ปัตตานี - ก.น.จ. พิจารณาจัดสรรกรอบวงเงินให้จังหวัดปัตตานี 171 ล้านเศษ ขณะที่ประธานหอการค้าปัตตานี เผยภาคเศรษฐกิจในพื้นที่ยังถดถอย รายได้ต่อหัวของประชาชนยังไม่ขยับ ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ประมาณ 120,000 บาท ปัจจุบันเฉลี่ยได้เพียง 60,000 บาทต่อคนต่อปี
วันนี้ (8 พ.ค.) ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 4 ศาลากลาง จ.ปัตตานี นายขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จังหวัดปัตตานี (กรอ.จังหวัดปัตตานี) เพื่อรับทราบแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2557 ของจังหวัดปัตตานี และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการต่างๆ ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานี
โดยที่ประชุมได้รายงานผลการพิจารณาโครงการของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ตามคำของบประมาณของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ประจำปี 2557 ซึ่งจังหวัดปัตตานีได้เสนอโครงการไปจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ ในวงเงินงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท ผลการพิจารณาโครงการของ ก.น.จ.เห็นควรสนับสนุนงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2557 ของจังหวัดปัตตานี รวมทั้งสิ้น 11 โครงการ งบประมาณ 237 ล้านบาทเศษ
ประกอบด้วย โครงการตามตำแหน่งจุดยืนการพัฒนา (Positioning) จำนวน 9 โครงการงบประมาณ 207 ล้านบาทเศษ และโครงการอื่นๆ อีก จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 20 ล้านบาท ในขณะที่ ก.น.จ. ได้จัดสรรกรอบวงเงินให้จังหวัดปัตตานีปีงบประมาณ 2557 อยู่ที่ 171 ล้านบาทเศษ เพื่อรองรับแผนการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด คือ การส่งเสริม และพัฒนาแหล่งผลิตผลทางการเกษตร การสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาล รวมถึงการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ และสร้างงานสร้างรายได้
นายสมศักดิ์ อิสริยะภิญโญ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ภาคเศรษฐกิจถดถอยขาดความเชื่อมั่นในการค้า และการลงทุนรายได้ต่อหัวต่อคนต่อปี ของประชาชนยังต่ำ ไม่แตกต่างกับ 5 ปีที่ผ่านมา คือ ประมาณ 60,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ประมาณ 120,000 บาท และต่ำกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้
สิ่งที่ภาครัฐทำอยู่ขณะนี้ คือ การใส่งบประมาณลงมาในพื้นที่ ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ พร้อมได้เสนอแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ไว้ 4 ข้อ ให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ คือ การเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับนักลงทุน การจัดเตรียมแรงงานที่มีฝีมือ การเตรียมความพร้อมในระบบสาธารณูปโภค และการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
วันนี้ (8 พ.ค.) ที่ห้องประชุม 2 ชั้น 4 ศาลากลาง จ.ปัตตานี นายขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ จังหวัดปัตตานี (กรอ.จังหวัดปัตตานี) เพื่อรับทราบแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2557 ของจังหวัดปัตตานี และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการต่างๆ ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานี
โดยที่ประชุมได้รายงานผลการพิจารณาโครงการของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) ตามคำของบประมาณของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ประจำปี 2557 ซึ่งจังหวัดปัตตานีได้เสนอโครงการไปจำนวนทั้งสิ้น 15 โครงการ ในวงเงินงบประมาณ 300 กว่าล้านบาท ผลการพิจารณาโครงการของ ก.น.จ.เห็นควรสนับสนุนงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 2557 ของจังหวัดปัตตานี รวมทั้งสิ้น 11 โครงการ งบประมาณ 237 ล้านบาทเศษ
ประกอบด้วย โครงการตามตำแหน่งจุดยืนการพัฒนา (Positioning) จำนวน 9 โครงการงบประมาณ 207 ล้านบาทเศษ และโครงการอื่นๆ อีก จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 20 ล้านบาท ในขณะที่ ก.น.จ. ได้จัดสรรกรอบวงเงินให้จังหวัดปัตตานีปีงบประมาณ 2557 อยู่ที่ 171 ล้านบาทเศษ เพื่อรองรับแผนการพัฒนายุทธศาสตร์จังหวัด คือ การส่งเสริม และพัฒนาแหล่งผลิตผลทางการเกษตร การสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาล รวมถึงการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ และสร้างงานสร้างรายได้
นายสมศักดิ์ อิสริยะภิญโญ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ภาคเศรษฐกิจถดถอยขาดความเชื่อมั่นในการค้า และการลงทุนรายได้ต่อหัวต่อคนต่อปี ของประชาชนยังต่ำ ไม่แตกต่างกับ 5 ปีที่ผ่านมา คือ ประมาณ 60,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ประมาณ 120,000 บาท และต่ำกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้
สิ่งที่ภาครัฐทำอยู่ขณะนี้ คือ การใส่งบประมาณลงมาในพื้นที่ ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ พร้อมได้เสนอแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ไว้ 4 ข้อ ให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ คือ การเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับนักลงทุน การจัดเตรียมแรงงานที่มีฝีมือ การเตรียมความพร้อมในระบบสาธารณูปโภค และการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้