ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ในช่วง 7 วันสุดท้ายการขึ้นทะเบียนรับค่าปัจจัยการผลิต ชาวสวนยางสงขลาเดินทางไปขอขึ้นทะเบียนอย่างคึกคัก แต่ในบางอำเภอจำกัดการขึ้นทะเบียนได้เพียงวันละ 300 คนเท่านั้น และยังพบปัญหาในเรื่องของหลักฐาน และเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินจำนวนมาก
วันนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการขึ้นทะเบียนเพื่อรับค่าปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาท ที่ จ .สงขลา ในช่วง 7 วันสุดท้ายของการเปิดให้ขึ้นทะเบียน ยังเป็นไปอย่างคึกคัก เช่น ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นอำเภอที่มีพื้นที่การปลูกยางพารามากแห่งหนึ่งใน จ.สงขลา เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอต้องใช้สถานที่ของศาลาประชาคมอำเภอสะเดาในการเปิดให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียน โดยมีเกษตรชาวสวนยางจำนวนมากมาต่อแถวรอขึ้นทะเบียน ในขณะที่ทางเกษตรอำเภอสะเดา จำกัดการขึ้นทะเบียนได้เพียงวันละ 300 คนเท่านั้น เนื่องจากต้องดำเนินการในขั้นตอนของการตรวจสอบเอกสารเกษตรกรแต่ละราย
โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการกรอกเอกสาร ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ยังค่อนข้างสับสน รวมทั้งปัญหาของหลักฐาน และเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินที่นำมายื่น โดยเฉพาะกรณีที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิชัดเจน เช่น ทบ.5 ซึ่งใช้เพียงใบเสียภาษีที่ดินในการอ้างสิทธิครอบครอง แต่ไม่ได้มีการระบุพิกัดของที่ดิน ซึ่งขั้นตอนในการขอขึ้นทะเบียนค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากต้องให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ รวมทั้งเจ้าของที่ดินข้างเคียงเซ็นรับรอง หลายราย จึงต้องเสียเวลาเพราะไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้
วันนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการขึ้นทะเบียนเพื่อรับค่าปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาท ที่ จ .สงขลา ในช่วง 7 วันสุดท้ายของการเปิดให้ขึ้นทะเบียน ยังเป็นไปอย่างคึกคัก เช่น ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสะเดา ซึ่งเป็นอำเภอที่มีพื้นที่การปลูกยางพารามากแห่งหนึ่งใน จ.สงขลา เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอต้องใช้สถานที่ของศาลาประชาคมอำเภอสะเดาในการเปิดให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียน โดยมีเกษตรชาวสวนยางจำนวนมากมาต่อแถวรอขึ้นทะเบียน ในขณะที่ทางเกษตรอำเภอสะเดา จำกัดการขึ้นทะเบียนได้เพียงวันละ 300 คนเท่านั้น เนื่องจากต้องดำเนินการในขั้นตอนของการตรวจสอบเอกสารเกษตรกรแต่ละราย
โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการกรอกเอกสาร ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ยังค่อนข้างสับสน รวมทั้งปัญหาของหลักฐาน และเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินที่นำมายื่น โดยเฉพาะกรณีที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิชัดเจน เช่น ทบ.5 ซึ่งใช้เพียงใบเสียภาษีที่ดินในการอ้างสิทธิครอบครอง แต่ไม่ได้มีการระบุพิกัดของที่ดิน ซึ่งขั้นตอนในการขอขึ้นทะเบียนค่อนข้างยุ่งยาก เนื่องจากต้องให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ รวมทั้งเจ้าของที่ดินข้างเคียงเซ็นรับรอง หลายราย จึงต้องเสียเวลาเพราะไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้