กระบี่ - ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ เผยผลการทดลองนำน้ำมันปาล์มดิบมาผลิตกระแสไฟฟ้าร่วมกับน้ำมันเตา ของโรงไฟฟ้าภาคใต้ จ.กระบี่ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบต่อระบบ
นายสุรพล วงศ์ธัญญกรณ์ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ (จ.กระบี่) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการทดลองเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยน้ำมันปาล์มดิบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จากการทดลองนำน้ำมันปาล์มดิบป้อนเข้าสู่ระบบเชื้อเพลิงของเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ร่วมกับน้ำมันเตา โดยเริ่มทดลองเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา แต่มีปัญหาในเรื่องของระบบ และแก้ไขจนสามารถใช้งานได้ โดยใช้น้ำมันปาล์มไปประมาณ 4,500 ลิตร ผลปรากฎว่า สามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ ในอัตรากำลังการผลิตอยู่ที่ 100-170 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
นายสุรพล เปิดเผยอีกว่า ในการทดลองครั้งนี้เป็นการป้อนน้ำมันปาล์มเข้าสู่ระบบ ร่วมกับน้ำมันเตา ไม่ได้ใช้น้ำมันปาล์มทั้งระบบ โดยเปรียบเทียบกับการทำงานระบบหัวฉีดเครื่องยนต์ที่มีอยู่ จำนวน 24 หัว ใช้น้ำมันปาล์มเป็นชื้อเพลิงเพียง 2 หัว ส่วนที่เหลืออีก 22 หัว จะใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงตามปกติ ซึ่งก็ถือว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ดี ไม่มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ เพียงแต่ต้องมีการปรับปรุงระบบอุ่นมันปาล์ม เพิ่มอุณหภูมิน้ำมันจาก 40 องศา เพิ่มขึ้นเป็น 80 องศา เพื่อให้ระบบการเผาไหม้ทำงานได้ดีขึ้น โดยจะใช้เวลาปรับปรุงระบบอีกประมาณ 45 วัน ก็พร้อมที่จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ
“อย่างไรก็ตาม น้ำมันปาล์มดิบใช้ร่วมกับน้ำมันเตาในการทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าในครั้งนี้ ยังไม่ได้ใช้น้ำมันปาล์มในโครงการระบายสต๊อกน้ำมันปาล์มของรัฐบาล แต่เป็นน้ำมันปาล์มดิบที่ทางโรงไฟฟ้าภาคใต้ซื้อมาใช้ทดลอง จำนวน 1 หมื่นลิตรเท่านั้น ส่วนน้ำมันปาล์ม จำนวน 1 หมื่นตัน หรือประมาณ 10 ล้านลิตร ตามโครงการระบายปาล์มน้ำมันเกินสต๊อกของรัฐบาลนั้น อยู่ระหว่างรอให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดส่งน้ำมันปาล์มดิบเพื่อให้โรงไฟฟ้าดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป” นายสุรพลกล่าว
นายสุรพล วงศ์ธัญญกรณ์ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ (จ.กระบี่) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงผลการทดลองเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยน้ำมันปาล์มดิบ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า จากการทดลองนำน้ำมันปาล์มดิบป้อนเข้าสู่ระบบเชื้อเพลิงของเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ร่วมกับน้ำมันเตา โดยเริ่มทดลองเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา แต่มีปัญหาในเรื่องของระบบ และแก้ไขจนสามารถใช้งานได้ โดยใช้น้ำมันปาล์มไปประมาณ 4,500 ลิตร ผลปรากฎว่า สามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ ในอัตรากำลังการผลิตอยู่ที่ 100-170 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
นายสุรพล เปิดเผยอีกว่า ในการทดลองครั้งนี้เป็นการป้อนน้ำมันปาล์มเข้าสู่ระบบ ร่วมกับน้ำมันเตา ไม่ได้ใช้น้ำมันปาล์มทั้งระบบ โดยเปรียบเทียบกับการทำงานระบบหัวฉีดเครื่องยนต์ที่มีอยู่ จำนวน 24 หัว ใช้น้ำมันปาล์มเป็นชื้อเพลิงเพียง 2 หัว ส่วนที่เหลืออีก 22 หัว จะใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงตามปกติ ซึ่งก็ถือว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ดี ไม่มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของเครื่องยนต์ เพียงแต่ต้องมีการปรับปรุงระบบอุ่นมันปาล์ม เพิ่มอุณหภูมิน้ำมันจาก 40 องศา เพิ่มขึ้นเป็น 80 องศา เพื่อให้ระบบการเผาไหม้ทำงานได้ดีขึ้น โดยจะใช้เวลาปรับปรุงระบบอีกประมาณ 45 วัน ก็พร้อมที่จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ
“อย่างไรก็ตาม น้ำมันปาล์มดิบใช้ร่วมกับน้ำมันเตาในการทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าในครั้งนี้ ยังไม่ได้ใช้น้ำมันปาล์มในโครงการระบายสต๊อกน้ำมันปาล์มของรัฐบาล แต่เป็นน้ำมันปาล์มดิบที่ทางโรงไฟฟ้าภาคใต้ซื้อมาใช้ทดลอง จำนวน 1 หมื่นลิตรเท่านั้น ส่วนน้ำมันปาล์ม จำนวน 1 หมื่นตัน หรือประมาณ 10 ล้านลิตร ตามโครงการระบายปาล์มน้ำมันเกินสต๊อกของรัฐบาลนั้น อยู่ระหว่างรอให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดส่งน้ำมันปาล์มดิบเพื่อให้โรงไฟฟ้าดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป” นายสุรพลกล่าว