ตรัง - บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง รับดูแลชาวโรฮิงญาทั้งชาย และหญิง 13 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ รพ.ตรัง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น พบเป็นโรคขาดสารอาหาร และโรคผิวหนัง
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเดินทางมาศึกษาดูงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตรัง ได้เดินทางมาตรวจสุขภาพชาวโรฮิงญา ทั้งชายและหญิง จำนวน 13 คน ซึ่งถูกส่งตัวจากบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.สงขลา มาพักและเยียวยา โดยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 12 คน และผู้ใหญ่ อายุ 40 ปี 1 คน
ทั้งนี้ จากการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และค้นหาโรคซีด โรคขาดสารอาหาร และโรคคอพอก ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ตรวจตา หัวใจ ผิวหนัง และอาการอื่นๆ พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาคันตามลำตัว ข้อพับ โดยบางคนสุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ พุงโร และมีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ซึ่งอาจเข้าข่ายภาวะโรคขาดสารอาหาร ส่วนเด็กบางคนก็มีแผลบาดเจ็บจากการเดินทางเข้าประเทศ นักศึกษาจึงช่วยกันทำแผลให้ใหม่
นอกจากนั้น เด็กผู้หญิงบางคนก็มีเหา และส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก และฟันผุ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตรังจึงได้ให้คำแนะนำเป็นแนวทางแก่เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ตรัง ในการดูแลชาวโรงฮิงญากลุ่มนี้ต่อไป ทั้งนี้ ยังคงมีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับชาวโรฮิงญา ขณะที่การให้ความช่วยเหลือด้านที่พัก และอาหารก็ยังไม่มีกำหนดเวลาที่แน่ชัด ซึ่งต้องรอการประสานจากทาง จ.สงขลา ต่อไป
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเดินทางมาศึกษาดูงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตรัง ได้เดินทางมาตรวจสุขภาพชาวโรฮิงญา ทั้งชายและหญิง จำนวน 13 คน ซึ่งถูกส่งตัวจากบ้านพักเด็กและครอบครัว จ.สงขลา มาพักและเยียวยา โดยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 12 คน และผู้ใหญ่ อายุ 40 ปี 1 คน
ทั้งนี้ จากการตรวจสุขภาพเบื้องต้น และค้นหาโรคซีด โรคขาดสารอาหาร และโรคคอพอก ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ตรวจตา หัวใจ ผิวหนัง และอาการอื่นๆ พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาคันตามลำตัว ข้อพับ โดยบางคนสุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ พุงโร และมีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ซึ่งอาจเข้าข่ายภาวะโรคขาดสารอาหาร ส่วนเด็กบางคนก็มีแผลบาดเจ็บจากการเดินทางเข้าประเทศ นักศึกษาจึงช่วยกันทำแผลให้ใหม่
นอกจากนั้น เด็กผู้หญิงบางคนก็มีเหา และส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก และฟันผุ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลตรังจึงได้ให้คำแนะนำเป็นแนวทางแก่เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัว จ.ตรัง ในการดูแลชาวโรงฮิงญากลุ่มนี้ต่อไป ทั้งนี้ ยังคงมีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับชาวโรฮิงญา ขณะที่การให้ความช่วยเหลือด้านที่พัก และอาหารก็ยังไม่มีกำหนดเวลาที่แน่ชัด ซึ่งต้องรอการประสานจากทาง จ.สงขลา ต่อไป