ศูนย์ข่าวภูเก้ต - ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวภูเก็ตรอบใหม่แจ้งแล้วกว่า 15,000 คน ขณะที่ สนง.จัดหางานจังหวัดภูเก็ตเชิญอาสาสมัครแรงงานร่วมชี้แจ้งขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนแรงงานในรูปแบบ One Stop Service
วันนี้ (7 ก.ค.) ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน เปิดการประชุมชี้แจงอาสาสมัครแรงงานตามโครงการประชุมชี้แจงอาสาสมัครแรงงาน ในการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวปี 2554 ซึ่งทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น เพื่อชี้แจงขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการเปิดจดทะเบียนที่ดำเนินการในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อให้อาสาสมัครแรงงานนำความรู้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นายจ้าง สถานประกอบการที่มีความประสงค์จะนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนเพื่อขออนุญาตทำงานได้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีนายจ้างสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวในขณะนี้มากถึง 10,700 ราย และมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานอยู่ในปัจจุบันจำนวนประมาณ 50,000 คน และขณะนี้อยู่ระหว่างจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 เมษายน 2554 โดยเห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา ที่ลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย และผู้ติดตามที่เป็นบุตรอายุไม่เกิน 15 ปี ผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยให้มาจดทะเบียนและขออนุญาตทำงานระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2554 - 14 กรกฎาคม 2554 ยกเว้นประมงให้จดทะเบียนและขออนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2554 และการการดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 6 ก.ค.นี้พบว่า มีแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาจดทะเบียนแล้วจำนวน 15,000 คน
ด้าน นายนภดล พลอยอยู่ดี จัดหางานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตกำหนดเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ลักลอบทำงานในประเทศไทยแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) บริเวณอาคารสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2554 จนถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2554
โดยขณะนี้ มีนายจ้าง สถานประกอบการที่มีความต้องการประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าวมาแจ้งขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 1,600 ราย และยื่นคำร้องขอจดทะเบียนประวัติคนต่างด้าว จำนวน 15,000 คน อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่าจังหวัดภูเก็ตมีความต้องการจ้างแรงงานระดับล่างเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานกรรมกรและเป็นแรงงานที่กลุ่มคนไทยไม่นิยมทำ เช่น ก่อสร้าง ประมง
วันนี้ (7 ก.ค.) ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน เปิดการประชุมชี้แจงอาสาสมัครแรงงานตามโครงการประชุมชี้แจงอาสาสมัครแรงงาน ในการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวปี 2554 ซึ่งทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น เพื่อชี้แจงขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการเปิดจดทะเบียนที่ดำเนินการในรูปแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อให้อาสาสมัครแรงงานนำความรู้ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นายจ้าง สถานประกอบการที่มีความประสงค์จะนำแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนเพื่อขออนุญาตทำงานได้เข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
นายนิวิทย์ อรุณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีนายจ้างสถานประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวในขณะนี้มากถึง 10,700 ราย และมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานอยู่ในปัจจุบันจำนวนประมาณ 50,000 คน และขณะนี้อยู่ระหว่างจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 เมษายน 2554 โดยเห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาวและกัมพูชา ที่ลักลอบทำงานอยู่ในประเทศไทย และผู้ติดตามที่เป็นบุตรอายุไม่เกิน 15 ปี ผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยให้มาจดทะเบียนและขออนุญาตทำงานระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน 2554 - 14 กรกฎาคม 2554 ยกเว้นประมงให้จดทะเบียนและขออนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2554 และการการดำเนินการที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 6 ก.ค.นี้พบว่า มีแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองมาจดทะเบียนแล้วจำนวน 15,000 คน
ด้าน นายนภดล พลอยอยู่ดี จัดหางานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตกำหนดเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ลักลอบทำงานในประเทศไทยแบบศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) บริเวณอาคารสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2554 จนถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2554
โดยขณะนี้ มีนายจ้าง สถานประกอบการที่มีความต้องการประสงค์จะจ้างแรงงานต่างด้าวมาแจ้งขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 1,600 ราย และยื่นคำร้องขอจดทะเบียนประวัติคนต่างด้าว จำนวน 15,000 คน อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่าจังหวัดภูเก็ตมีความต้องการจ้างแรงงานระดับล่างเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานกรรมกรและเป็นแรงงานที่กลุ่มคนไทยไม่นิยมทำ เช่น ก่อสร้าง ประมง