ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน (ภูเก็ต) ลงเกาะโหลน หาสาเหตุเม่นทะเลตายเกลื่อนชาดหาด เบื้องต้น คาดเกิดจากคลื่นทะเลซัดเข้าฝั่ง กลับลงทะเลไม่ได้
นายนิพนธ์ พงษ์สุวรรณ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน (ภูเก็ต) กล่าวถึงกรณีชาวบ้านบริเวณเกาะโหลน หมู่ 3 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต พบเม่นทะเล (sea urchin) ขึ้นมาตายที่ชายหาดบริเวณท่าเทียบเรือด้านตะวันออกของเกาะโหลนจำนวนมากผิดปกติ ว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน (ภูเก็ต) ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบเม่นทะเลขึ้นมาตายจำนวนมาก ที่บริเวณชายหาดทางด้านทิศตะวันออกของ จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่า บริเวณหน้าหาดดังกล่าว มีเม่นทะเลชนิดหนามสั้น ตระกูล Astropyga Radiata ติดค้างอยู่บนชายหาดในระดับที่คลื่นพอที่จะสาดถึงบนแนวหาดช่วง 200 เมตร จากการตรวจสอบพบว่า เม่นทะเลที่ขึ้นมาเกยตื้นบนชายหาดประมาณ 50 ตัวยังมีชีวิตอยู่ และพบซากที่ตายมาแล้ววันละประมาณ 350 ตัว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด วันนี้ (16 ก.ค.) เจ้าหน้าที่จากสถาบันฯ ได้ลงตรวจสอบพื้นที่อีกครั้ง แต่ไม่พบว่า มีเม่นทะเลที่มีชีวิตขึ้นมาเกยตื้นที่ชายหาดเพิ่มแต่อย่างใด พบเพียงซากเม่นทะเลที่ตายก่อนหน้านั้น และเป็นซากเก่าที่แห้งตายอยู่
นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเม่นทะเลที่ขึ้นมาเกยหาดตายที่เกาะโหลนในครั้งนี้ เป็นเม่นทะเลชนิดหนามสั้น อาศัยอยู่บนแนวหญ้าทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เนื่องจากมีหน้าที่ช่วยกินซากวัตถุบนผืนดิน เป็นเสมือนพนักงานทำความสะอาดในระบบนิเวศ จากการสอบถามจากชาวประมงในพื้นที่ทราบว่า มีการพบเม่นทะเลชนิดนี้บ่อยๆ ในช่วงมรสุม บางครั้งก็ติดอวนขึ้นมา ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน
สาเหตุที่เม่นทะเลติดค้างบนหาด น่าจะเกิดจากถูกคลื่นซัดขึ้นมาเกยที่ตื้นในช่วงที่คลื่นลมแรง เพราะพบว่า เม่นทะเลที่พบส่วนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเม่นทะเลชนิดนี้จะใช้วิธีการเดิน เมื่อถูกคลื่นซัดขึ้นมาแล้วจะเดินกลับลงทะเลเป็นเรื่องที่ยาก ทำให้ถูกแดดเผาได้
นอกจากนั้น จากการสังเกตสภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปบริเวณนี้ พบว่า มีรอยทางน้ำจืดไหลลงหน้าหาดบริเวณที่เป็นดอนหญ้าทะเลที่มีเม่นทะเลชุกชุม แต่ขณะสำรวจ ไม่มีน้ำไหลงลงทะเล จะมีน้ำเฉพาะช่วงฝนตกหนักเท่านั้น แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า ความเค็มที่ลดลงเป็นสาเหตุรบกวนเม่นทะเลหรือไม่ ซึ่งจะทำการตรวจสอบต่อไป แต่ในเบื้องต้น คิดว่าสาเหตุที่ทำให้เม่นทะเลขึ้นมาตายที่ชายหาดน่าจะเกิดจากคลื่นแรงที่ซัดเม่นทะเลที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้นขึ้นมาที่ชายหาด และน่าจะเป็นเรื่องปกติ และจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ประมงของศูนย์พัฒนาการประมงทะเลชายฝั่งอันดามัน ทำให้ทราบว่า ฤดูกาลนี้ พบเม่นทะเลชนิดเดียวกันนี้จำนวนมากติดมากับเครื่องมือทดลองอวนลากของศูนย์ฯ เป็นไปได้ว่า ฤดูกาลนี้มีเม่นทะเลชนิดนี้มากเป็นพิเศษ
นายนิพนธ์ ยังได้กล่าวต่อไปถึงซากของเม่นทะเล ว่า สำหรับซากเม่นทะเลที่บริเวณชายหาดนั้นปล่อยไปซึ่งจะย่อยสลายไปเอง โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
นายนิพนธ์ พงษ์สุวรรณ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน (ภูเก็ต) กล่าวถึงกรณีชาวบ้านบริเวณเกาะโหลน หมู่ 3 ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต พบเม่นทะเล (sea urchin) ขึ้นมาตายที่ชายหาดบริเวณท่าเทียบเรือด้านตะวันออกของเกาะโหลนจำนวนมากผิดปกติ ว่า เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน (ภูเก็ต) ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบเม่นทะเลขึ้นมาตายจำนวนมาก ที่บริเวณชายหาดทางด้านทิศตะวันออกของ จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่า บริเวณหน้าหาดดังกล่าว มีเม่นทะเลชนิดหนามสั้น ตระกูล Astropyga Radiata ติดค้างอยู่บนชายหาดในระดับที่คลื่นพอที่จะสาดถึงบนแนวหาดช่วง 200 เมตร จากการตรวจสอบพบว่า เม่นทะเลที่ขึ้นมาเกยตื้นบนชายหาดประมาณ 50 ตัวยังมีชีวิตอยู่ และพบซากที่ตายมาแล้ววันละประมาณ 350 ตัว
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด วันนี้ (16 ก.ค.) เจ้าหน้าที่จากสถาบันฯ ได้ลงตรวจสอบพื้นที่อีกครั้ง แต่ไม่พบว่า มีเม่นทะเลที่มีชีวิตขึ้นมาเกยตื้นที่ชายหาดเพิ่มแต่อย่างใด พบเพียงซากเม่นทะเลที่ตายก่อนหน้านั้น และเป็นซากเก่าที่แห้งตายอยู่
นายนิพนธ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับเม่นทะเลที่ขึ้นมาเกยหาดตายที่เกาะโหลนในครั้งนี้ เป็นเม่นทะเลชนิดหนามสั้น อาศัยอยู่บนแนวหญ้าทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เนื่องจากมีหน้าที่ช่วยกินซากวัตถุบนผืนดิน เป็นเสมือนพนักงานทำความสะอาดในระบบนิเวศ จากการสอบถามจากชาวประมงในพื้นที่ทราบว่า มีการพบเม่นทะเลชนิดนี้บ่อยๆ ในช่วงมรสุม บางครั้งก็ติดอวนขึ้นมา ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วในช่วงเดียวกัน
สาเหตุที่เม่นทะเลติดค้างบนหาด น่าจะเกิดจากถูกคลื่นซัดขึ้นมาเกยที่ตื้นในช่วงที่คลื่นลมแรง เพราะพบว่า เม่นทะเลที่พบส่วนหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเม่นทะเลชนิดนี้จะใช้วิธีการเดิน เมื่อถูกคลื่นซัดขึ้นมาแล้วจะเดินกลับลงทะเลเป็นเรื่องที่ยาก ทำให้ถูกแดดเผาได้
นอกจากนั้น จากการสังเกตสภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปบริเวณนี้ พบว่า มีรอยทางน้ำจืดไหลลงหน้าหาดบริเวณที่เป็นดอนหญ้าทะเลที่มีเม่นทะเลชุกชุม แต่ขณะสำรวจ ไม่มีน้ำไหลงลงทะเล จะมีน้ำเฉพาะช่วงฝนตกหนักเท่านั้น แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า ความเค็มที่ลดลงเป็นสาเหตุรบกวนเม่นทะเลหรือไม่ ซึ่งจะทำการตรวจสอบต่อไป แต่ในเบื้องต้น คิดว่าสาเหตุที่ทำให้เม่นทะเลขึ้นมาตายที่ชายหาดน่าจะเกิดจากคลื่นแรงที่ซัดเม่นทะเลที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้นขึ้นมาที่ชายหาด และน่าจะเป็นเรื่องปกติ และจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ประมงของศูนย์พัฒนาการประมงทะเลชายฝั่งอันดามัน ทำให้ทราบว่า ฤดูกาลนี้ พบเม่นทะเลชนิดเดียวกันนี้จำนวนมากติดมากับเครื่องมือทดลองอวนลากของศูนย์ฯ เป็นไปได้ว่า ฤดูกาลนี้มีเม่นทะเลชนิดนี้มากเป็นพิเศษ
นายนิพนธ์ ยังได้กล่าวต่อไปถึงซากของเม่นทะเล ว่า สำหรับซากเม่นทะเลที่บริเวณชายหาดนั้นปล่อยไปซึ่งจะย่อยสลายไปเอง โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม