ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ชาวภูเก็ตร่วมพิธีไหว้เทวดาเพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต และครอบครัว และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเมืองภูเก็ต รวมทั้งร่วมกันส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นให้คงไว้สืบไป
วานนี้ (17 ก.พ.) ซึ่งเป็นคืนสุดท้ายของการจัดงาน “ตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต” ครั้งที่ 14 และตรงกับวันไหว้เทวดา ทางเทศบาลนครภูเก็ตจึงได้จัดให้มีพิธีไหว้เทวดาขึ้น ณ บริเวณด้านหน้ารูปปั้นพญามังกร (ฮ่ายเหล็งอ๋อง) สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี ทั้งนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต และครอบครัว และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเมืองภูเก็ต รวมทั้งร่วมกันส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นให้คงไว้สืบไป
โดยมี ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นางวิไลวรรณ ทวิชศรี รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ร่วมเป็นประธานในพิธี และนายชาญชัย ดวงจิตต์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต นายธีระวุฒิ ศรีตุลารักษ์ ประธานศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง นายแพทย์โกศล แตงอุทัย นายกสมาคมเพอรานากัน ตลอดจนประธานมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต สภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ประธานชุมชน OLD PHUKET TOWN (ย่านเมืองเก่าภูเก็ต) คณะผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วน พนักงานเทศบาล และประชาชนชาวภูเก็ต รวมถึงนักท่องเที่ยวร่วมในพิธีจำนวนมาก
สำหรับประเพณีไหว้เทวดา เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวภูเก็ต วันไหว้เทวดาจะจัดหลังวันตรุษจีน 9 วัน ตรงกับวัน 9 ค่ำ เดือน 1 ของจีน เป็นการบูชาเทวดา เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข จะตั้งโต๊ะไหว้ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันขึ้น 8 ค่ำ ส่วนใหญ่จะตั้งโต๊ะบริเวณหน้าบ้าน โดยรองขาโต๊ะให้สูงขึ้น การจัดของไหว้ประกอบด้วย ต้นอ้อยที่มีใบ 1 คู่ ขนมเจดีย์น้ำตาล 1 ชุด หลักฉ่าย หรือผัก 6 อย่าง คือ ดอกไม้จีน ฟองเต้าหู้ วุ้นเส้น เห็ดหอม พุทราแดง เห็ดหูหนู นอกจากนี้ ยังมีเส้นหมี่เหลือง หมี่สั่ว
รวมถึงขนมมงคลต่างๆ เช่น ขนมอังกู้ ขนมฮวดโก้ย ขนมบี้โก้ ขนมชั้น ขนมเข่ง ขนมแต่เหลียว (ขนมหลายชนิดใช้รับประทานกับชาจีน) ผลไม้มงคล เช่น สับปะรด ส้ม แอปเปิล แต่บางบ้านจะเพิ่มของไหว้ที่เรียกว่า หง่อเส้ง (ของคาว 5 อย่าง) ประกอบด้วย ไก่ต้มทั้งตัว เนื้อหมูต้มสุก ปูม้านึ่ง ปลาหมึกสุก และกุ้งสุก พร้อมด้วยน้ำชา เหล้า และผลไม้มงคล 5 ชนิด
วานนี้ (17 ก.พ.) ซึ่งเป็นคืนสุดท้ายของการจัดงาน “ตรุษจีน-ย้อนอดีตเมืองภูเก็ต” ครั้งที่ 14 และตรงกับวันไหว้เทวดา ทางเทศบาลนครภูเก็ตจึงได้จัดให้มีพิธีไหว้เทวดาขึ้น ณ บริเวณด้านหน้ารูปปั้นพญามังกร (ฮ่ายเหล็งอ๋อง) สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี ทั้งนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต และครอบครัว และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเมืองภูเก็ต รวมทั้งร่วมกันส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นให้คงไว้สืบไป
โดยมี ดร.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นางวิไลวรรณ ทวิชศรี รองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ร่วมเป็นประธานในพิธี และนายชาญชัย ดวงจิตต์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต นายธีระวุฒิ ศรีตุลารักษ์ ประธานศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง นายแพทย์โกศล แตงอุทัย นายกสมาคมเพอรานากัน ตลอดจนประธานมูลนิธิเมืองเก่าภูเก็ต สภาวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ประธานชุมชน OLD PHUKET TOWN (ย่านเมืองเก่าภูเก็ต) คณะผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าส่วน พนักงานเทศบาล และประชาชนชาวภูเก็ต รวมถึงนักท่องเที่ยวร่วมในพิธีจำนวนมาก
สำหรับประเพณีไหว้เทวดา เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวภูเก็ต วันไหว้เทวดาจะจัดหลังวันตรุษจีน 9 วัน ตรงกับวัน 9 ค่ำ เดือน 1 ของจีน เป็นการบูชาเทวดา เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข จะตั้งโต๊ะไหว้ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันขึ้น 8 ค่ำ ส่วนใหญ่จะตั้งโต๊ะบริเวณหน้าบ้าน โดยรองขาโต๊ะให้สูงขึ้น การจัดของไหว้ประกอบด้วย ต้นอ้อยที่มีใบ 1 คู่ ขนมเจดีย์น้ำตาล 1 ชุด หลักฉ่าย หรือผัก 6 อย่าง คือ ดอกไม้จีน ฟองเต้าหู้ วุ้นเส้น เห็ดหอม พุทราแดง เห็ดหูหนู นอกจากนี้ ยังมีเส้นหมี่เหลือง หมี่สั่ว
รวมถึงขนมมงคลต่างๆ เช่น ขนมอังกู้ ขนมฮวดโก้ย ขนมบี้โก้ ขนมชั้น ขนมเข่ง ขนมแต่เหลียว (ขนมหลายชนิดใช้รับประทานกับชาจีน) ผลไม้มงคล เช่น สับปะรด ส้ม แอปเปิล แต่บางบ้านจะเพิ่มของไหว้ที่เรียกว่า หง่อเส้ง (ของคาว 5 อย่าง) ประกอบด้วย ไก่ต้มทั้งตัว เนื้อหมูต้มสุก ปูม้านึ่ง ปลาหมึกสุก และกุ้งสุก พร้อมด้วยน้ำชา เหล้า และผลไม้มงคล 5 ชนิด