ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สมาคมผู้เลี้ยงสุกรใต้โวยปศุสัตว์ ปล่อยให้สุกรนอกพื้นที่เข้าตีตลาดใต้ เดือนละ 1 ล้านกิโลกรัม ทุบผู้เลี้ยงรายย่อย และกลางเดี้ยง ดัมป์ราคาสนุก ลือได้ค่าหัวตัวละ 60 บาท
นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า การเลี้ยงสุกรขณะนี้เกิดขาดภาวะขาดธรรมาภิบาล มีการนำสุกรย้ายข้ามตลาดเข้ามาสู่ภาคใต้ จากการขอโควตาเข้าสู่ จ.ภูเก็ต ในระยะแรกๆ 800 ตัวต่อเดือน ขยับขึ้น 2,500 ตัว และ 5,000 ตัวต่อเดือน และมีการนำเข้า จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช รวมแล้วประมาณกว่า 10,000 ตัวต่อเดือน โดยเฉลี่ยตัวละประมาณ 100 กก. ประมาณกว่า 1 ล้าน กก.ต่อเดือน มูลค่ากว่า 55 ล้านบาท
“โควตาได้ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ รายขนาดเล็ก และขนาดกลาง ทางสมาคมฯ ได้ประกาศราคาอยู่ที่ 65 บาทต่อ กก. แต่ราคาขายเพียง 61-62 บาทต่อ กก. ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพราะถูกสุกรที่นำเข้ามาทำราคาให้ต่ำ”
นายเกรียงศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า สภาวะของสุกรในภาคใต้ ยังมีความเพียงพอต่อการกระจายไปทั่วภาคใต้ ขอเรียกร้องว่า ต้องการการค้าที่มีหลักธรรมาภิบาล มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถาวร รัฐบาลจะต้องออกนโยบายให้ผู้เลี้ยงสุกรลงทะเบียนผู้เลี้ยง และทะเบียนประชากรสุกร เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละภาค และแต่ละจังหวัดอย่างแท้จริง ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และผู้บริโภค
“ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องมาเป็นระลอกๆ ตอนนี้ สุกรจากภาคอื่นๆ เข้ามาโจมตีตลาด โดยนำสุกรเกรดเอบวกเป็นสุกรชั้นคุณภาพที่ดีมาก แล้วมาลดราคาเท่ากับเกรดซี จึงเกิดผลกระทบหนัก ประเด็นนี้ก็จะต้องมีการพูดคุยกัน บรรดาห้างขนาดใหญ่ที่เปิดบริการครบวงจร ที่ได้เข้ามาลงทุนในภาคใต้ กลับยังมีการนำซากสุกรจากต่างภาค เข้ามาจำหน่ายในพื้นที่ ซึ่งแทนที่จะใช้บริการสุกรในพื้นที่ตั้ง หรือในภาคใต้”
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า อนาคตจะมีปัญหากับผู้เลี้ยงสุกรรายขนาดเล็ก รายขนาดย่อย เกิดขึ้นอีก เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเปิดในปี 2558 ให้รัฐบาลเร่งนโยบายสนับสนุน โดยเฉพาะ โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกรอย่างเร่งด่วน หากยังนิ่งเฉย ผู้เลี้ยงสุกรรายกลาง รายขนาดเล็ก จะประสบปัญหาขาดทุน และเลิกอาชีพไปในที่สุด
แหล่งข่าวจากกรรมการสมาคมฯ เปิดเผยว่า สุกรที่ขนย้ายเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ตามโควตาที่ทางปศุสัตว์อนุญาต มีบางกลุ่มทำการสวมสิทธิส่งเกินโควตา มีบุคคลบางกลุ่มได้รับค่าตอบแทนตัวละ 60 บาท
นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า การเลี้ยงสุกรขณะนี้เกิดขาดภาวะขาดธรรมาภิบาล มีการนำสุกรย้ายข้ามตลาดเข้ามาสู่ภาคใต้ จากการขอโควตาเข้าสู่ จ.ภูเก็ต ในระยะแรกๆ 800 ตัวต่อเดือน ขยับขึ้น 2,500 ตัว และ 5,000 ตัวต่อเดือน และมีการนำเข้า จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช รวมแล้วประมาณกว่า 10,000 ตัวต่อเดือน โดยเฉลี่ยตัวละประมาณ 100 กก. ประมาณกว่า 1 ล้าน กก.ต่อเดือน มูลค่ากว่า 55 ล้านบาท
“โควตาได้ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ รายขนาดเล็ก และขนาดกลาง ทางสมาคมฯ ได้ประกาศราคาอยู่ที่ 65 บาทต่อ กก. แต่ราคาขายเพียง 61-62 บาทต่อ กก. ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต เพราะถูกสุกรที่นำเข้ามาทำราคาให้ต่ำ”
นายเกรียงศักดิ์ เปิดเผยอีกว่า สภาวะของสุกรในภาคใต้ ยังมีความเพียงพอต่อการกระจายไปทั่วภาคใต้ ขอเรียกร้องว่า ต้องการการค้าที่มีหลักธรรมาภิบาล มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถาวร รัฐบาลจะต้องออกนโยบายให้ผู้เลี้ยงสุกรลงทะเบียนผู้เลี้ยง และทะเบียนประชากรสุกร เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละภาค และแต่ละจังหวัดอย่างแท้จริง ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และผู้บริโภค
“ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องมาเป็นระลอกๆ ตอนนี้ สุกรจากภาคอื่นๆ เข้ามาโจมตีตลาด โดยนำสุกรเกรดเอบวกเป็นสุกรชั้นคุณภาพที่ดีมาก แล้วมาลดราคาเท่ากับเกรดซี จึงเกิดผลกระทบหนัก ประเด็นนี้ก็จะต้องมีการพูดคุยกัน บรรดาห้างขนาดใหญ่ที่เปิดบริการครบวงจร ที่ได้เข้ามาลงทุนในภาคใต้ กลับยังมีการนำซากสุกรจากต่างภาค เข้ามาจำหน่ายในพื้นที่ ซึ่งแทนที่จะใช้บริการสุกรในพื้นที่ตั้ง หรือในภาคใต้”
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า อนาคตจะมีปัญหากับผู้เลี้ยงสุกรรายขนาดเล็ก รายขนาดย่อย เกิดขึ้นอีก เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเปิดในปี 2558 ให้รัฐบาลเร่งนโยบายสนับสนุน โดยเฉพาะ โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกรอย่างเร่งด่วน หากยังนิ่งเฉย ผู้เลี้ยงสุกรรายกลาง รายขนาดเล็ก จะประสบปัญหาขาดทุน และเลิกอาชีพไปในที่สุด
แหล่งข่าวจากกรรมการสมาคมฯ เปิดเผยว่า สุกรที่ขนย้ายเข้ามาในพื้นที่ภาคใต้ตามโควตาที่ทางปศุสัตว์อนุญาต มีบางกลุ่มทำการสวมสิทธิส่งเกินโควตา มีบุคคลบางกลุ่มได้รับค่าตอบแทนตัวละ 60 บาท