ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เลขาธิการอาเซียนระบุชายแดนใต้ได้เปรียบ คนพื้นที่พูดมลายูเหมือนคนส่วนใหญ่แต่ต้องปรับสำเนียงให้ถูกต้อง แนะรัฐปรับมุมมองต่อคนพื้นที่ ชี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ย้ำสถาบันการศึกษาต้องปรับตัว พร้อมผลิตบุคลากรคุณภาพสูง ปัจจุบันยังผลิตคน7อาชีพที่เปิดเสรียังไม่พอ เกรงแข่งขันคนต่างชาติไม่ได้
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (7 ก.ค.) ที่สนามกีฬากลางจังหวัดปัตตานี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวปาฐกถา เรื่อง “เศรษฐกิจอาเซียน เศรษฐกิจชุมชน” ในงานครบรอบ 20 ปี สหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟานว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความได้เปรียบมากกว่าส่วนอื่นของไทยในการเข้าสู่อาเซียน แต่สถาบันการศึกษาในพื้นที่โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามยังส่งคนเข้าเรียนใน 7 สาขาอาชีพที่จะเปิดเสรีได้ยังไม่เพียงพอ
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในอาเซียนมี 7 อาชีพที่จะเปิดเสรี ซึ่งจะเรียนและทำงานที่ไหนก็ได้ ทั้ง 7 สาขาอาชีพดังกล่าว ได้แก่ อาชีพวิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสำรวจ นักบัญชี ทันตแพทย์ และแพทย์ ซึ่งคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะยิ่งได้เปรียบกว่าที่อื่นของประเทศหากมีคนที่เรียนจบในสาขาอาชีพดังกล่าว
ในภาคใต้มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหรือโรงเรียนปอเนาะกว่า 400 แห่ง สามารถผลิตนักเรียนได้ปีละ 5,000 คน แต่ยังไม่สามารถส่งคนไปเรียนหมอ หรือเรียนใน 7 สาขาอาชีพดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ต้องปรับตัวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกกระแส ขณะเดียวกันพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องเข้าใจอนาคตลูกหลานด้วยว่าจะต้องแข่งขันกับใครในเวทีอาเซียน ถ้าทำไม่ได้ ลูกหลานจะสู้คนอื่นไม่ได้ และจะอ่อนเปลี้ยทันทีเมื่อต้องแข่งขันกับคนอื่น
นายสุรินทร์ กล่าวว่า ครึ่งหนึ่งของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน คือ คนที่พูดภาษามลายู ซึ่งตนได้บอกกับรัฐบาลเสมอว่า คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้พูดมลายูด้วย แต่เป็นมลายูท้องถิ่นปัตตานี ซึ่งเป็นทุนทางสังคมและทุนทางเศรษฐกิจที่ดีในการเตรียมเข้าสู่อาเซียน เนื่องจากสามารถเชิญชวนต่างชาติให้มาลงทุนในประเทศไทยได้ และสามารถทำให้ตราสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับได้ของอาเซียนได้โดยคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นโอกาสของไทยในอาเซียน
“เมื่อวานที่กระทรวงมหาดไทย ผมพูดกับคนในกระทรวงมหาดไทยทั้งประเทศผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนท์ว่า ขอให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองต่อคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ เพราะคนในพื้นที่สามารถพูดกับคนในอาเซียนได้ ถ้ารู้วิธีผันสำเนียงให้เป็นภาษามลายูกลางได้ ซึ่งโอกาสก็จะยิ่งเปิดมากขึ้น แต่อนาคตอาเซียนจะมีแต่การแข่งขัน อาเซียนจะเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง ทุกคนต่างมุ่งไปข้างหน้า ปัญหาคือ เรามีความพร้อมที่จะไปข้างหน้าหรือไม่” นายสุรินทร์ กล่าว
นูรยา เก็บบุญเกิด
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (7 ก.ค.) ที่สนามกีฬากลางจังหวัดปัตตานี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวปาฐกถา เรื่อง “เศรษฐกิจอาเซียน เศรษฐกิจชุมชน” ในงานครบรอบ 20 ปี สหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟานว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความได้เปรียบมากกว่าส่วนอื่นของไทยในการเข้าสู่อาเซียน แต่สถาบันการศึกษาในพื้นที่โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามยังส่งคนเข้าเรียนใน 7 สาขาอาชีพที่จะเปิดเสรีได้ยังไม่เพียงพอ
นายสุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในอาเซียนมี 7 อาชีพที่จะเปิดเสรี ซึ่งจะเรียนและทำงานที่ไหนก็ได้ ทั้ง 7 สาขาอาชีพดังกล่าว ได้แก่ อาชีพวิศวกร พยาบาล สถาปนิก การสำรวจ นักบัญชี ทันตแพทย์ และแพทย์ ซึ่งคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะยิ่งได้เปรียบกว่าที่อื่นของประเทศหากมีคนที่เรียนจบในสาขาอาชีพดังกล่าว
ในภาคใต้มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหรือโรงเรียนปอเนาะกว่า 400 แห่ง สามารถผลิตนักเรียนได้ปีละ 5,000 คน แต่ยังไม่สามารถส่งคนไปเรียนหมอ หรือเรียนใน 7 สาขาอาชีพดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ต้องปรับตัวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกกระแส ขณะเดียวกันพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องเข้าใจอนาคตลูกหลานด้วยว่าจะต้องแข่งขันกับใครในเวทีอาเซียน ถ้าทำไม่ได้ ลูกหลานจะสู้คนอื่นไม่ได้ และจะอ่อนเปลี้ยทันทีเมื่อต้องแข่งขันกับคนอื่น
นายสุรินทร์ กล่าวว่า ครึ่งหนึ่งของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน คือ คนที่พูดภาษามลายู ซึ่งตนได้บอกกับรัฐบาลเสมอว่า คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้พูดมลายูด้วย แต่เป็นมลายูท้องถิ่นปัตตานี ซึ่งเป็นทุนทางสังคมและทุนทางเศรษฐกิจที่ดีในการเตรียมเข้าสู่อาเซียน เนื่องจากสามารถเชิญชวนต่างชาติให้มาลงทุนในประเทศไทยได้ และสามารถทำให้ตราสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับได้ของอาเซียนได้โดยคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นโอกาสของไทยในอาเซียน
“เมื่อวานที่กระทรวงมหาดไทย ผมพูดกับคนในกระทรวงมหาดไทยทั้งประเทศผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนท์ว่า ขอให้เปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองต่อคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ เพราะคนในพื้นที่สามารถพูดกับคนในอาเซียนได้ ถ้ารู้วิธีผันสำเนียงให้เป็นภาษามลายูกลางได้ ซึ่งโอกาสก็จะยิ่งเปิดมากขึ้น แต่อนาคตอาเซียนจะมีแต่การแข่งขัน อาเซียนจะเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง ทุกคนต่างมุ่งไปข้างหน้า ปัญหาคือ เรามีความพร้อมที่จะไปข้างหน้าหรือไม่” นายสุรินทร์ กล่าว
นูรยา เก็บบุญเกิด
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)