ระนอง - ชาวบ้าน ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง รวมกลุ่มร่วมอนุรักษ์เป็ดพื้นเมือง “พันธุ์บ้านนา” ที่ใกล้สูญพันธุ์ เผยพบแห่งเดียวในประเทศที่ ต.บ้านบา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ปศุสัตว์เร่งส่งเสริมชาวบ้านเพิ่มพื้นที่เลี้ยง
นางยุพา คงกระพันธ์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ประจำถิ่น “เป็ดบ้านนา” เปิดเผยว่า ชาวบ้าน ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีความเป็นห่วงเรื่องของการลดลงของเป็ดพันธุ์พื้นเมือง “เป็ดบ้านนา” และเกรงเป็ดพื้นเมืองจะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากเป็นเป็ดพันธุ์พื้นเมืองที่พบแห่งเดียวของประเทศที่มีความแตกต่างจากเป็ดทั่วไป จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมอนุรักษ์ และขยายพันธุ์เป็ดบ้านนาให้คงอยู่ประจำถิ่นต่อไป
นางยุพา กล่าวต่อว่า ลักษณะของเป็ดบ้านนาจะมีลักษณะเหมือนเป็ดบ้านผสมกับเป็ดป่า โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระนอง ได้พิสูจน์โดยนำสายพันธุ์เป็ดจากทั่วประเทศมาเปรียบเทียบพบว่า เป็นสายพันธุ์ที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะเด่นของเป็ดบ้านนาปากมีสีส้ม ปีกมีสีแกมน้ำเงิน หางงอนขึ้น ตัวเมียจะเป็นสีกากีคล้ายเป็ดป่า ส่วนตัวผู้ส่วนหัวจะมีสีเขียวแพรสวยงาม ทั้งนี้ ยังมีสร้อยวงแหวนรอบคอเป็นสีขาว เป็ดบ้านนาสามารถบริโภคได้ทั้งเนื้อ และไข่ โดยเนื้อจะมีจุดเด่นคือ ความนุ่มจะไม่เหนียวเหมือนเป็ดทั่วไป ดังนั้น ราคาซื้อขายจะแพงตกตัวละ 350-400 บาทต่อตัว
นางยุพา กล่าวต่อว่า เป็ดพันธุ์บ้านนาเป็นเป็ดที่ได้รับความอนุเคราะห์จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงมีนโยบายให้อนุรักษ์ และขยายพันธุ์ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฏร ต.บ้านนา เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา
นางยุพา กล่าวต่อว่า กลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ประจำถิ่นเป็ดบ้านนา ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 14 คน มีเป็ดพันธุ์บ้านนารวมกว่า 400 ตัว และทางกลุ่มกำลังเร่งขยายพันธุ์เพิ่ม และเปิดรับสมาชิกกลุ่มที่สนใจเพิ่ม เพื่อร่วมขยายพันธุ์ และอนุรักษ์เป็ดพันธุ์บ้านนาให้คงอยู่ประจำถิ่น ต.บ้านนา ต่อไป โดยสมาชิกกลุ่มที่จะเข้ามาร่วมกลุ่มจะต้องเป็นบุคคลที่พร้อมให้ความร่วมมือกับกลุ่ม ทั้งยังมีความชอบในสัตว์เลี้ยงประเภทเป็ด ที่สำคัญ ห้ามนำเป็ดพันธุ์อื่นมาเลี้ยงร่วมเพราะอาจทำให้เป็ดบ้านนากลายพันธุ์ได้
นายเกษตร สุวรรณเพชร ปศุสัตว์จังหวัดระนอง กล่าวว่า เป็ดพันธุ์บ้านนาถือเป็นเป็ดเฉพาะถิ่นของ ต.บ้านนา และเป็นเป็ดสายพันธุ์หายากชนิดหนึ่งของประเทศ ทั้งยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวพบมีการเลี้ยงมากที่ ม.1 และ ม.2 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ แต่ได้ลดจำนวนลงในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรหันไปให้ความสำคัญกับการทำสวน โดยทางสำนักงานปศุสัตว์มีแผนที่จะเพาะขยายพันธุ์เป็ดพันธุ์บ้านนาเพิ่ม และจะขยายพื้นที่เลี้ยงไปยังพื้นที่ใกล้เคียงประกอบด้วย ม.7 และ ม.8 ต.บ้านนา อีกด้วย
นางยุพา คงกระพันธ์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ประจำถิ่น “เป็ดบ้านนา” เปิดเผยว่า ชาวบ้าน ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีความเป็นห่วงเรื่องของการลดลงของเป็ดพันธุ์พื้นเมือง “เป็ดบ้านนา” และเกรงเป็ดพื้นเมืองจะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากเป็นเป็ดพันธุ์พื้นเมืองที่พบแห่งเดียวของประเทศที่มีความแตกต่างจากเป็ดทั่วไป จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อร่วมอนุรักษ์ และขยายพันธุ์เป็ดบ้านนาให้คงอยู่ประจำถิ่นต่อไป
นางยุพา กล่าวต่อว่า ลักษณะของเป็ดบ้านนาจะมีลักษณะเหมือนเป็ดบ้านผสมกับเป็ดป่า โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระนอง ได้พิสูจน์โดยนำสายพันธุ์เป็ดจากทั่วประเทศมาเปรียบเทียบพบว่า เป็นสายพันธุ์ที่ไม่เหมือนใคร ลักษณะเด่นของเป็ดบ้านนาปากมีสีส้ม ปีกมีสีแกมน้ำเงิน หางงอนขึ้น ตัวเมียจะเป็นสีกากีคล้ายเป็ดป่า ส่วนตัวผู้ส่วนหัวจะมีสีเขียวแพรสวยงาม ทั้งนี้ ยังมีสร้อยวงแหวนรอบคอเป็นสีขาว เป็ดบ้านนาสามารถบริโภคได้ทั้งเนื้อ และไข่ โดยเนื้อจะมีจุดเด่นคือ ความนุ่มจะไม่เหนียวเหมือนเป็ดทั่วไป ดังนั้น ราคาซื้อขายจะแพงตกตัวละ 350-400 บาทต่อตัว
นางยุพา กล่าวต่อว่า เป็ดพันธุ์บ้านนาเป็นเป็ดที่ได้รับความอนุเคราะห์จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงมีนโยบายให้อนุรักษ์ และขยายพันธุ์ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฏร ต.บ้านนา เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา
นางยุพา กล่าวต่อว่า กลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์สัตว์ประจำถิ่นเป็ดบ้านนา ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 14 คน มีเป็ดพันธุ์บ้านนารวมกว่า 400 ตัว และทางกลุ่มกำลังเร่งขยายพันธุ์เพิ่ม และเปิดรับสมาชิกกลุ่มที่สนใจเพิ่ม เพื่อร่วมขยายพันธุ์ และอนุรักษ์เป็ดพันธุ์บ้านนาให้คงอยู่ประจำถิ่น ต.บ้านนา ต่อไป โดยสมาชิกกลุ่มที่จะเข้ามาร่วมกลุ่มจะต้องเป็นบุคคลที่พร้อมให้ความร่วมมือกับกลุ่ม ทั้งยังมีความชอบในสัตว์เลี้ยงประเภทเป็ด ที่สำคัญ ห้ามนำเป็ดพันธุ์อื่นมาเลี้ยงร่วมเพราะอาจทำให้เป็ดบ้านนากลายพันธุ์ได้
นายเกษตร สุวรรณเพชร ปศุสัตว์จังหวัดระนอง กล่าวว่า เป็ดพันธุ์บ้านนาถือเป็นเป็ดเฉพาะถิ่นของ ต.บ้านนา และเป็นเป็ดสายพันธุ์หายากชนิดหนึ่งของประเทศ ทั้งยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวพบมีการเลี้ยงมากที่ ม.1 และ ม.2 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ แต่ได้ลดจำนวนลงในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรหันไปให้ความสำคัญกับการทำสวน โดยทางสำนักงานปศุสัตว์มีแผนที่จะเพาะขยายพันธุ์เป็ดพันธุ์บ้านนาเพิ่ม และจะขยายพื้นที่เลี้ยงไปยังพื้นที่ใกล้เคียงประกอบด้วย ม.7 และ ม.8 ต.บ้านนา อีกด้วย