ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักวิชาการระบุ รอยเลื่อน “มะรุ่ย” เคลื่อนตัวช้าที่สุด การเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้มีไม่บ่อย ขณะที่การสร้างอาคารต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหว ระบุอาคารเตี้ยมีโอกาสได้รับผลกระทบมากกว่าอาคารสูง
รศ.ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโร อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวในโครงการผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพบสื่อมวลชน ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหวสำหรับอาคารในจังหวัดภูเก็ต ว่า หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของอาคารในจังหวัดภูเก็ต และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน ตนขอชี้แจงว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่มีผลกระทบต่อภูเก็ตถือว่า เป็นรอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนตัวช้าที่สุดเมื่อเทียบกับรอยเลื่อนทั้งหมด 13 แห่งในประเทศไทย ดังนั้น การเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเกิดครั้งหนึ่งแล้ว จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกไป เมื่อมีการปลดปล่อยพลังงานออกไปแล้วจะใช้เวลาในการสะสมพลังงานอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตรงนี้เรียกว่าคาบการเกิดซ้ำของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ดูจากอัตราการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนตรงนี้ประมาณ 0.1 มิลลิเมตรต่อปี เมื่อเทียบกับรอยเลื่อนใกล้เคียง ซึ่งในประเทศไทยเรารอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนตัวสูงสุดคือ รอยเลื่อนแถวภาคเหนือมีการประมาณ 3-4 มิลลิเมตรต่อปี สำหรับรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เป็นอัตราการเคลื่อนตัวที่ต่ำที่สุดในบรรดารอยเลื่อนที่เคยศึกษา ขณะที่รอยเลื่อนแถวอินโดนีเซีย ซึ่งสูงมาก 65 มิลลิเมตรต่อปี
“เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงว่ามีโอกาสเกิดที่จะขึ้นอีกในลักษณะที่รุนแรงคงจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ค่าการเกิดซ้ำจะยาวหลังจากที่มีการปลอดปล่อยพลังงานออกมาแล้ว จะใช้เวลาสะสมพลังงานอีกยาว อย่างที่บอกว่าในอดีต 70 กว่าปีที่เคยเกิดมาแล้ว แต่ทีนี้เราไม่สามารถบอกได้ชัดๆ ว่าอีกกี่ปีถึงจะเกิดขึ้นอีก เพราะว่าวิทยาการตอนนี้เราไม่สามารถที่จะพยากรณ์ได้ ในเรื่องของระยะเวลาที่เกิดขึ้น แต่คาดการณ์การว่าจะไม่เกิดบ่อย” รศ.ดร.ไพบูลย์ กล่าวและว่า
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแผ่นดินไหวจะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่ก็ควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า สำหรับประชาชนทั่วไป ควรมีการฝึกซ้อมให้รู้จักวิธีการปฏิบัติตัวในขณะที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ส่วนแรงแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของอาคาร ใน จ.ภูเก็ต นั้น รศ.ดร.ไพบูลย์ กล่าวว่า จากข้อมูลอัตราเร่งแผ่นดินไหว คาดว่า ขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดสำหรับรอยเลื่อนนี้อยู่ระหว่าง 5-6 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวลักษณะนี้จัดว่าเป็นขนาดปานกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ในระยะใกล้ โดยหลักทางวิศวกรรม คลื่นแผ่นดินไหวจะส่งผลกระทบต่ออาคารขนาดเตี้ยมากกว่าอาคารสูง
สำหรับอาคารในจังหวัดภูเก็ตที่ก่อสร้าง หลังจากกฎหมายอาคารที่บังคับใช้ด้านแผ่นดินไหว คือกฎกระทรวงแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 กำหนดให้จังหวัดภูเก็ต อยู่ในพื้นที่บริเวณเฝ้าระวัง คือพื้นที่ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว บังคับใช้ จะมีการออกแบบรายละเอียดเหล็กเสริมให้ทนต่อการโยกไหวของโครงสร้างอาคารได้ อาคารที่กฎกระทรวงฉบับนี้บังคับใช้ครอบคลุมถึงอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้อาคารได้ตั้งแต่ 300 คนขึ้นไป เช่น โรงแรม ศูนย์การค้า ตลาด โรงเรียน และอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป เป็นต้น
ส่วนอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ และอาคารที่ไม่ได้กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้ เช่น บ้านพักอาศัย ตึกแถวที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น โรงแรม และรีสอร์ตขนาดเล็ก ก็จะต้องมีแนวทางการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน สำหรับอาคารที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องการความมั่นคงปลอดภัย ควรมีการวิเคราะห์เพื่อประเมินว่ามีความสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้เพียงใด มีความจำเป็นจะต้องเสริมกำลังของโครงสร้างหรือไม่
ทั้งนี้ การเสริมกำลังโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือการเสริมกำลังโดยรวม และการเสริมกำลังเฉพาะบางส่วนที่เป็นจุดอ่อนของโครงสร้าง เพื่อให้อาคารมีความเหนียวในการทนแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว เช่น ด้วยการเสริมเหล็กตัวอาคาร เป็นต้น แต่ถ้าสามารถออกแบบการรับแรงกระทำที่ฐานอาคารได้เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ความแข็งแรงของอาคารเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ขณะที่ในส่วนของอาคารขนาดเล็ก บ้านพักอาศัย แนะนำให้มีการเสริมกำลังผนังกำแพงอิฐก่อซึ่งสามารถทำได้โดยใช้วัสดุ และเทคนิคที่ไม่ซับซ้อน
รศ.ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโร อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวในโครงการผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพบสื่อมวลชน ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหวสำหรับอาคารในจังหวัดภูเก็ต ว่า หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของอาคารในจังหวัดภูเก็ต และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน ตนขอชี้แจงว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยที่มีผลกระทบต่อภูเก็ตถือว่า เป็นรอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนตัวช้าที่สุดเมื่อเทียบกับรอยเลื่อนทั้งหมด 13 แห่งในประเทศไทย ดังนั้น การเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเกิดครั้งหนึ่งแล้ว จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกไป เมื่อมีการปลดปล่อยพลังงานออกไปแล้วจะใช้เวลาในการสะสมพลังงานอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตรงนี้เรียกว่าคาบการเกิดซ้ำของรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ดูจากอัตราการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนตรงนี้ประมาณ 0.1 มิลลิเมตรต่อปี เมื่อเทียบกับรอยเลื่อนใกล้เคียง ซึ่งในประเทศไทยเรารอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนตัวสูงสุดคือ รอยเลื่อนแถวภาคเหนือมีการประมาณ 3-4 มิลลิเมตรต่อปี สำหรับรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย เป็นอัตราการเคลื่อนตัวที่ต่ำที่สุดในบรรดารอยเลื่อนที่เคยศึกษา ขณะที่รอยเลื่อนแถวอินโดนีเซีย ซึ่งสูงมาก 65 มิลลิเมตรต่อปี
“เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงว่ามีโอกาสเกิดที่จะขึ้นอีกในลักษณะที่รุนแรงคงจะไม่เกิดขึ้นบ่อย ค่าการเกิดซ้ำจะยาวหลังจากที่มีการปลอดปล่อยพลังงานออกมาแล้ว จะใช้เวลาสะสมพลังงานอีกยาว อย่างที่บอกว่าในอดีต 70 กว่าปีที่เคยเกิดมาแล้ว แต่ทีนี้เราไม่สามารถบอกได้ชัดๆ ว่าอีกกี่ปีถึงจะเกิดขึ้นอีก เพราะว่าวิทยาการตอนนี้เราไม่สามารถที่จะพยากรณ์ได้ ในเรื่องของระยะเวลาที่เกิดขึ้น แต่คาดการณ์การว่าจะไม่เกิดบ่อย” รศ.ดร.ไพบูลย์ กล่าวและว่า
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแผ่นดินไหวจะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่ก็ควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า สำหรับประชาชนทั่วไป ควรมีการฝึกซ้อมให้รู้จักวิธีการปฏิบัติตัวในขณะที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ส่วนแรงแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของอาคาร ใน จ.ภูเก็ต นั้น รศ.ดร.ไพบูลย์ กล่าวว่า จากข้อมูลอัตราเร่งแผ่นดินไหว คาดว่า ขนาดแผ่นดินไหวสูงสุดสำหรับรอยเลื่อนนี้อยู่ระหว่าง 5-6 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวลักษณะนี้จัดว่าเป็นขนาดปานกลาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ในระยะใกล้ โดยหลักทางวิศวกรรม คลื่นแผ่นดินไหวจะส่งผลกระทบต่ออาคารขนาดเตี้ยมากกว่าอาคารสูง
สำหรับอาคารในจังหวัดภูเก็ตที่ก่อสร้าง หลังจากกฎหมายอาคารที่บังคับใช้ด้านแผ่นดินไหว คือกฎกระทรวงแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 กำหนดให้จังหวัดภูเก็ต อยู่ในพื้นที่บริเวณเฝ้าระวัง คือพื้นที่ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว บังคับใช้ จะมีการออกแบบรายละเอียดเหล็กเสริมให้ทนต่อการโยกไหวของโครงสร้างอาคารได้ อาคารที่กฎกระทรวงฉบับนี้บังคับใช้ครอบคลุมถึงอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้อาคารได้ตั้งแต่ 300 คนขึ้นไป เช่น โรงแรม ศูนย์การค้า ตลาด โรงเรียน และอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป เป็นต้น
ส่วนอาคารเก่าที่ก่อสร้างก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ และอาคารที่ไม่ได้กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้ เช่น บ้านพักอาศัย ตึกแถวที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น โรงแรม และรีสอร์ตขนาดเล็ก ก็จะต้องมีแนวทางการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน สำหรับอาคารที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องการความมั่นคงปลอดภัย ควรมีการวิเคราะห์เพื่อประเมินว่ามีความสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้เพียงใด มีความจำเป็นจะต้องเสริมกำลังของโครงสร้างหรือไม่
ทั้งนี้ การเสริมกำลังโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือการเสริมกำลังโดยรวม และการเสริมกำลังเฉพาะบางส่วนที่เป็นจุดอ่อนของโครงสร้าง เพื่อให้อาคารมีความเหนียวในการทนแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว เช่น ด้วยการเสริมเหล็กตัวอาคาร เป็นต้น แต่ถ้าสามารถออกแบบการรับแรงกระทำที่ฐานอาคารได้เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ความแข็งแรงของอาคารเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ขณะที่ในส่วนของอาคารขนาดเล็ก บ้านพักอาศัย แนะนำให้มีการเสริมกำลังผนังกำแพงอิฐก่อซึ่งสามารถทำได้โดยใช้วัสดุ และเทคนิคที่ไม่ซับซ้อน