นราธิวาส - ประธานสภาเกษตรจังหวัดนราธิวาส เรียกร้องรัฐบาลเร่งแก่ปัญหาให้ผู้ชุมนุม ระบุเห็นด้วยกับราคายาง กก.ละ 100 บาท ขณะที่เกษตรเผยชาวสวนผลไม้ในพื้นที่ก็ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และรอความช่วยเหลือจากรัฐเช่นกัน
นายประหยัด ลอแม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเกษตรกรในพื้นที่ จ.นราธิวาส พบว่า มีส่วนหนึ่งที่เดินทางไปสมทบกับเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งชุมนุมอยู่ที่ อ.ชะอวด จ.นราธิวาส แต่ส่วนใหญ่ยังคงติดตามข่าวสารอยู่ในพื้นที่ ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยที่มีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการช่วยเหลือเกษตรชาวสวนยางที่ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำ เนื่องจากนี่คือการเรียกร้องใหญ่เป็นครั้งแรก ภายหลังจากรัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ และอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญโดยเร่งแก้ปัญหาจากความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวสวนยาง พร้อมทั้งเรียกร้องกลุ่มผู้ชุมนุมให้เปิดถนน และเส้นทางรถไฟ เพื่อให้ประชาชนได้สัญจรไปมาตามปกติ หลังต้องปรับเปลี่ยนการเดินทาง และบางพื้นที่ เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่โดยสารรถไฟเป็นหลักก็เดือดร้อนจากการชุมนุมที่เกิดขึ้น
ส่วนราคายางที่มีความเหมาะสมนั้น คิดว่าราคาน้ำยางควรปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 80 บาท และราคายางแผ่นดิบกิโลกรัมกรัมละ 100 บาท น่าจะเป็นทางออกที่ดีของทั้ง 2 ฝ่าย เพราะที่เรียกร้อง 120 บาทต่อกิโลกรัมคือ ราคาตลาดโลก หากปรับขึ้นในราคาดังกล่าวก็อาจจะส่งผลให้ค่าครองชีพด้านอื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น
ด้านนายย่อง แดงอินทร์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้ปรับขึ้นราคายางพารา เนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ต้องแบกภาระหนักจากราคายางตกต่ำมานานแล้ว แต่ก็ควรทำอย่างสันติภายใต้กรอบของกฎหมายที่ไม่ทำให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเดือดร้อนไปด้วย อีกทั้งการเรียกร้องในราคาสูงถึง 120 บาทต่อกิโลกรัมนั้น เห็นว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ถดถอยลงทั้งหมด จึงขอเรียกร้องให้ปรับราคาน้ำยางจาก 60-65 บาท/กิโลกรัม เป็น 80 บาท และราคายางแผนดิบ จาก 80 บาท/กิโลกรัม เป็น 100 บาท ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับต้นทุนการผลิต และผลกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้ไม่เพียงเกษตรกรชาวสวนยางที่เดือดร้อน แต่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ก็ได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ซึ่งในพื้นที่ จ.นราธิวาส ขณะนี้มีผลผลิตของมังคุด และเงาะออกสู่ท้องตลาดแล้ว โดยราคามังคุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 6-7 บาท และราคาเงาะที่จำหน่ายเป็นช่อ อยู่ที่ช่อละ 8-10 บาท ก็ยังรอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐด้วยเช่นกัน
นายประหยัด ลอแม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของเกษตรกรในพื้นที่ จ.นราธิวาส พบว่า มีส่วนหนึ่งที่เดินทางไปสมทบกับเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งชุมนุมอยู่ที่ อ.ชะอวด จ.นราธิวาส แต่ส่วนใหญ่ยังคงติดตามข่าวสารอยู่ในพื้นที่ ทั้งนี้ ตนเห็นด้วยที่มีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการช่วยเหลือเกษตรชาวสวนยางที่ได้รับผลกระทบจากราคายางตกต่ำ เนื่องจากนี่คือการเรียกร้องใหญ่เป็นครั้งแรก ภายหลังจากรัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ และอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญโดยเร่งแก้ปัญหาจากความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวสวนยาง พร้อมทั้งเรียกร้องกลุ่มผู้ชุมนุมให้เปิดถนน และเส้นทางรถไฟ เพื่อให้ประชาชนได้สัญจรไปมาตามปกติ หลังต้องปรับเปลี่ยนการเดินทาง และบางพื้นที่ เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่โดยสารรถไฟเป็นหลักก็เดือดร้อนจากการชุมนุมที่เกิดขึ้น
ส่วนราคายางที่มีความเหมาะสมนั้น คิดว่าราคาน้ำยางควรปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 80 บาท และราคายางแผ่นดิบกิโลกรัมกรัมละ 100 บาท น่าจะเป็นทางออกที่ดีของทั้ง 2 ฝ่าย เพราะที่เรียกร้อง 120 บาทต่อกิโลกรัมคือ ราคาตลาดโลก หากปรับขึ้นในราคาดังกล่าวก็อาจจะส่งผลให้ค่าครองชีพด้านอื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น
ด้านนายย่อง แดงอินทร์ เกษตรกรชาวสวนยางพารา ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้ปรับขึ้นราคายางพารา เนื่องจากเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ต้องแบกภาระหนักจากราคายางตกต่ำมานานแล้ว แต่ก็ควรทำอย่างสันติภายใต้กรอบของกฎหมายที่ไม่ทำให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเดือดร้อนไปด้วย อีกทั้งการเรียกร้องในราคาสูงถึง 120 บาทต่อกิโลกรัมนั้น เห็นว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ถดถอยลงทั้งหมด จึงขอเรียกร้องให้ปรับราคาน้ำยางจาก 60-65 บาท/กิโลกรัม เป็น 80 บาท และราคายางแผนดิบ จาก 80 บาท/กิโลกรัม เป็น 100 บาท ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับต้นทุนการผลิต และผลกำไรจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้ไม่เพียงเกษตรกรชาวสวนยางที่เดือดร้อน แต่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ก็ได้รับผลกระทบจากราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ซึ่งในพื้นที่ จ.นราธิวาส ขณะนี้มีผลผลิตของมังคุด และเงาะออกสู่ท้องตลาดแล้ว โดยราคามังคุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 6-7 บาท และราคาเงาะที่จำหน่ายเป็นช่อ อยู่ที่ช่อละ 8-10 บาท ก็ยังรอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐด้วยเช่นกัน