ระนอง - อุตุนิยมวิทยาระนอง เตือนประชาชนระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมในทะเลที่สูง และพัดกระโชกแรง
นายไพบูลย์ เอี่ยมสุวรรณ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดระนองได้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เนื่องจากมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ลักษณะเช่นนี้ทำให้จังหวัดระนอง และภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันมีฝนตกหนักมากขึ้น จึงขอให้ประชาชนมีความระมัดระวัง และติดตามการพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิดด้วย โดยเฉพาะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นในทะเลสูง 1-2 เมตร สูงกว่า 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ส่วนลมจะพัดกระโชกแรงเป็นระยะ ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคมนี้
ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดระนอง กล่าวด้วยว่า ประชาชนอาจจะมีความรู้สึกว่าปริมาณฝนที่ตกลงมาเป็นภาวะปกติ แต่สภาพปัจจุบัน ฝนที่ตกลงมาค่อนข้างจะรุนแรง และรวดเร็ว แต่สภาพสิ่งแวดล้อม และภูมิประเทศที่เปลี่ยนไป มีการสร้างบ้านเรือน ถมดินปิดกั้นทางน้ำไหล ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลได้ช้าลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมตลิ่งได้ จึงไม่ควรประมาท ในส่วนของความกดอากาศต่ำที่ก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียนั้น ขณะนี้ ยังไม่พบการก่อตัว แต่ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
นายไพบูลย์ เอี่ยมสุวรรณ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดระนองได้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว เนื่องจากมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ลักษณะเช่นนี้ทำให้จังหวัดระนอง และภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันมีฝนตกหนักมากขึ้น จึงขอให้ประชาชนมีความระมัดระวัง และติดตามการพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิดด้วย โดยเฉพาะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นในทะเลสูง 1-2 เมตร สูงกว่า 2 เมตร บริเวณที่มีฝน ส่วนลมจะพัดกระโชกแรงเป็นระยะ ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคมนี้
ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดระนอง กล่าวด้วยว่า ประชาชนอาจจะมีความรู้สึกว่าปริมาณฝนที่ตกลงมาเป็นภาวะปกติ แต่สภาพปัจจุบัน ฝนที่ตกลงมาค่อนข้างจะรุนแรง และรวดเร็ว แต่สภาพสิ่งแวดล้อม และภูมิประเทศที่เปลี่ยนไป มีการสร้างบ้านเรือน ถมดินปิดกั้นทางน้ำไหล ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลได้ช้าลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมตลิ่งได้ จึงไม่ควรประมาท ในส่วนของความกดอากาศต่ำที่ก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียนั้น ขณะนี้ ยังไม่พบการก่อตัว แต่ได้มีการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป