ยะลา - รองนายกรัฐมนตรี ยันกลุ่มก่อเหตุรุนแรง 40 คน พร้อมเข้ารายงานตัวต่อทางราชการ แต่ติดเงื่อนไขของกฎหมายโดยเฉพาะ มาตรา 21 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551
เวลา 13.00 น.วันนี้ (10 ส.ค.) ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการชี้แจงและเพื่อลำดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีการบูรณาการ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแผนที่ได้มีการปรับใหม่ เมื่อการประชุมเชิงปฏิบัติการของหน่วยระดับปฏิบัติการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา ให้หน่วยทุกหน่วยที่ปฏิบัติงานมีความเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติ รวมถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเข้มงวดต่อไป
และได้นำแผนการที่ทาง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการไว้มาชี้แจงให้ทราบ รวมถึงเตือนให้หน่วยต่างๆ ในพื้นที่ได้เข้าใจว่าจะต้องมีการระมัดระวัง และตรวจสอบความรุนแรงที่ยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าการตัดกำลัง และการแก้ปัญหาของเราจะดีอย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบก็คงจะยังไม่ลดความรุนแรง โดยจะก่อเหตุต่อไปเพื่อสร้างสถานการณ์ว่าพวกเขายังมีอำนาจ และมีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และหากสถานการณ์ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีการนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุม OIC ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 9 กันยายนนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ได้ นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการชี้แจงในอีกหลายประเด็น เช่น เรื่อง CCTV และการจัดหาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งจะได้สรุปนำเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ต่อไป
การประชุมวันนี้ นับเป็นนิมิตหมายอันดีอย่างยิ่งในการที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป เพราะสิ่งที่ทุกคนต้องการก็คือ ความเป็นเอกภาพของการทำงาน โดยทางผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้ให้สิทธิแก่แม่ทัพภาคที่ 4 ในการที่จะเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในพื้นที่ร่วม ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองก็เช่นเดียวกัน
รองนายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เพิ่มมาตรการเข้มในการดูแลพื้นที่ 7 หัวเมืองเศรษฐกิจ และ 13 พื้นที่เฝ้าระวังว่า ทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้มีการเตรียมแผนในการดำเนินมาตรการในการดูแลพื้นที่ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ปลอดภัย หรือเขตเซฟตี้โซน ทั้งเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ส่วนกรณีที่จะมีกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเข้ามารายงานตัวต่อทางเจ้าหน้าที่จำนวน 40 คนนั้น การประชุมในวันนี้ ก็ได้มีการพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่ติดอยู่ที่เงื่อนไขของการออกมารายงานตัวโดยเฉพาะข้อกฎหมายมาตราที่ 21 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นภายในราชอาณาจักร 2551
เวลา 13.00 น.วันนี้ (10 ส.ค.) ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า การประชุมในครั้งนี้ เป็นการชี้แจงและเพื่อลำดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้มีการบูรณาการ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแผนที่ได้มีการปรับใหม่ เมื่อการประชุมเชิงปฏิบัติการของหน่วยระดับปฏิบัติการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา ให้หน่วยทุกหน่วยที่ปฏิบัติงานมีความเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติ รวมถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเข้มงวดต่อไป
และได้นำแผนการที่ทาง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการไว้มาชี้แจงให้ทราบ รวมถึงเตือนให้หน่วยต่างๆ ในพื้นที่ได้เข้าใจว่าจะต้องมีการระมัดระวัง และตรวจสอบความรุนแรงที่ยังคงมีอยู่ ถึงแม้ว่าการตัดกำลัง และการแก้ปัญหาของเราจะดีอย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบก็คงจะยังไม่ลดความรุนแรง โดยจะก่อเหตุต่อไปเพื่อสร้างสถานการณ์ว่าพวกเขายังมีอำนาจ และมีอิทธิพลอยู่ในพื้นที่
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน และหากสถานการณ์ความรุนแรงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีการนำประเด็นดังกล่าวเข้าที่ประชุม OIC ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 9 กันยายนนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ได้ นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีการชี้แจงในอีกหลายประเด็น เช่น เรื่อง CCTV และการจัดหาเครื่องมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งจะได้สรุปนำเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ต่อไป
การประชุมวันนี้ นับเป็นนิมิตหมายอันดีอย่างยิ่งในการที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป เพราะสิ่งที่ทุกคนต้องการก็คือ ความเป็นเอกภาพของการทำงาน โดยทางผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้ให้สิทธิแก่แม่ทัพภาคที่ 4 ในการที่จะเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในพื้นที่ร่วม ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายปกครองก็เช่นเดียวกัน
รองนายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เพิ่มมาตรการเข้มในการดูแลพื้นที่ 7 หัวเมืองเศรษฐกิจ และ 13 พื้นที่เฝ้าระวังว่า ทางเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้มีการเตรียมแผนในการดำเนินมาตรการในการดูแลพื้นที่ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ปลอดภัย หรือเขตเซฟตี้โซน ทั้งเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ส่วนกรณีที่จะมีกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเข้ามารายงานตัวต่อทางเจ้าหน้าที่จำนวน 40 คนนั้น การประชุมในวันนี้ ก็ได้มีการพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าวเช่นเดียวกัน แต่ติดอยู่ที่เงื่อนไขของการออกมารายงานตัวโดยเฉพาะข้อกฎหมายมาตราที่ 21 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นภายในราชอาณาจักร 2551