ตรัง - ประธานชมรมรถตุ๊กตุ๊กเมืองตรัง ห่วงจะสูญพันธุ์ หลังเจอปัญหารุมเร้าในหลายด้าน จนเหลือรถเพียงแค่ 200 คันแล้ว และถูกกว้านซื้อเพื่อนำไปใช้ในเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง
นายยี่เค้ง วงศ์สัมพันธ์ ประธานชมรมผู้ประกอบการรถสามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊ก จังหวัดตรัง กล่าวว่า รถสามล้อเมืองตรัง ถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่สำคัญ ซึ่งอยู่เคียงข้างกับประชาชน และนักท่องเที่ยวมายาวนานแล้ว นับตั้งแต่มีการนำเข้ามาวางขายในประเทศไทย ยุคสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2502 กระทั่งมาถึงยุคสมัยที่จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่ารถสามล้อชนิดนี้ ซึ่งนิยมเรียกกันว่ารถหัวกบญี่ปุ่น มีมากถึง 5 พันคันแล้ว จึงสั่งห้ามนำเข้ามาอีก โดยรถสามล้อเหล่านี้ได้กระจายไปอยู่ตามจังหวัดต่างๆ รวมทั้งจังหวัดตรัง ซึ่งเคยมีจำนวนถึง 550 คัน
อย่างไรก็ตาม ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผู้คนจึงหันไปให้ความนิยมรถรับจ้างประเภทอื่นแทน เช่น รถจักรยานยนต์ หรือรถสองแถว รวมทั้งยังมีการซื้อรถส่วนตัวมาใช้ขับขี่กันมากขึ้น ทำให้รถสามล้อเมืองตรัง ได้รับความนิยมลดน้อยลงเรื่อยๆ จนขณะนี้ มีจำนวนเหลือแค่ประมาณ 200 คันเท่านั้น และหากไม่เร่งหาทางอนุรักษ์กันอย่างจริงๆ จังๆ อีกไม่นานก็อาจจะหายไปจากจังหวัดตรัง เพราะเริ่มมีการเข้ากว้านซื้อเพื่อนำไปใช้ในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง เช่น อยุธยา หรือเกาะสมุย เพื่อบริการรับส่งนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสความเป็นธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 53 ปีที่แล้วพบว่า รถสามล้อเมืองตรัง จะมีราคาแค่เพียงคันละ 1-2 หมื่นบาท และใช้เครื่องยนต์ขนาดแค่ 1 สูบ จึงวิ่งไปได้ค่อนข้างช้า แต่ปัจจุบัน ได้มีการนำไปปรับปรุงให้เป็นขนาด 2 สูบ และตกแต่งให้เกิดความสวยงามจนน่าโดยสารมากยิ่งขึ้น จนราคาขยับตัวสูงเป็นคันละ 120,000 บาทแล้ว หรือจากเดิมที่เคยเปิดให้เช่าเพื่อนำไปขับขี่หารายได้ กลับกลายมาเป็นเจ้าของเองทั้งหมดแล้ว และขับรถสามล้อเป็นเพียงการหารายได้เสริม เพราะท่ามกลางภาวะการแข่งขันของธุรกิจรถโดยสาร และภาวะของต้นทุนต่างๆ ที่สูงขึ้น จึงทำให้รถสามล้อหลายคันต้องยอมที่จะจอดนิ่ง
โดยขณะนี้ต้นทุนที่มีผลกระทบมากที่สุดก็คือ ค่าน้ำมัน ซึ่งในสมัยก่อนที่ยังมีราคาแค่ลิตรละ 1.80 บาท รถสามล้อสามารถวิ่งวนไปมารอบตัวเมืองตรังได้อย่างสบาย ทั้งนี้ วันหนึ่งๆ จ่ายค่าน้ำมัน และค่าอื่นๆ ประมาณ 30 บาท แต่เก็บค่าโดยสารได้ 100 บาท ก็อยู่สบายแล้ว ต่างกับวันนี้ที่ค่าน้ำมันอยู่ที่ลิตรละเกือบ 40 บาท ขณะที่ค่าโดยสารจะไปเก็บเท่ากับรถอื่นก็อยู่ไม่ได้ แต่หากเก็บแพงกว่าก็ไม่มีใครอยากโดยสาร แถมจะให้วิ่งให้เร็วทันใจเหมือนรถอื่นก็คงยาก จึงต้องหันมาวิ่งเฉพาะช่วงที่มีผู้คนมากๆ หลังจากนั้น ต้องยอมไปจอดอยู่ตามหน้าตลาด ธนาคาร หรือห้างสรรพสินค้า แต่จะให้วิ่งวนไปมารอบเมืองตรังคงไม่ได้อีกแล้ว
นายยี่เค้ง วงศ์สัมพันธ์ ประธานชมรมผู้ประกอบการรถสามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊ก จังหวัดตรัง กล่าวว่า รถสามล้อเมืองตรัง ถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่สำคัญ ซึ่งอยู่เคียงข้างกับประชาชน และนักท่องเที่ยวมายาวนานแล้ว นับตั้งแต่มีการนำเข้ามาวางขายในประเทศไทย ยุคสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2502 กระทั่งมาถึงยุคสมัยที่จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่ารถสามล้อชนิดนี้ ซึ่งนิยมเรียกกันว่ารถหัวกบญี่ปุ่น มีมากถึง 5 พันคันแล้ว จึงสั่งห้ามนำเข้ามาอีก โดยรถสามล้อเหล่านี้ได้กระจายไปอยู่ตามจังหวัดต่างๆ รวมทั้งจังหวัดตรัง ซึ่งเคยมีจำนวนถึง 550 คัน
อย่างไรก็ตาม ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผู้คนจึงหันไปให้ความนิยมรถรับจ้างประเภทอื่นแทน เช่น รถจักรยานยนต์ หรือรถสองแถว รวมทั้งยังมีการซื้อรถส่วนตัวมาใช้ขับขี่กันมากขึ้น ทำให้รถสามล้อเมืองตรัง ได้รับความนิยมลดน้อยลงเรื่อยๆ จนขณะนี้ มีจำนวนเหลือแค่ประมาณ 200 คันเท่านั้น และหากไม่เร่งหาทางอนุรักษ์กันอย่างจริงๆ จังๆ อีกไม่นานก็อาจจะหายไปจากจังหวัดตรัง เพราะเริ่มมีการเข้ากว้านซื้อเพื่อนำไปใช้ในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง เช่น อยุธยา หรือเกาะสมุย เพื่อบริการรับส่งนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสความเป็นธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 53 ปีที่แล้วพบว่า รถสามล้อเมืองตรัง จะมีราคาแค่เพียงคันละ 1-2 หมื่นบาท และใช้เครื่องยนต์ขนาดแค่ 1 สูบ จึงวิ่งไปได้ค่อนข้างช้า แต่ปัจจุบัน ได้มีการนำไปปรับปรุงให้เป็นขนาด 2 สูบ และตกแต่งให้เกิดความสวยงามจนน่าโดยสารมากยิ่งขึ้น จนราคาขยับตัวสูงเป็นคันละ 120,000 บาทแล้ว หรือจากเดิมที่เคยเปิดให้เช่าเพื่อนำไปขับขี่หารายได้ กลับกลายมาเป็นเจ้าของเองทั้งหมดแล้ว และขับรถสามล้อเป็นเพียงการหารายได้เสริม เพราะท่ามกลางภาวะการแข่งขันของธุรกิจรถโดยสาร และภาวะของต้นทุนต่างๆ ที่สูงขึ้น จึงทำให้รถสามล้อหลายคันต้องยอมที่จะจอดนิ่ง
โดยขณะนี้ต้นทุนที่มีผลกระทบมากที่สุดก็คือ ค่าน้ำมัน ซึ่งในสมัยก่อนที่ยังมีราคาแค่ลิตรละ 1.80 บาท รถสามล้อสามารถวิ่งวนไปมารอบตัวเมืองตรังได้อย่างสบาย ทั้งนี้ วันหนึ่งๆ จ่ายค่าน้ำมัน และค่าอื่นๆ ประมาณ 30 บาท แต่เก็บค่าโดยสารได้ 100 บาท ก็อยู่สบายแล้ว ต่างกับวันนี้ที่ค่าน้ำมันอยู่ที่ลิตรละเกือบ 40 บาท ขณะที่ค่าโดยสารจะไปเก็บเท่ากับรถอื่นก็อยู่ไม่ได้ แต่หากเก็บแพงกว่าก็ไม่มีใครอยากโดยสาร แถมจะให้วิ่งให้เร็วทันใจเหมือนรถอื่นก็คงยาก จึงต้องหันมาวิ่งเฉพาะช่วงที่มีผู้คนมากๆ หลังจากนั้น ต้องยอมไปจอดอยู่ตามหน้าตลาด ธนาคาร หรือห้างสรรพสินค้า แต่จะให้วิ่งวนไปมารอบเมืองตรังคงไม่ได้อีกแล้ว