ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายคนกันตังเตรียมบุกราชมงคลตรัง ยื่นหนังสืออธิการฯ จี้เลิกศึกษา IEE โรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง ชี้มหาวิทยาลัยไม่ควรแสวงหาผลประโยชน์บนความขัดแย้ง ไม่เคารพสิทธิชุมชน-ผลกระทบชาวบ้าน รับใช้ กฟผ.ทำใบเบิกทางสร้าง จับตา ม.เกษตรฯ-ราชมงคล พานักศึกษา-อาจารย์ลงพื้นที่ เข้าร่วมสกัดกระบวนการ
นายศักดิ์กมล แสงดารา เปิดเผยว่า ฝ่ายกฎหมายมูลนิธิอันดามัน ในฐานะแกนนำคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง เปิดเผยว่า ตอนนี้ตนกำลังหารือกับชาวบ้านในอำเภอกันตัง โดยเฉพาะตำบลเป้าหมายในการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน คือ ตำบลบางสัก ตำบลวังวน และตำบลนาเกลือ กรณีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง รับงานจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 นี้เป็นต้นไป โดยใช้ระยะเวลา 8 เดือน
นายศักดิ์กมล เปิดเผยอีกว่า คร่าวๆ คาดว่าในต้นเดือนกรกฎาคม 2555 นี้ ตนและชาวบ้านจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่ออธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ให้ยกเลิกการศึกษา IEE เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในจังหวัดตรัง ไม่ควรแสวงหาผลประโยชน์บนความขัดแย้งของชุมชน ไม่เคารพสิทธิชุมชนของชาวบ้าน และไม่คำนึงถึงความสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดตรัง
ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ต้องดูอีกทีหนึ่งว่า พอจะมีมาตรการใดในการยับยั้งให้ยกเลิกการศึกษา IEE โรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง อาจมีการกำชับให้ชาวบ้านจับตานักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่เป็นพิเศษ จากนั้นค่อยหากระบวนการเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความเห็นคัดค้าน
“มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทในการให้ความรู้แก่เยาวชน นักศึกษา เป็นที่พึ่งทางด้านวิชาการของชาวบ้าน ไม่ใช่การมารับใช้ กฟผ.ด้วยการรับงานศึกษา IEE เพื่อเป็นใบเบิกทางในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง เป็นการหากินบนความขัดแย้งของชุมชน บนความทุกข์ทนของชาวบ้าน” นายศักดิ์กมลกล่าว
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้
นายศักดิ์กมล แสงดารา เปิดเผยว่า ฝ่ายกฎหมายมูลนิธิอันดามัน ในฐานะแกนนำคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง เปิดเผยว่า ตอนนี้ตนกำลังหารือกับชาวบ้านในอำเภอกันตัง โดยเฉพาะตำบลเป้าหมายในการตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน คือ ตำบลบางสัก ตำบลวังวน และตำบลนาเกลือ กรณีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง รับงานจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 นี้เป็นต้นไป โดยใช้ระยะเวลา 8 เดือน
นายศักดิ์กมล เปิดเผยอีกว่า คร่าวๆ คาดว่าในต้นเดือนกรกฎาคม 2555 นี้ ตนและชาวบ้านจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่ออธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ให้ยกเลิกการศึกษา IEE เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในจังหวัดตรัง ไม่ควรแสวงหาผลประโยชน์บนความขัดแย้งของชุมชน ไม่เคารพสิทธิชุมชนของชาวบ้าน และไม่คำนึงถึงความสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดตรัง
ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น ต้องดูอีกทีหนึ่งว่า พอจะมีมาตรการใดในการยับยั้งให้ยกเลิกการศึกษา IEE โรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง อาจมีการกำชับให้ชาวบ้านจับตานักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่เป็นพิเศษ จากนั้นค่อยหากระบวนการเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงความเห็นคัดค้าน
“มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทในการให้ความรู้แก่เยาวชน นักศึกษา เป็นที่พึ่งทางด้านวิชาการของชาวบ้าน ไม่ใช่การมารับใช้ กฟผ.ด้วยการรับงานศึกษา IEE เพื่อเป็นใบเบิกทางในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง เป็นการหากินบนความขัดแย้งของชุมชน บนความทุกข์ทนของชาวบ้าน” นายศักดิ์กมลกล่าว
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ
ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้