(หมายเหตุ : หรินทร์ สุขวัจน์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว รับมอบหมายจากมูลนิธิเด็ก เชื้อเชิญศิลปินไทยบริจาคผลงานให้มูลนิธิแซนโทส ประเทศอิตาลี เพื่อจัดนิทรรศการศิลปะ ณ กรุงโรม ระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2555 เงินรายได้มอบให้แก่มูลนิธิเด็กเพื่อ โครงการสร้างโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก 2 จังหวัดกาญจนบุรี)
ช่วงสั้นๆ 10 วัน ที่โรม 1 วัน ที่ฟลอเรนซ์ ผมพบว่าประเทศอดีตจักรวรรดิที่มีอารยธรรมที่ยืนยงส่งผลสะเทือนแก่โลกอย่างยาวนานที่สุดแห่งนี้ หนีกฎแห่งอนิจลักษณ์ไม่พ้น พร้อมกันนั้น ประสบการณ์กับมหานครที่เคยรุ่งเรือง และผู้คนที่เคยไพศาลที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้เพิ่มพูนความรู้ และความทรงจำแก่ผมไม่น้อย โดยเฉพาะความสนใจให้ค่าแก่งานจิตรกรรมไทยของคนอิตาลีต่อผลงาน 23 ศิลปินไทยที่ไปแสดง แม้ว่าภาระงานที่ได้รับมอบยังไม่เสร็จสิ้นก็ตาม
ไฮไลต์ของผมคือ การได้ไปฟลอเรนซ์ ได้เยี่ยมคำนับมหาวิทยาลัยศิลปะที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ปรมาจารย์ผู้สถาปนาองค์ความรู้ศิลปกรรมร่วมสมัยขึ้นในเมืองไทยเมื่อ 70 ปีที่แล้ว
กลางปี 2555 นั้น เศรษฐกิจยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ร่วมใช้เงินสกุลเดียวกัน หรือยูโรโซน ยังมีปัญหาทรงๆ ทรุดๆ อยู่ หลังจากไอร์แลนด์ กรีซ โปรตุเกส ต้องยอมยกธงขาวให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้าช่วยเหลือ และควบคุมระบบการเงิน (ซึ่งสะเทือนถึงวิถีชีวิตที่เคยชินของผู้คน) ขณะที่สเปน และอิตาลีกำลังเข้าด้ายเข้าเข็มว่าจะตามเพื่อน 3 ประเทศไปหรือไม่ (ผมพบขอทานในละแวกอพาร์ตเมนต์ที่พักกลางโรม 3 ครั้ง หน้าโบสถ์ ริมถนน และหน้าประตูสำนักงานตำรวจสถานที่จัดงาน)
การเตรียมการจัดนิทรรศการที่โรม ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า จึงมีความไม่แน่นอน เพราะผู้จัดฝ่ายไทยมองว่า ปากท้องต้องมาก่อน งานศิลปะนั้นไม่น่าจะ “กินได้” แต่อกาติโนแห่งแซนโทสยืนยันจะจัดตามแผนงาน ผลคืองานขายได้น้อยกว่าครั้งแรกมาก แม้จะจัดการประมูลในวันแรก ซึ่งประเดิมภาพแรกโดยเอกอัครราชทูตไทยประจำอิตาลี ประธานในพิธีเปิดงานก็ตาม อย่างไรก็ดี อกาติโนยังมีแก่ใจรับจะหาทางขายภาพต่อไป และจะพยายามขายให้หมด
หลังประมูลในวันแรก นิทรรศการจัดต่ออีก 8 วัน ถึงวันที่ 27 มิถุนายน ตลอด 8 วันมีการเสวนาระหว่างแม่แอ๊ว-รัชนี กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายอิตาลี 3 ครั้ง ว่าด้วยโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก การศึกษาทางเลือก และปัญหาเยาวชน การเสวนาใช้เวลาพอสมควร มีการเสนอข้อมูลสถิติ ถกเถียง แสดงวิดีทัศน์ และสไลด์ประกอบ มีการทำข่าวออกสื่อ และแน่นอนมีการขายภาพได้ทุกครั้ง หวังว่าในยามผจญปัญหาปากท้อง คนอิตาลีจะฉุกคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคมว่าด้วยเยาวชน จนอาจเกิดการแปรเป็นการปฏิบัติได้ไม่มากก็น้อยต่อไป
ชิ้นงานศิลปะที่แสดงคือ ผลงานของศิลปินไทยชั้นนำ หลายคนเคยไปแสดงงานในต่างประเทศ บางคนสามารถขายผลงานให้ชาวตะวันตกมาไม่น้อย แม้เป็นงานชิ้นไม่ใหญ่ โดยภาพวาดส่วนใหญ่เป็นแนวอิมเพรสชันนิสม์ มีโมเดิร์นบ้าง เซอเรียลิสม์บ้าง แอ็บสแตร็กก็มี งานภาพถ่ายขาวดำก็เป็นแบบพิศเจริญ (Piclorial Photographs) ซึ่งเทียบกับพัฒนาการของภาพจิตรกรรมตะวันตกแล้ว ก็นับว่าล่าช้ากว่าเขาหลายช่วงสมัยก็ตาม
แต่ด้วยหัวใจของนิทรรศการศิลปะนี้คือ ความช่วยเหลือแก่เด็กผู้ด้อยโอกาสจากประเทศกำลังพัฒนา และผู้มางานส่วนใหญ่ทราบดีถึงงานเพื่อเด็กผู้ด้อยโอกาส และกิจกรรมของแซนโทส ภาพจึงพอขายได้บ้าง แต่สำคัญกว่านั้น ผมและเพื่อนศิลปินยังรอคอยเสียงสะท้อนจากผู้คน และสื่อในโรม ซึ่งหวังว่าจะเกิดขึ้น และอกาติโนจะช่วยแจ้งมายังเราตามที่ขอไว้
ชุดบทความจึงจบลงเพียงนี้ เมื่อไรที่ได้ข่าวความเห็นต่องานจิตรกรรมไทยจากโรม ผมจะเขียนมาอีกนะครับ.
ช่วงสั้นๆ 10 วัน ที่โรม 1 วัน ที่ฟลอเรนซ์ ผมพบว่าประเทศอดีตจักรวรรดิที่มีอารยธรรมที่ยืนยงส่งผลสะเทือนแก่โลกอย่างยาวนานที่สุดแห่งนี้ หนีกฎแห่งอนิจลักษณ์ไม่พ้น พร้อมกันนั้น ประสบการณ์กับมหานครที่เคยรุ่งเรือง และผู้คนที่เคยไพศาลที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้เพิ่มพูนความรู้ และความทรงจำแก่ผมไม่น้อย โดยเฉพาะความสนใจให้ค่าแก่งานจิตรกรรมไทยของคนอิตาลีต่อผลงาน 23 ศิลปินไทยที่ไปแสดง แม้ว่าภาระงานที่ได้รับมอบยังไม่เสร็จสิ้นก็ตาม
ไฮไลต์ของผมคือ การได้ไปฟลอเรนซ์ ได้เยี่ยมคำนับมหาวิทยาลัยศิลปะที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ปรมาจารย์ผู้สถาปนาองค์ความรู้ศิลปกรรมร่วมสมัยขึ้นในเมืองไทยเมื่อ 70 ปีที่แล้ว
กลางปี 2555 นั้น เศรษฐกิจยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ร่วมใช้เงินสกุลเดียวกัน หรือยูโรโซน ยังมีปัญหาทรงๆ ทรุดๆ อยู่ หลังจากไอร์แลนด์ กรีซ โปรตุเกส ต้องยอมยกธงขาวให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเข้าช่วยเหลือ และควบคุมระบบการเงิน (ซึ่งสะเทือนถึงวิถีชีวิตที่เคยชินของผู้คน) ขณะที่สเปน และอิตาลีกำลังเข้าด้ายเข้าเข็มว่าจะตามเพื่อน 3 ประเทศไปหรือไม่ (ผมพบขอทานในละแวกอพาร์ตเมนต์ที่พักกลางโรม 3 ครั้ง หน้าโบสถ์ ริมถนน และหน้าประตูสำนักงานตำรวจสถานที่จัดงาน)
การเตรียมการจัดนิทรรศการที่โรม ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปีก่อนหน้า จึงมีความไม่แน่นอน เพราะผู้จัดฝ่ายไทยมองว่า ปากท้องต้องมาก่อน งานศิลปะนั้นไม่น่าจะ “กินได้” แต่อกาติโนแห่งแซนโทสยืนยันจะจัดตามแผนงาน ผลคืองานขายได้น้อยกว่าครั้งแรกมาก แม้จะจัดการประมูลในวันแรก ซึ่งประเดิมภาพแรกโดยเอกอัครราชทูตไทยประจำอิตาลี ประธานในพิธีเปิดงานก็ตาม อย่างไรก็ดี อกาติโนยังมีแก่ใจรับจะหาทางขายภาพต่อไป และจะพยายามขายให้หมด
หลังประมูลในวันแรก นิทรรศการจัดต่ออีก 8 วัน ถึงวันที่ 27 มิถุนายน ตลอด 8 วันมีการเสวนาระหว่างแม่แอ๊ว-รัชนี กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายอิตาลี 3 ครั้ง ว่าด้วยโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก การศึกษาทางเลือก และปัญหาเยาวชน การเสวนาใช้เวลาพอสมควร มีการเสนอข้อมูลสถิติ ถกเถียง แสดงวิดีทัศน์ และสไลด์ประกอบ มีการทำข่าวออกสื่อ และแน่นอนมีการขายภาพได้ทุกครั้ง หวังว่าในยามผจญปัญหาปากท้อง คนอิตาลีจะฉุกคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคมว่าด้วยเยาวชน จนอาจเกิดการแปรเป็นการปฏิบัติได้ไม่มากก็น้อยต่อไป
ชิ้นงานศิลปะที่แสดงคือ ผลงานของศิลปินไทยชั้นนำ หลายคนเคยไปแสดงงานในต่างประเทศ บางคนสามารถขายผลงานให้ชาวตะวันตกมาไม่น้อย แม้เป็นงานชิ้นไม่ใหญ่ โดยภาพวาดส่วนใหญ่เป็นแนวอิมเพรสชันนิสม์ มีโมเดิร์นบ้าง เซอเรียลิสม์บ้าง แอ็บสแตร็กก็มี งานภาพถ่ายขาวดำก็เป็นแบบพิศเจริญ (Piclorial Photographs) ซึ่งเทียบกับพัฒนาการของภาพจิตรกรรมตะวันตกแล้ว ก็นับว่าล่าช้ากว่าเขาหลายช่วงสมัยก็ตาม
แต่ด้วยหัวใจของนิทรรศการศิลปะนี้คือ ความช่วยเหลือแก่เด็กผู้ด้อยโอกาสจากประเทศกำลังพัฒนา และผู้มางานส่วนใหญ่ทราบดีถึงงานเพื่อเด็กผู้ด้อยโอกาส และกิจกรรมของแซนโทส ภาพจึงพอขายได้บ้าง แต่สำคัญกว่านั้น ผมและเพื่อนศิลปินยังรอคอยเสียงสะท้อนจากผู้คน และสื่อในโรม ซึ่งหวังว่าจะเกิดขึ้น และอกาติโนจะช่วยแจ้งมายังเราตามที่ขอไว้
ชุดบทความจึงจบลงเพียงนี้ เมื่อไรที่ได้ข่าวความเห็นต่องานจิตรกรรมไทยจากโรม ผมจะเขียนมาอีกนะครับ.