ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ผ่าซากโลมาหาสาเหตุการตาย หลังเกยตื้นที่เกาะปันหยี จ.พังงา และนำกลับมาอนุบาลแต่ไม่สามารถยื้อไว้ได้
วันนี้ (8 ก.ค.) ที่บริเวณลานซีเมนต์หน้าอาคารกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน นางสาวภัสราภรณ์ แก้วโม่ง สัตวแพทย์ ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ช่วยกันผ่าซากโลมาฟันห่างเพศผู้ น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม เพื่อหาสาเหตุการตาย หลังจากเจ้าหน้าที่นำโลมาตัวดังกล่าว ซึ่งชาวบ้านเกาะไม้ไผ่ หมู่ 3 ต.เกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา พบว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 พร้อมกับโลมาเพศเมียอีก 1 ตัว น้ำหนักประมาณ 80 กิโลกรัม
ในส่วนของโลมาเพศผู้ ตอนที่ชาวบ้านพบพบว่ายังมีชีวิตอยู่แต่สภาพร่างกายอ่อนแอ จึงนำส่งกลุ่มสัตว์ทะเลหาอยากเพื่อช่วยรักษา แต่เมื่อนำมาส่งและเจ้าหน้าที่ดูแลไปได้ระยะหนึ่งพบว่าวันนี้โลมาเพศผู้ตัวดังกล่าวได้ตายลง เจ้าหน้าที่จึงนำซากมาผ่าพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุการตายว่าเกิดจากอะไร ขณะที่ซากโลมาเพศเมียซึ่งตายตั้งแต่ช่วงที่ชาวบ้านพบ เจ้าหน้าที่ได้นำซากมาไว้ที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากแล้ว แต่คาดว่าจะผ่าพิสูจน์ได้ประมาณสัปดาห์หน้า
ขณะที่ นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมง ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวว่า โลมาชนิดฟันห่าง เป็นโลมาพบได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งในฝั่งทะเลอันดามันโดยจะพบที่บริเวณ จ.ภูเก็ต พังงา และสตูล โดยในช่วง 14 ปีที่ผ่านมาพบโลมาชนิดนี้มาเกยตื้นเพียง 11 ตัว
ในช่วงประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมาเคยพบที่บริเวณชายหาดบ้านอ่าวน้ำบ่อ ต.วิชิต จ.ภูเก็ต จำนวน 3 ตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการอนุบาลและปล่อยลงกลับทะเลน้ำลึกเป็นที่เรียบร้อย สาเหตุที่พบโลมาประเภทนี้น้อยเนื่องจากโลมาชนิดนี้อยู่อาศัยในทะเลลึก และมีจำนวนน้อย
วันนี้ (8 ก.ค.) ที่บริเวณลานซีเมนต์หน้าอาคารกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน นางสาวภัสราภรณ์ แก้วโม่ง สัตวแพทย์ ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ช่วยกันผ่าซากโลมาฟันห่างเพศผู้ น้ำหนักประมาณ 60 กิโลกรัม เพื่อหาสาเหตุการตาย หลังจากเจ้าหน้าที่นำโลมาตัวดังกล่าว ซึ่งชาวบ้านเกาะไม้ไผ่ หมู่ 3 ต.เกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา พบว่ายน้ำเข้ามาเกยตื้น เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 พร้อมกับโลมาเพศเมียอีก 1 ตัว น้ำหนักประมาณ 80 กิโลกรัม
ในส่วนของโลมาเพศผู้ ตอนที่ชาวบ้านพบพบว่ายังมีชีวิตอยู่แต่สภาพร่างกายอ่อนแอ จึงนำส่งกลุ่มสัตว์ทะเลหาอยากเพื่อช่วยรักษา แต่เมื่อนำมาส่งและเจ้าหน้าที่ดูแลไปได้ระยะหนึ่งพบว่าวันนี้โลมาเพศผู้ตัวดังกล่าวได้ตายลง เจ้าหน้าที่จึงนำซากมาผ่าพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุการตายว่าเกิดจากอะไร ขณะที่ซากโลมาเพศเมียซึ่งตายตั้งแต่ช่วงที่ชาวบ้านพบ เจ้าหน้าที่ได้นำซากมาไว้ที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากแล้ว แต่คาดว่าจะผ่าพิสูจน์ได้ประมาณสัปดาห์หน้า
ขณะที่ นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมง ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กล่าวว่า โลมาชนิดฟันห่าง เป็นโลมาพบได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งในฝั่งทะเลอันดามันโดยจะพบที่บริเวณ จ.ภูเก็ต พังงา และสตูล โดยในช่วง 14 ปีที่ผ่านมาพบโลมาชนิดนี้มาเกยตื้นเพียง 11 ตัว
ในช่วงประมาณ 2-3 ปีที่ผ่านมาเคยพบที่บริเวณชายหาดบ้านอ่าวน้ำบ่อ ต.วิชิต จ.ภูเก็ต จำนวน 3 ตัว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการอนุบาลและปล่อยลงกลับทะเลน้ำลึกเป็นที่เรียบร้อย สาเหตุที่พบโลมาประเภทนี้น้อยเนื่องจากโลมาชนิดนี้อยู่อาศัยในทะเลลึก และมีจำนวนน้อย