ปัตตานี - เด็กสาวโรฮิงญาที่เบาหวานกำเริบออกจากโรงพยาบาลแล้ว แต่ยังต้องดูแลเรื่องอาหาร และยาอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกัน พบอีก 7 ราย ปวดหัวเพราะบริโภคลองกอง
นายทากร เหมวิเชียร หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ปัตตานี ซึ่งรับผิดชอบดูแลชาวโรฮิงญา จำนวน 22 ราย เปิดเผยถึงความคืบหน้าอาการเด็กสาวชาวโรฮิงญาอายุ 15 ปี ที่ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปัตตานี จากอาการเบาหวานกำเริบอย่างหนักเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ล่าสุด ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวเด็กคนดังกล่าวกลับมาพักยังบ้านพักเด็กฯ แล้ว เพราะมีอาการดีขึ้น แต่ต้องอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งการดูแลเรื่องอาหารการกิน และการรับประทานยารักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอาการกำเริบในอนาคต โดยจากการสันนิษฐานเบื้องต้น คาดว่าเด็กน่าจะเป็นเบาหวานจากกรรมพันธุ์
หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ปัตตานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากกรณีดังกล่าวซึ่งชาวโรฮิงญาที่เป็นโรคเบาหวานทั้งที่มีอายุยังน้อย และชาวโรฮิงญาที่ จ.ปัตตานี ส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ทางบ้านพักเด็กฯ จึงต้องดูแลเรื่องอาหารการกินอย่างใกล้ชิด เพราะปกติชาวโรฮิงญาจะชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด เผ็ดจัด ซึ่งอาจส่งผลต่ออาการเบาหวานในรายอื่นๆ ได้ เพราะในส่วนของครอบครัวเด็กสาวรายดังกล่าว ยังมีพี่น้อง และแม่อยู่รวมด้วยกันอีก 6 ราย
สำหรับสถานการณ์ของชาวโรฮิงญาทั้ง 22 ราย โดยภาพรวมถึงขณะนี้ทั้งหมดมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่ดี แต่ก็มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย จำนวน 7 ราย จากอาการปวดหัว ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากการบริโภคลองกองที่มีผู้มาบริจาคจำนวนมาก ขณะที่ชาวโรฮิงญาไม่เคยกินมาก่อน
นายทากร เหมวิเชียร หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ปัตตานี ซึ่งรับผิดชอบดูแลชาวโรฮิงญา จำนวน 22 ราย เปิดเผยถึงความคืบหน้าอาการเด็กสาวชาวโรฮิงญาอายุ 15 ปี ที่ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปัตตานี จากอาการเบาหวานกำเริบอย่างหนักเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ล่าสุด ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวเด็กคนดังกล่าวกลับมาพักยังบ้านพักเด็กฯ แล้ว เพราะมีอาการดีขึ้น แต่ต้องอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งการดูแลเรื่องอาหารการกิน และการรับประทานยารักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันอาการกำเริบในอนาคต โดยจากการสันนิษฐานเบื้องต้น คาดว่าเด็กน่าจะเป็นเบาหวานจากกรรมพันธุ์
หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ปัตตานี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากกรณีดังกล่าวซึ่งชาวโรฮิงญาที่เป็นโรคเบาหวานทั้งที่มีอายุยังน้อย และชาวโรฮิงญาที่ จ.ปัตตานี ส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ทางบ้านพักเด็กฯ จึงต้องดูแลเรื่องอาหารการกินอย่างใกล้ชิด เพราะปกติชาวโรฮิงญาจะชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัด เผ็ดจัด ซึ่งอาจส่งผลต่ออาการเบาหวานในรายอื่นๆ ได้ เพราะในส่วนของครอบครัวเด็กสาวรายดังกล่าว ยังมีพี่น้อง และแม่อยู่รวมด้วยกันอีก 6 ราย
สำหรับสถานการณ์ของชาวโรฮิงญาทั้ง 22 ราย โดยภาพรวมถึงขณะนี้ทั้งหมดมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่ดี แต่ก็มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย จำนวน 7 ราย จากอาการปวดหัว ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจากการบริโภคลองกองที่มีผู้มาบริจาคจำนวนมาก ขณะที่ชาวโรฮิงญาไม่เคยกินมาก่อน