ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ชาวบ้าน ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง เครียดจากเหตุแผ่นดินไหวต่อเนื่อง ทีมจิตแพทย์ลงพื้นที่ให้คำปรึกษา พบหลายคนกังวลกลัวหนีไม่ทันหากแผ่นดินไหวรุนแรง
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง หลังจากนั้น มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 2 ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุแผ่นดินไหวเกิดความเครียดและตื่นตระหนก บางคนไม่กล้านอนที่บ้าน เนื่องจากยังมีเหตุแผ่นดินไหวรู้สึกได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด วันนี้ (18 เม.ย.) ทีมจิตแพทย์ ประกอบด้วย นายแพทย์วีระ ชูรุจิพร ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 สุราษฎร์ธานี นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้อำนวยโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี แพทย์หญิงภัทรี ปิ่นแก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลถลาง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.ศรีสุนทร เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ โดยได้เข้าไปสอบถามอาการของชาวบ้านในหลายหลังคาเรือน โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีโรคประจำตัว
โดยนายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้อำนวยโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบปะกับชาวบ้านในครั้งนี้ พบว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรานั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของชาวบ้าน เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2547 แต่เหตุการณ์ที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกกังวล กลัว และเครียด เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ทำให้ประชาชนมีความเครียด และไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งจากการเข้าไปพูดคุยกับชาวบ้านพบว่า ทุกคนมีอาการเครียดเหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว ซึ่งบางคนอาจจะต้องให้ยาคลายเครียด
ส่วนเรื่องของการติดตามข่าวสารนั้น นายแพทย์พงศ์เกษม กล่าวว่า ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างมีสติ เพราะขณะนี้มีทั้งนักวิชาการ และหมอดูที่ออกมาให้ข้อมูลต่างๆ เพราะฉะนั้น เมื่อมีข่าวสารออกมาก็ขอให้ตรวจสอบกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อย่าไปตื่นตระหนก แต่ให้ตื่นตัว ซึ่งข่าวสารต่างๆ นั้นสามารถติดตามได้ แต่จะต้องนำมาวิเคราะห์ให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดจากการติดตามข่าวสาร
แพทย์หญิงภัทรี ปิ่นแก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนนั้น ส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุมีอาคารเครียดและกังวล เนื่องจากกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นและหนีไม่ทัน บางคนไม่อยากกินยาเพราะกลัวว่าถ้ามีเหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่รู้จะหนีอย่างไร ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้ให้คำแนะนำชาวบ้านในการดูแลตัวเอง และการอพยพหลบภัยกรณีเกิดเหตุการณ์ขึ้น เชื่อว่าหลังจากลงพื้นที่ชาวบ้านน่าจะสบายใจขึ้น
ด้านนายแพทย์วีระ ชูรุจิพร ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การลงมาในพื้นที่เพื่อมาติดตามสถานการณ์การดูแลทางด้านจิตใจของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ถ้าหากโรงพยาบาลในพื้นทีไม่สามารถรับมือได้ก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือดูแล เพราะเรื่องของสุขภาพจิตของชาวบ้านถือเป็นเรื่องสำคัญ
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง หลังจากนั้น มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 2 ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุแผ่นดินไหวเกิดความเครียดและตื่นตระหนก บางคนไม่กล้านอนที่บ้าน เนื่องจากยังมีเหตุแผ่นดินไหวรู้สึกได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด วันนี้ (18 เม.ย.) ทีมจิตแพทย์ ประกอบด้วย นายแพทย์วีระ ชูรุจิพร ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 สุราษฎร์ธานี นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้อำนวยโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี แพทย์หญิงภัทรี ปิ่นแก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลถลาง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่หมู่ที่ 2 ต.ศรีสุนทร เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ โดยได้เข้าไปสอบถามอาการของชาวบ้านในหลายหลังคาเรือน โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีโรคประจำตัว
โดยนายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้อำนวยโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบปะกับชาวบ้านในครั้งนี้ พบว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรานั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของชาวบ้าน เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2547 แต่เหตุการณ์ที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกกังวล กลัว และเครียด เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ทำให้ประชาชนมีความเครียด และไม่มั่นใจในเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งจากการเข้าไปพูดคุยกับชาวบ้านพบว่า ทุกคนมีอาการเครียดเหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว ซึ่งบางคนอาจจะต้องให้ยาคลายเครียด
ส่วนเรื่องของการติดตามข่าวสารนั้น นายแพทย์พงศ์เกษม กล่าวว่า ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างมีสติ เพราะขณะนี้มีทั้งนักวิชาการ และหมอดูที่ออกมาให้ข้อมูลต่างๆ เพราะฉะนั้น เมื่อมีข่าวสารออกมาก็ขอให้ตรวจสอบกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อย่าไปตื่นตระหนก แต่ให้ตื่นตัว ซึ่งข่าวสารต่างๆ นั้นสามารถติดตามได้ แต่จะต้องนำมาวิเคราะห์ให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดจากการติดตามข่าวสาร
แพทย์หญิงภัทรี ปิ่นแก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า จากการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนนั้น ส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่เกิดเหตุมีอาคารเครียดและกังวล เนื่องจากกังวลว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นและหนีไม่ทัน บางคนไม่อยากกินยาเพราะกลัวว่าถ้ามีเหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่รู้จะหนีอย่างไร ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้ให้คำแนะนำชาวบ้านในการดูแลตัวเอง และการอพยพหลบภัยกรณีเกิดเหตุการณ์ขึ้น เชื่อว่าหลังจากลงพื้นที่ชาวบ้านน่าจะสบายใจขึ้น
ด้านนายแพทย์วีระ ชูรุจิพร ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า การลงมาในพื้นที่เพื่อมาติดตามสถานการณ์การดูแลทางด้านจิตใจของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ถ้าหากโรงพยาบาลในพื้นทีไม่สามารถรับมือได้ก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือดูแล เพราะเรื่องของสุขภาพจิตของชาวบ้านถือเป็นเรื่องสำคัญ