ตรัง - จังหวัดตรัง พบครัวเรือนที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่าปีละ 3 หมื่นบาท จำนวน 46 ครัวเรือน ใน 5 อำเภอ พัฒนาชุมชนจัดชุดปฏิบัติการระดับตำบลลงไปแก้ไขปัญหาความยากจน
นายไพบูลย์ บูรณสันติ พัฒนาการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2555 จากทุกครัวเรือนในจังหวัดตรัง พบว่า มีครัวเรือนที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 30,000 บาท/ปี จำนวน 46 ครัวเรือน ใน 5 อำเภอ คือ อ.เมืองตรัง 6 ครัวเรือน อ.ปะเหลียน 1 ครัวเรือน อ.วังวิเศษ 4 ครัวเรือน อ.นาโยง 28 ครัวเรือน และ อ.รัษฎา 7 ครัวเรือน
ซึ่งขณะนี้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้จัดทำโครงการส่งเสริมรายได้ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจระดับครัวเรือนจังหวัดตรัง โดยจัดประชุมให้ความรู้แนวทางการประกอบอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 30,000 บาท จำนวนทั้ง 46 ครัวเรือนดังกล่าว พร้อมศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำควาย ต.นาท่ามเหนือ อ.เมืองตรัง
หลังจากนั้น จะมีชุดปฏิบัติการระดับตำบลเข้าไปดูแลความก้าวหน้าของครัวเรือนในการแก้ไขปัญหาความยากจน และรายงานความก้าวหน้าให้คณะกรรมการระดับอำเภอ และจังหวัดทราบเป็นระยะ เพื่อนำไปสู่การปรับแผนบริหารจัดการครัวเรือนในกรณีที่ยังไม่สามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนได้ ให้ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.เหล่านั้น เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ ลดรายจ่ายจนผ่านเกณฑ์นำไปสู่ตรังเมืองแห่งความสุขต่อไป
นายไพบูลย์ บูรณสันติ พัฒนาการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2555 จากทุกครัวเรือนในจังหวัดตรัง พบว่า มีครัวเรือนที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 30,000 บาท/ปี จำนวน 46 ครัวเรือน ใน 5 อำเภอ คือ อ.เมืองตรัง 6 ครัวเรือน อ.ปะเหลียน 1 ครัวเรือน อ.วังวิเศษ 4 ครัวเรือน อ.นาโยง 28 ครัวเรือน และ อ.รัษฎา 7 ครัวเรือน
ซึ่งขณะนี้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้จัดทำโครงการส่งเสริมรายได้ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจระดับครัวเรือนจังหวัดตรัง โดยจัดประชุมให้ความรู้แนวทางการประกอบอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 30,000 บาท จำนวนทั้ง 46 ครัวเรือนดังกล่าว พร้อมศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำควาย ต.นาท่ามเหนือ อ.เมืองตรัง
หลังจากนั้น จะมีชุดปฏิบัติการระดับตำบลเข้าไปดูแลความก้าวหน้าของครัวเรือนในการแก้ไขปัญหาความยากจน และรายงานความก้าวหน้าให้คณะกรรมการระดับอำเภอ และจังหวัดทราบเป็นระยะ เพื่อนำไปสู่การปรับแผนบริหารจัดการครัวเรือนในกรณีที่ยังไม่สามารถยกระดับรายได้ครัวเรือนได้ ให้ครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.เหล่านั้น เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ ลดรายจ่ายจนผ่านเกณฑ์นำไปสู่ตรังเมืองแห่งความสุขต่อไป