ตรัง - ผู้ว่าฯ จับมือ สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ อบต.หนองตรุด ซ่อมพนังกั้นน้ำแม่น้ำตรัง ซึ่งทรุดตัวเป็นระยะทางยาว 50 เมตร ด้วยวงเงิน 1,300,000 บาท
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า ตนพร้อมด้วย นายพิพันธ์ ศิริธร นายอำเภอเมืองตรัง นายอำนวย จันทรัฐ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง และนายสมบัติ ผลประยูร นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองตรุด ได้เดินทางไปตรวจพนังกั้นน้ำแม่น้ำตรัง ที่บริเวณหมู่ที่ 7 ตำบลหนองตรุด หลังจากที่เกิดทรุดตัวลงเป็นระยะทางประมาณ 50 เมตร อันเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักก่อนหน้านี้ อีกทั้งยังทำให้พนังกั้นน้ำที่เคยมีความกว้างถึง 7 เมตร เหลือเพียงแค่ 4 เมตรเท่านั้น จนหวั่นเกรงว่าหากเกิดฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง กระแสน้ำก็อาจจะกัดเซาะพนังกั้นน้ำที่ทรุดตัวให้ขาดลงได้ในที่สุด
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวอีกว่า พนังกันน้ำตรงจุดบริเวณดังกล่าว มีลักษณะเป็นคุ้งน้ำ และฝั่งตรงข้ามเป็นพื้นที่ต่ำ ซึ่งหากพังลงมาเมื่อไหร่ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วม และสร้างความเสียหายในวงกว้าง ไม่เฉพาะตำบลหนองตรุดเท่านั้นที่จะได้รับความเดือดร้อน แต่ยังจะรวมไปถึงประชาชนในพื้นที่อื่นๆ ด้วย ดังนั้น ทางจังหวัดจึงสั่งการให้ที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง และ อบต.หนองตรุด เร่งทำการซ่อมแซม โดยวิธีวางหินใหญ่ลงเป็นฐานเป็นชั้นๆ พร้อมหินคลุก ก่อนที่จะมีการนำปูนซีเมนต์มาโบกเชื่อมต่อหัว และท้ายพนังกั้นน้ำที่ทรุด ด้วยวงเงินงบประมาณ 1,300,000 บาท
นายธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า ตนพร้อมด้วย นายพิพันธ์ ศิริธร นายอำเภอเมืองตรัง นายอำนวย จันทรัฐ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง และนายสมบัติ ผลประยูร นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หนองตรุด ได้เดินทางไปตรวจพนังกั้นน้ำแม่น้ำตรัง ที่บริเวณหมู่ที่ 7 ตำบลหนองตรุด หลังจากที่เกิดทรุดตัวลงเป็นระยะทางประมาณ 50 เมตร อันเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักก่อนหน้านี้ อีกทั้งยังทำให้พนังกั้นน้ำที่เคยมีความกว้างถึง 7 เมตร เหลือเพียงแค่ 4 เมตรเท่านั้น จนหวั่นเกรงว่าหากเกิดฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง กระแสน้ำก็อาจจะกัดเซาะพนังกั้นน้ำที่ทรุดตัวให้ขาดลงได้ในที่สุด
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวอีกว่า พนังกันน้ำตรงจุดบริเวณดังกล่าว มีลักษณะเป็นคุ้งน้ำ และฝั่งตรงข้ามเป็นพื้นที่ต่ำ ซึ่งหากพังลงมาเมื่อไหร่ก็จะทำให้เกิดน้ำท่วม และสร้างความเสียหายในวงกว้าง ไม่เฉพาะตำบลหนองตรุดเท่านั้นที่จะได้รับความเดือดร้อน แต่ยังจะรวมไปถึงประชาชนในพื้นที่อื่นๆ ด้วย ดังนั้น ทางจังหวัดจึงสั่งการให้ที่ว่าการอำเภอเมืองตรัง สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง และ อบต.หนองตรุด เร่งทำการซ่อมแซม โดยวิธีวางหินใหญ่ลงเป็นฐานเป็นชั้นๆ พร้อมหินคลุก ก่อนที่จะมีการนำปูนซีเมนต์มาโบกเชื่อมต่อหัว และท้ายพนังกั้นน้ำที่ทรุด ด้วยวงเงินงบประมาณ 1,300,000 บาท