ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - มาตรการชดเชยส่วนต่างราคากุ้งเริ่มดำเนินการเป็นวันแรก เพื่อแก้ปัญหาราคากุ้งขาวแวนาไมตกต่ำ เกษตรกรผู้เลี้ยงใน จ.สงขลา ที่เข้าร่วมโครงการเริ่มจับกุ้งเพื่อส่งห้องเย็น ขณะที่ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สงขลา เผยโควตาที่ได้รับไม่เพียงพอต่อปริมาณกุ้งของเกษตรกร และบางส่วนไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้
มาตรการชดเชยส่วนต่างราคากุ้งที่ทางคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.นำมาใช้แก้ปัญหาราคากุ้งขาวแวนาไมตกต่ำ เริ่มดำเนินการแล้ววันนี้ (21 มิ.ย.) เป็นวันแรก โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.สงขลา ที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเริ่มลงมือจับกุ้งที่เลี้ยงไว้เพื่อส่งห้องเย็นหลังจากที่ต้องชะลอการจับกุ้งมาระยะหนึ่งจากปัญหาราคากุ้งตกต่ำ
โดยมาตรการนี้ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท และจะดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เดือนละ 10,000 ตัน รวม 30,000 ตัน ซึ่งการชดเชยจะแยกตามประเภท เช่น กุ้งขาวขนาด 40-80 ตัว/กิโลกรัม ชดเชยให้ 20 บาท/กิโลกรัม กุ้งขนาด 60 ตัว ต้นทุนกิโลกรัมละ 117 บาท หากขายได้ 120 บาท รัฐจะชดเชยให้เป็น 130 บาท
แต่อย่างไรก็ตาม นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สงขลา ระบุว่า โครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม หรือการชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งนั้นในส่วนของ จ.สงขลา มีเกษตรกรที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เพียง 90 ราย ยังเหลืออีก 30 ราย เนื่องจากโควตาที่ จ.สงขลาได้รับนั้นเพียง 15,000 ตันเท่านั้น จึงไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เลี้ยงกุ้ง เกษตรกรบางส่วนยังขาดโอกาส และต้องรอรอบต่อไปในสองเดือนที่เหลือ ขณะที่ในภาพรวมของผู้เลี้ยงกุ้งทั้งประเทศนั้น แต่ละเดือนมีกุ้งออกมา 3-4 หมื่นตัน ปริมาณที่ยังเกินโควตาเกษตรกรจึงขาดโอกาส ซึ่งหากโครงการนี้ไม่ได้ผล ต้องการให้มีการนำมาตรการรับจำนำกุ้งมาดำเนินการเหมือนเดิม
มาตรการชดเชยส่วนต่างราคากุ้งที่ทางคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร หรือ คชก.นำมาใช้แก้ปัญหาราคากุ้งขาวแวนาไมตกต่ำ เริ่มดำเนินการแล้ววันนี้ (21 มิ.ย.) เป็นวันแรก โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.สงขลา ที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเริ่มลงมือจับกุ้งที่เลี้ยงไว้เพื่อส่งห้องเย็นหลังจากที่ต้องชะลอการจับกุ้งมาระยะหนึ่งจากปัญหาราคากุ้งตกต่ำ
โดยมาตรการนี้ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท และจะดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม เดือนละ 10,000 ตัน รวม 30,000 ตัน ซึ่งการชดเชยจะแยกตามประเภท เช่น กุ้งขาวขนาด 40-80 ตัว/กิโลกรัม ชดเชยให้ 20 บาท/กิโลกรัม กุ้งขนาด 60 ตัว ต้นทุนกิโลกรัมละ 117 บาท หากขายได้ 120 บาท รัฐจะชดเชยให้เป็น 130 บาท
แต่อย่างไรก็ตาม นายกาจบัณฑิต รามมาก ประธานชมรมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สงขลา ระบุว่า โครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม หรือการชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งนั้นในส่วนของ จ.สงขลา มีเกษตรกรที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้เพียง 90 ราย ยังเหลืออีก 30 ราย เนื่องจากโควตาที่ จ.สงขลาได้รับนั้นเพียง 15,000 ตันเท่านั้น จึงไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เลี้ยงกุ้ง เกษตรกรบางส่วนยังขาดโอกาส และต้องรอรอบต่อไปในสองเดือนที่เหลือ ขณะที่ในภาพรวมของผู้เลี้ยงกุ้งทั้งประเทศนั้น แต่ละเดือนมีกุ้งออกมา 3-4 หมื่นตัน ปริมาณที่ยังเกินโควตาเกษตรกรจึงขาดโอกาส ซึ่งหากโครงการนี้ไม่ได้ผล ต้องการให้มีการนำมาตรการรับจำนำกุ้งมาดำเนินการเหมือนเดิม