ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดร้องแม่ทัพภาค 4 คุ้มกันพื้นที่โฉนดชุมชนเขาบรรทัด ผลักดันให้ชะลอการรื้อถอนจนกว่า ครม.มีมติ หลังมีการรื้อถอนแล้วในหลายพื้นที่ หวั่นปะทะเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ส่งผลกระทบความมั่นคง
เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. วันที่ 27 สิงหาคม 2555 ที่กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ประมาณ 20 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ขอให้ชะลอการรื้อถอนพืชผลเกษตร สิ่งปลูกสร้าง และคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน จากนโยบายปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าในภาคใต้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
หนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาว่า สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 กรณีมีการอนุมัติงบประมาณจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าในภาคใต้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นำมาซึ่งการตัดฟันทำลายพืชผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่มีการแยกแยะระหว่างผู้บุกรุกทำลายป่าไม้ กับพื้นที่ทำกินของเกษตรกรซึ่งถูกประกาศเขตป่าอนุรักษ์ทับซ้อน และอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ได้มีปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งสนธิกำลังกว่า 1,500 นาย พร้อมอาวุธปืน มีดพร้า และเครื่องเลื่อยยนต์เข้าไปตัดฟันทำลายต้นยางพาราและพืชผลเกษตรที่ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์, ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต และอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ประมาณ 20 แปลง เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่
จากปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านที่ทำกิน และอยู่อาศัยบริเวณเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สตูล และสงขลา เกิดความเจ็บแค้นไปกับชาวบ้านที่ถูกตัดฟันต้นยางพารา เนื่องจากผู้เสียหายเป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งทำกิน และอยู่อาศัยในชุมชนดั้งเดิม และมีที่ดินรายละไม่มาก ประกอบกับได้มีการปล่อยข่าวว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้จะสนธิกำลังเข้าตัดฟันต้นยางพาราในพื้นที่ต่างๆ ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดผวาว่ากองกำลังดังกล่าวจะเข้ามาตัดฟันต้นยางพารา ชาวบ้านในหลายชุมชนเริ่มใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการปกป้องพื้นที่ จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง และเป็นเงื่อนไขก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงตามมาในอนาคตอันใกล้
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มีสมาชิกในจังหวัดตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ ได้รับผลกระทบเช่นกัน แม้รัฐบาลมีนโยบายโฉนดชุมชน มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 มารองรับการจัดทำโฉนดชุมชน แต่ไม่มีการคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน
โดยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า นำกำลังเข้าตัดฟันต้นยางพารา และพืชผลเกษตรในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู รอยต่ออำเภอนาโยง จังหวัดตรัง กับอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เห็นชอบให้ดำเนินการโฉนดชุมชนแล้ว
วันที่ 6 เมษายน 2555 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า นำกำลังเข้าทำการรื้อถอนทำลายสะพานไม้ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคม รวมทั้งข่มขู่ คุกคามชาวบ้านในพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชนบ้านหาดสูง รอยต่อตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด กับตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สำนักงานโฉนดชุมชนมีหนังสือชะลอการรื้อถอนสะพาน
อีกทั้งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด เข้าจับกุม และแจ้งความดำเนินคดีต่อชาวบ้านในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ขณะนำหมากแห้งจากสวนออกไปขายหลายครั้ง
“เจ้าหน้าที่อุทยานฯ มีการเตรียมการรื้อถอนพืชผลเกษตร และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สมาชิกเครือข่ายฯ หลายชุมชน เครือข่ายฯ จึงข้อให้กองทัพภาคที่ 4 ตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลักดันให้มีการชะลอการรื้อถอนพืชผลเกษตร และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชน และขอคุ้มครองชั่วคราวในพื้นที่ของสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จนกว่ารัฐบาลจะมีมติคณะรัฐมนตรีคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน” หนังสือดังกล่าวระบุ
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้
เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. วันที่ 27 สิงหาคม 2555 ที่กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ประมาณ 20 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ขอให้ชะลอการรื้อถอนพืชผลเกษตร สิ่งปลูกสร้าง และคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน จากนโยบายปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าในภาคใต้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
หนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาว่า สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2555 กรณีมีการอนุมัติงบประมาณจำนวน 50 ล้านบาท เพื่อปราบปรามผู้บุกรุกทำลายป่าในภาคใต้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นำมาซึ่งการตัดฟันทำลายพืชผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่มีการแยกแยะระหว่างผู้บุกรุกทำลายป่าไม้ กับพื้นที่ทำกินของเกษตรกรซึ่งถูกประกาศเขตป่าอนุรักษ์ทับซ้อน และอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ได้มีปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งสนธิกำลังกว่า 1,500 นาย พร้อมอาวุธปืน มีดพร้า และเครื่องเลื่อยยนต์เข้าไปตัดฟันทำลายต้นยางพาราและพืชผลเกษตรที่ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์, ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต และอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ประมาณ 20 แปลง เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่
จากปฏิบัติการดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านที่ทำกิน และอยู่อาศัยบริเวณเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สตูล และสงขลา เกิดความเจ็บแค้นไปกับชาวบ้านที่ถูกตัดฟันต้นยางพารา เนื่องจากผู้เสียหายเป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งทำกิน และอยู่อาศัยในชุมชนดั้งเดิม และมีที่ดินรายละไม่มาก ประกอบกับได้มีการปล่อยข่าวว่าเจ้าหน้าที่ป่าไม้จะสนธิกำลังเข้าตัดฟันต้นยางพาราในพื้นที่ต่างๆ ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดผวาว่ากองกำลังดังกล่าวจะเข้ามาตัดฟันต้นยางพารา ชาวบ้านในหลายชุมชนเริ่มใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการปกป้องพื้นที่ จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง และเป็นเงื่อนไขก่อให้เกิดปัญหาความมั่นคงตามมาในอนาคตอันใกล้
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มีสมาชิกในจังหวัดตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ ได้รับผลกระทบเช่นกัน แม้รัฐบาลมีนโยบายโฉนดชุมชน มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 มารองรับการจัดทำโฉนดชุมชน แต่ไม่มีการคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน
โดยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 หัวหน้าเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า นำกำลังเข้าตัดฟันต้นยางพารา และพืชผลเกษตรในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู รอยต่ออำเภอนาโยง จังหวัดตรัง กับอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เห็นชอบให้ดำเนินการโฉนดชุมชนแล้ว
วันที่ 6 เมษายน 2555 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า นำกำลังเข้าทำการรื้อถอนทำลายสะพานไม้ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคม รวมทั้งข่มขู่ คุกคามชาวบ้านในพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชนบ้านหาดสูง รอยต่อตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด กับตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สำนักงานโฉนดชุมชนมีหนังสือชะลอการรื้อถอนสะพาน
อีกทั้งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด เข้าจับกุม และแจ้งความดำเนินคดีต่อชาวบ้านในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ขณะนำหมากแห้งจากสวนออกไปขายหลายครั้ง
“เจ้าหน้าที่อุทยานฯ มีการเตรียมการรื้อถอนพืชผลเกษตร และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สมาชิกเครือข่ายฯ หลายชุมชน เครือข่ายฯ จึงข้อให้กองทัพภาคที่ 4 ตรวจสอบข้อเท็จจริง และผลักดันให้มีการชะลอการรื้อถอนพืชผลเกษตร และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชน และขอคุ้มครองชั่วคราวในพื้นที่ของสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จนกว่ารัฐบาลจะมีมติคณะรัฐมนตรีคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน” หนังสือดังกล่าวระบุ
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้