ดร.มานพ พรหมชนะ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมเสวนา โดยมี อาจารย์ธีรวัฒน์ ขวัญใจ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ซึ่งมีนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
สืบเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยที่ผ่านมา เริ่มจากการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงเวลาตี 4 พัฒนามาสู่การชุมนุมของมวลมหาประชาชน มีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุก (กปปส.) รัฐบาลประกาศยุบสภาเพื่อกลับสู่การเลือกตั้ง มีการดำเนินยุทธศาสตร์ “ชัตดาวน์ กรุงเทพฯ” โดยคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ จนกระทั่งล่าสุด มีการขัดขวางการเลือกตั้ง
ซึ่งข้อขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นจำนวนมากมีพื้นฐานอยู่บนข้อกฎหมาย ในฐานะที่คณะนิติศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีหน้าที่โดยตรงในทางวิชาการในการให้ความรู้ รวมถึงข้อคิดเห็นที่ถูกต้องทางด้านกฎหมายแก่สังคม จึงจัดโครงการจัดเสวนาในครั้งนี้ขึ้น โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง และร่วมแสดงความคิดเห็นภายใต้แนวความคิด “เห็นต่าง ร่วมทางได้”
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล กล่าวว่า ตนเองนั้นเป็นหนึ่งในเครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา 2 เอาคือ เอาการเลือกตั้ง และเอาการปฏิรูปการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย 2 ไม่เอาคือ ไม่เอาการรัฐประหาร และการใช้ความรุนแรง ซึ่งในความคิดตนเห็นว่าความเห็นต่างของคนในสังคมเป็นเรื่องปกติภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมจะต้องยอมรับ ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้แก้ไขปัญหาทุกเรื่องของสังคมโดยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง
ซึ่งในขณะนี้ตนคิดว่าสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการไม่ปฏิบัติตามหลักการขั้นพื้นฐาน หมายถึง ในขณะนี้สังคมไทยยังไม่เข้าใจว่าอะไรคือหลักการพื้นฐานที่จะต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น เราจะต้องเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน กล่าวคือ ทุกคนสามารถใช้สิทธิได้แต่สิ่งที่สำคัญจะต้องไม่ไปกระทบกับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อื่น ซึ่งการขัดขวางการเลือกตั้งทางกายภาพถือว่าเป็นการละเมิดหลักการขั้นพื้นฐานของประชาชน รศ.สมชาย กล่าว
ทั้งนี้ สภาวะทางการเมืองของประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มีต้นเหตุมาจากเผด็จการรัฐสภา เผด็จการรัฐสภาเป็นสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอย่างที่สุด แต่ในอดีตที่ผ่านมา เรากลับแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภาด้วยการรัฐประหาร ซึ่งการแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภาด้วยวิธีรัฐประหารเป็นวิธีการที่โง่เขลาที่สุด เห็นได้จากการปฏิวัติที่ผ่านมา ในวันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงแม้จะเป็นการปฏิวัติที่ไม่มีความรุนแรง เป็นการปฏิวัติที่โรยด้วยดอกไม้ แต่เมื่อสถานการณ์มาถึงปัจจุบันได้พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า การปฏิวัติไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง รศ.สมชาย กล่าว
รศ.สมชาย กล่าวเสริมว่า การเลือกตั้งนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมไทย แต่การเลือกตั้งเป็นการจัดการกับความเห็นต่างภายใต้กติกาที่ถูกต้อง ใครไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งมีสิทธิคัดค้านได้ แต่ไม่ควรทำลายสิทธิการเลือกตั้งของผู้อื่นซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นต่ำสุดของสังคม
อาจารย์มานพ พรหมชนะ กล่าวว่า การเลือกตั้งถือเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความจริงแล้วเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ แต่โดยส่วนตัวแล้วยังมองไม่ออกว่าสภาประชาชนเป็นอย่างไร มีกฎหมายรองรับอย่างไรบ้าง มีกระบวนการคัดสรรอย่างไร และที่สำคัญใครจะเข้ามาเป็นสภาประชาชน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดของการตั้งสภาประชาชนคือ จะต้องจัดตั้งโดยกระบวนการ หรือวิธีการที่ชอบธรรม ถูกต้องภายใต้กติกาในระบอบประชาธิปไตย
จากคำกล่าวของนักปรัชญาว่า “มนุษย์เกิดมาเสรีทุกหนแห่ง แต่ถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน” หมายความว่า มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่มีข้อยกเว้นคือเสรีภาพของมนุษย์ย่อมจะต้องมีข้อจำกัด กล่าวคือ โซ่ตรวนที่พันธนาการเสรีภาพนี้จะต้องเป็นโซ่ตรวนของสังคม มิใช่เป็นโซ่ตรวนของใครคนใดคนหนึ่ง หรือของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาจารย์มานพ กล่าว
โดยส่วนตัวแล้วในฐานะที่เป็นนักวิชาการทางด้านกฎหมาย สิ่งที่คิดว่าควรจะต้องปฏิรูปมากที่สุดในวงการกฎหมายคือ การสอบผู้พิพากษาซึ่งมีถึง 3 สนามสอบ ทั้งสนามใหญ่ สนามเล็ก และสนามจิ๋ว ซึ่งไม่มีประเทศไหนในโลกที่จัดสอบผู้พิพากษาถึง 3 สนาม จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคอย่างยิ่ง ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีเงินมีโอกาสเป็นผู้พิพากษาได้มากกว่าคนที่มีเงินน้อยกว่า
อาจารย์มานพ กล่าวปิดท้ายว่า ในส่วนการแก้ปัญหาทางการเมืองของประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตนคิดว่าทุกฝ่ายจะต้องลดละสิ่งที่เรียกว่า “ตัวกู-ของกู” (EGO) ตามหลักธรรมของท่านอาจารย์พุทธทาส เมื่อเราพยายามลดตัวกู-ของกู ไม่ยึดมั่นในอัตตา เราย่อมสามารถคุยกันได้ด้วยเหตุผล ด้วยหลักการที่ถูกต้อง จึงสามารถจะแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้
ในประเด็นเรื่องการปฏิรูป เชื่อว่าทุกภาคส่วนของสังคมเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ แต่ไม่ควรกระทำโดย กปปส. แต่เพียงฝ่ายเดียวควรเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามาร่วมในกระบวนการปฏิรูป ส่วนเหตุที่ต้องสนับสนุนการเลือกตั้งนั้นเนื่องจากเป็นวิถีทางที่ลดความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง และเปิดทางให้มีการปฏิรูปต่อไป ส่วนประเด็นที่จะต้องปฏิรูปเป็นเรื่องที่ต้องรับฟังคนกลุ่มต่างๆ และช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งฝ่าย กปปส. จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้เกิดการปฏิรูปขึ้นได้อย่างแท้จริง
เมื่อวานนี้ (27 ม.ค.) เวลา 15.00 น. ที่บริเวณลานดอกแก้ว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยคณะนิติศาสตร์ ได้จัดเสวนา “เห็นต่าง ร่วมทางได้” ในหัวข้อ “ประเทศไทยหลัง 2 ก.พ.2557” ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์ ดร.มานพ พรหมชนะ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมเสวนา โดยมี อาจารย์ธีรวัฒน์ ขวัญใจ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ซึ่งมีนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
สืบเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยที่ผ่านมา เริ่มจากการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงเวลาตี 4 พัฒนามาสู่การชุมนุมของมวลมหาประชาชน มีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุก (กปปส.) รัฐบาลประกาศยุบสภาเพื่อกลับสู่การเลือกตั้ง มีการดำเนินยุทธศาสตร์ “ชัตดาวน์ กรุงเทพฯ” โดยคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ จนกระทั่งล่าสุด มีการขัดขวางการเลือกตั้ง
ซึ่งข้อขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นจำนวนมากมีพื้นฐานอยู่บนข้อกฎหมาย ในฐานะที่คณะนิติศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีหน้าที่โดยตรงในทางวิชาการในการให้ความรู้ รวมถึงข้อคิดเห็นที่ถูกต้องทางด้านกฎหมายแก่สังคม จึงจัดโครงการจัดเสวนาในครั้งนี้ขึ้น โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง และร่วมแสดงความคิดเห็นภายใต้แนวความคิด “เห็นต่าง ร่วมทางได้”
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล กล่าวว่า ตนเองนั้นเป็นหนึ่งในเครือข่าย 2 เอา 2 ไม่เอา 2 เอาคือ เอาการเลือกตั้ง และเอาการปฏิรูปการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย 2 ไม่เอาคือ ไม่เอาการรัฐประหาร และการใช้ความรุนแรง ซึ่งในความคิดตนเห็นว่าความเห็นต่างของคนในสังคมเป็นเรื่องปกติภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมจะต้องยอมรับ ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้แก้ไขปัญหาทุกเรื่องของสังคมโดยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง
ซึ่งในขณะนี้ตนคิดว่าสังคมไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการไม่ปฏิบัติตามหลักการขั้นพื้นฐาน หมายถึง ในขณะนี้สังคมไทยยังไม่เข้าใจว่าอะไรคือหลักการพื้นฐานที่จะต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น เราจะต้องเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน กล่าวคือ ทุกคนสามารถใช้สิทธิได้แต่สิ่งที่สำคัญจะต้องไม่ไปกระทบกับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อื่น ซึ่งการขัดขวางการเลือกตั้งทางกายภาพถือว่าเป็นการละเมิดหลักการขั้นพื้นฐานของประชาชน รศ.สมชาย กล่าว
ทั้งนี้ สภาวะทางการเมืองของประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มีต้นเหตุมาจากเผด็จการรัฐสภา เผด็จการรัฐสภาเป็นสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอย่างที่สุด แต่ในอดีตที่ผ่านมา เรากลับแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภาด้วยการรัฐประหาร ซึ่งการแก้ปัญหาเผด็จการรัฐสภาด้วยวิธีรัฐประหารเป็นวิธีการที่โง่เขลาที่สุด เห็นได้จากการปฏิวัติที่ผ่านมา ในวันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงแม้จะเป็นการปฏิวัติที่ไม่มีความรุนแรง เป็นการปฏิวัติที่โรยด้วยดอกไม้ แต่เมื่อสถานการณ์มาถึงปัจจุบันได้พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า การปฏิวัติไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง รศ.สมชาย กล่าว
รศ.สมชาย กล่าวเสริมว่า การเลือกตั้งนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมไทย แต่การเลือกตั้งเป็นการจัดการกับความเห็นต่างภายใต้กติกาที่ถูกต้อง ใครไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งมีสิทธิคัดค้านได้ แต่ไม่ควรทำลายสิทธิการเลือกตั้งของผู้อื่นซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นต่ำสุดของสังคม
อาจารย์มานพ พรหมชนะ กล่าวว่า การเลือกตั้งถือเป็นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความจริงแล้วเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ แต่โดยส่วนตัวแล้วยังมองไม่ออกว่าสภาประชาชนเป็นอย่างไร มีกฎหมายรองรับอย่างไรบ้าง มีกระบวนการคัดสรรอย่างไร และที่สำคัญใครจะเข้ามาเป็นสภาประชาชน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดของการตั้งสภาประชาชนคือ จะต้องจัดตั้งโดยกระบวนการ หรือวิธีการที่ชอบธรรม ถูกต้องภายใต้กติกาในระบอบประชาธิปไตย
จากคำกล่าวของนักปรัชญาว่า “มนุษย์เกิดมาเสรีทุกหนแห่ง แต่ถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวน” หมายความว่า มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่มีข้อยกเว้นคือเสรีภาพของมนุษย์ย่อมจะต้องมีข้อจำกัด กล่าวคือ โซ่ตรวนที่พันธนาการเสรีภาพนี้จะต้องเป็นโซ่ตรวนของสังคม มิใช่เป็นโซ่ตรวนของใครคนใดคนหนึ่ง หรือของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาจารย์มานพ กล่าว
โดยส่วนตัวแล้วในฐานะที่เป็นนักวิชาการทางด้านกฎหมาย สิ่งที่คิดว่าควรจะต้องปฏิรูปมากที่สุดในวงการกฎหมายคือ การสอบผู้พิพากษาซึ่งมีถึง 3 สนามสอบ ทั้งสนามใหญ่ สนามเล็ก และสนามจิ๋ว ซึ่งไม่มีประเทศไหนในโลกที่จัดสอบผู้พิพากษาถึง 3 สนาม จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักความเสมอภาคอย่างยิ่ง ถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่มีเงินมีโอกาสเป็นผู้พิพากษาได้มากกว่าคนที่มีเงินน้อยกว่า
อาจารย์มานพ กล่าวปิดท้ายว่า ในส่วนการแก้ปัญหาทางการเมืองของประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตนคิดว่าทุกฝ่ายจะต้องลดละสิ่งที่เรียกว่า “ตัวกู-ของกู” (EGO) ตามหลักธรรมของท่านอาจารย์พุทธทาส เมื่อเราพยายามลดตัวกู-ของกู ไม่ยึดมั่นในอัตตา เราย่อมสามารถคุยกันได้ด้วยเหตุผล ด้วยหลักการที่ถูกต้อง จึงสามารถจะแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้
ในประเด็นเรื่องการปฏิรูป เชื่อว่าทุกภาคส่วนของสังคมเห็นด้วยกับการปฏิรูปประเทศ แต่ไม่ควรกระทำโดย กปปส. แต่เพียงฝ่ายเดียวควรเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามาร่วมในกระบวนการปฏิรูป ส่วนเหตุที่ต้องสนับสนุนการเลือกตั้งนั้นเนื่องจากเป็นวิถีทางที่ลดความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง และเปิดทางให้มีการปฏิรูปต่อไป ส่วนประเด็นที่จะต้องปฏิรูปเป็นเรื่องที่ต้องรับฟังคนกลุ่มต่างๆ และช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้น ซึ่งฝ่าย กปปส. จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้เกิดการปฏิรูปขึ้นได้อย่างแท้จริง