ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “ไม้ไผ่” บูมหนัก ตลาดต้องการกว่า 4 ล้านลำต้น มูลค่าหลายร้อยล้านบาท ส่งอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ปาร์เกต์ไม้ไผ่ ส่วนใบส่งออกประเทศจีน กก.ละ 100 บาท
วันนี้ (11 ต.ค.) นายสัญญา วัชรพันธุ์ เจ้าของสวนไม้ไผ่ใน อ.ระโนด จ.สงขลา ในฐานะประธานชมรมปลูกไม้ไผ่ภาคใต้ จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า การลงทุนปลูกไม้ไผ่ไม่น่าหวั่นวิตก เพราะเกษตรกรมีการตื่นตัวกันสูงมาก โดยได้นำพื้นที่บ่อกุ้งร้างที่มีอยู่แล้วประมาณ 10,000 ไร่มาดำเนินการ และขณะนี้ได้เข้ามาลงทุนปลูกกันแล้วประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขยายตัวเติบโตขึ้นทุกปี และต้นทุนการลงทุนต่ำมาก ทั้งนี้ ไม้ไผ่มีอายุการให้ประโยชน์ตลอดไปไม่จำกัดระยะเวลา และให้ผลประโยชน์ทุกส่วนด้วย
“ประการสำคัญของการปลูกไม้ไผ่ คือจะต้องทำการตลาดให้มั่นคงแข็งแรง และขณะนี้ตลาดจากจังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ติดต่อซื้อมาแล้ว ล็อตแรก 100,000 ต้น แต่ยังไม่มีไม้ไผ่ส่งมอบได้อย่างพอเพียง และนอกจากเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แล้ว ตอนนี้ไม้ไผ่ยังได้รับความนิยมนำไปสร้างรีสอร์ตที่กำลังขยายตัวเติบโต ตลอดจนถึงโฮมสเตย์ด้วย” นายสัญญา กล่าว
ในพื้นที่ อ.ระโนด และบริเวณใกล้เคียงประมาณ 10,000 ไร่ ที่กำลังตื่นตัวในการปลูกไม้ไผ่ ถ้าได้ปลูกเต็มพื้นที่ จะได้ประมาณ 1.2 ล้านต้น ซึ่งสามารถทำรายได้อย่างมหาศาลในแต่ละปี ดังนั้นตลาดในอนาคตจะต้องมั่นคงด้วย
พ่อค้าใบไม้ไผ่รายหนึ่งเปิดเผยว่า ตนเป็นผู้รับซื้อใบไม้ไผ่มาทำการอบแห้งเพื่อทำขนม โดยจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศผ่านพ่อค้าคนกลางที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะส่งออกไปยังประเทศจีนตามยอดสั่งซื้อแต่ละปี ซึ่งเฉพาะในส่วนของตนมียอดสั่งซื้อประมาณ 3,000 แท่ง ประมาณ 100 ตัน และในช่วงเทศกาลของชาวจีน จะมีการทำขนมบ๊ะจ่าง ราคาจะขยับขึ้นประมาณ 100 บาทต่อกิโลกรัม
ขณะที่ นางขวัญใจ กลับสุขใส เจ้าของสวนไม้ไผ่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และเหรัญญิกชมรมปลูกไม้ไผ่ภาคใต้ จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ภาวะการปลูกไผ่ได้ขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงขณะนี้ เนื่องจากมีคงวามต้องการของตลาดสูงมาก ทั้งหน่อไม้ ลำต้น และใบ เพื่อเป็นอาหาร ทำขนม และเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่างๆ โดยไม้ไผ่ยอดนิยม ได้แก่ พันธุ์เม่งซุ่น ซึ่งเป็นพันธุ์ปักกิ่ง จากประเทศจีน พันธุ์ชางหม่น ของไทย และพันธุ์หมาจู๊ จากประเทศไต้หวัน
แต่การปลูกไม้ไผ่ในจังหวัดพัทลุงนั้นมีพื้นที่ในการปลูกจำกัด จนต้องมีการขยายตัวไปปลูกพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่ พังงา และภูเก็ต เป็นต้น และขณะนี้ทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดปัตตานีกำลังดำเนินการประสานงานที่จะลงทุนปลูกไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีพื้นที่นาร้างอยู่จำนวนหลายหมื่นไร่ที่มีความเหมาะสม
“ไม้ไผ่ปลูกที่ระดับมาตรฐานประมาณ 120 ต้นต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเฉพาะหน่อไม้ โดยประมาณขั้นต่ำเดือนละ 3,000 บาทต่อต้น เฉลี่ยแล้วจะให้ผลผลิตประมาณเดือนละ 36,000 บาทต่อไร่ ส่วนใบสดราคากิโลกรัมละ 18 บาท และใบแห้งกิโลกรัมละ 30 บาท ส่วนลำต้นอยู่ที่ต้นละ 80 บาท” นางขวัญใจกล่าว พร้อมเสริมว่า
ไม้ไผ่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี หน่อไม้จำหน่ายในพื้นที่และส่งออกต่างจังหวัด ใบไผ่ส่งภายในประเทศ และส่งออกรายใหญ่ไปยังประเทศจีน ส่วนลำต้นนั้นขณะนี้ตลาดภายในประเทศมีความต้องการนำไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ปาร์เกต์สูงมาก โดยเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ปาร์เกต์ ซึ่งมีความสวยงามและมีคุณภาพดี ซึ่งตนมองว่าในอนาคตจะต้องหันมาใช้ไม้ไผ่มากกว่าไม้ชนิดอื่น
“บริษัทผู้ลงทุนผลิตเฟอร์นิเจอร์ปาร์เกต์ไม้ไผ่ได้มาประสานงานขอซื้อไม้ไผ่กว่า 4 ล้านต้น ในระยะ 3 ปี มูลค่ากว่า 320 ล้านบาท แต่ยังไม่รับทำสัญญา เพราะยังไม่สามารถสรุปตัวเลขวัตถุดิบได้ว่ามีประมาณเท่าใด” นางขวัญใจกล่าว
วันนี้ (11 ต.ค.) นายสัญญา วัชรพันธุ์ เจ้าของสวนไม้ไผ่ใน อ.ระโนด จ.สงขลา ในฐานะประธานชมรมปลูกไม้ไผ่ภาคใต้ จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า การลงทุนปลูกไม้ไผ่ไม่น่าหวั่นวิตก เพราะเกษตรกรมีการตื่นตัวกันสูงมาก โดยได้นำพื้นที่บ่อกุ้งร้างที่มีอยู่แล้วประมาณ 10,000 ไร่มาดำเนินการ และขณะนี้ได้เข้ามาลงทุนปลูกกันแล้วประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขยายตัวเติบโตขึ้นทุกปี และต้นทุนการลงทุนต่ำมาก ทั้งนี้ ไม้ไผ่มีอายุการให้ประโยชน์ตลอดไปไม่จำกัดระยะเวลา และให้ผลประโยชน์ทุกส่วนด้วย
“ประการสำคัญของการปลูกไม้ไผ่ คือจะต้องทำการตลาดให้มั่นคงแข็งแรง และขณะนี้ตลาดจากจังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ติดต่อซื้อมาแล้ว ล็อตแรก 100,000 ต้น แต่ยังไม่มีไม้ไผ่ส่งมอบได้อย่างพอเพียง และนอกจากเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ แล้ว ตอนนี้ไม้ไผ่ยังได้รับความนิยมนำไปสร้างรีสอร์ตที่กำลังขยายตัวเติบโต ตลอดจนถึงโฮมสเตย์ด้วย” นายสัญญา กล่าว
ในพื้นที่ อ.ระโนด และบริเวณใกล้เคียงประมาณ 10,000 ไร่ ที่กำลังตื่นตัวในการปลูกไม้ไผ่ ถ้าได้ปลูกเต็มพื้นที่ จะได้ประมาณ 1.2 ล้านต้น ซึ่งสามารถทำรายได้อย่างมหาศาลในแต่ละปี ดังนั้นตลาดในอนาคตจะต้องมั่นคงด้วย
พ่อค้าใบไม้ไผ่รายหนึ่งเปิดเผยว่า ตนเป็นผู้รับซื้อใบไม้ไผ่มาทำการอบแห้งเพื่อทำขนม โดยจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศผ่านพ่อค้าคนกลางที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะส่งออกไปยังประเทศจีนตามยอดสั่งซื้อแต่ละปี ซึ่งเฉพาะในส่วนของตนมียอดสั่งซื้อประมาณ 3,000 แท่ง ประมาณ 100 ตัน และในช่วงเทศกาลของชาวจีน จะมีการทำขนมบ๊ะจ่าง ราคาจะขยับขึ้นประมาณ 100 บาทต่อกิโลกรัม
ขณะที่ นางขวัญใจ กลับสุขใส เจ้าของสวนไม้ไผ่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และเหรัญญิกชมรมปลูกไม้ไผ่ภาคใต้ จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ภาวะการปลูกไผ่ได้ขยายตัวมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงขณะนี้ เนื่องจากมีคงวามต้องการของตลาดสูงมาก ทั้งหน่อไม้ ลำต้น และใบ เพื่อเป็นอาหาร ทำขนม และเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่างๆ โดยไม้ไผ่ยอดนิยม ได้แก่ พันธุ์เม่งซุ่น ซึ่งเป็นพันธุ์ปักกิ่ง จากประเทศจีน พันธุ์ชางหม่น ของไทย และพันธุ์หมาจู๊ จากประเทศไต้หวัน
แต่การปลูกไม้ไผ่ในจังหวัดพัทลุงนั้นมีพื้นที่ในการปลูกจำกัด จนต้องมีการขยายตัวไปปลูกพื้นที่จังหวัดสงขลา สตูล นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร กระบี่ พังงา และภูเก็ต เป็นต้น และขณะนี้ทาง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดปัตตานีกำลังดำเนินการประสานงานที่จะลงทุนปลูกไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีพื้นที่นาร้างอยู่จำนวนหลายหมื่นไร่ที่มีความเหมาะสม
“ไม้ไผ่ปลูกที่ระดับมาตรฐานประมาณ 120 ต้นต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเฉพาะหน่อไม้ โดยประมาณขั้นต่ำเดือนละ 3,000 บาทต่อต้น เฉลี่ยแล้วจะให้ผลผลิตประมาณเดือนละ 36,000 บาทต่อไร่ ส่วนใบสดราคากิโลกรัมละ 18 บาท และใบแห้งกิโลกรัมละ 30 บาท ส่วนลำต้นอยู่ที่ต้นละ 80 บาท” นางขวัญใจกล่าว พร้อมเสริมว่า
ไม้ไผ่ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี หน่อไม้จำหน่ายในพื้นที่และส่งออกต่างจังหวัด ใบไผ่ส่งภายในประเทศ และส่งออกรายใหญ่ไปยังประเทศจีน ส่วนลำต้นนั้นขณะนี้ตลาดภายในประเทศมีความต้องการนำไปผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ปาร์เกต์สูงมาก โดยเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ปาร์เกต์ ซึ่งมีความสวยงามและมีคุณภาพดี ซึ่งตนมองว่าในอนาคตจะต้องหันมาใช้ไม้ไผ่มากกว่าไม้ชนิดอื่น
“บริษัทผู้ลงทุนผลิตเฟอร์นิเจอร์ปาร์เกต์ไม้ไผ่ได้มาประสานงานขอซื้อไม้ไผ่กว่า 4 ล้านต้น ในระยะ 3 ปี มูลค่ากว่า 320 ล้านบาท แต่ยังไม่รับทำสัญญา เพราะยังไม่สามารถสรุปตัวเลขวัตถุดิบได้ว่ามีประมาณเท่าใด” นางขวัญใจกล่าว