ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ครบ 7 ปี ประกาศภูเก็ต เขตปลอดเจ็ตสกี ภายใน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2547 จังหวัดเตรียมทบทวน คาด ยังต้องคงไว้เหตุเป็นกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวตอบรับ แต่คงจะต้องคงจำนวนและกำหนดมาตรการควบคุม เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการร้องเรียน
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาเจ็ตสกีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ปัญหาเจ็ตสกีเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนาน และเมื่อช่วงปี 2547 ได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการนำเจ็ตสกีมาให้บริการนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อนักท่องเที่ยวที่เล่นน้ำอยู่บริเวณชายหาด ซึ่งการร้องเรียนในครั้งนั้น จังหวัดได้เรียกประชุมในส่วนของผู้เกี่ยวข้อง และได้ข้อสรุป โดยการกำหนดมาตรการดำเนินการเพื่อให้เจ็ตสกีในภูเก็ตหมดไปภายใน 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2547 พร้อมกำหนดโซนนิ่งการเล่นเจ็ตสกีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพียง 5 พื้นที่ ประกอบด้วย หาดป่าตอง หาดกะตะ หาดกะรน หาดกมลา และ หาดบางเทา โดยให้คงจำนวนไว้ที่ 219 ลำ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่มีการใช้ประกาศดังกล่าว ในส่วนของผู้ประกอบการเจ็ตสกีเองก็ได้มีการเรียกร้องเพื่อให้บริการเจ็ตสกีได้ตลอดไปภายในเงื่อนไขที่กำหนด และขณะนี้ระยะเวลาตามประกาศดังกล่าวก็ครบ 7 ปีแล้ว จำเป็นที่จะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
นายตรี กล่าวต่อไปว่า การให้บริการเจ็ตสกีเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างหนึ่งที่สร้างสีสันให้แก่การท่องเที่ยวบริเวณชายหาด และมีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่ต้องการให้มีกิจกรรมดังกล่าวในพื้นที่ ดังนั้น การที่จะยกเลิกเจ็ตสกีตามที่ประกาศไว้คงจะเป็นไปได้ยาก ตามที่มีการระบุไว้ในประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่องมาตรการจัดระเบียบเจ็ตสกี เมื่อปี 2547 ที่จะทำให้เจ็ตสกีหมดไปจากเกาะภูเก็ตภายใน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2547
จากการหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมก็คงจะต้องมีการเชิญผู้ประกอบการเจ็ตสกีมาหารือ และรับฟังความคิดเห็นว่าเป็นอย่างไร รวมถึงการกำหนดมาตรการในการควบคุมดูแล เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากตามกฎหมายแล้วเจ็ตสกีจะต้องนำมาใช้ในเรื่องของการกีฬาไม่สามารถที่จะนำมาให้บริการด้านการท่องเที่ยวได้ แต่ที่ผ่านมาก็ได้มีการอนุโลม เพราะเป็นกิจกรรมที่สร้างสีสันให้แก่การท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
“ทั้งนี้ ธงที่ตั้งไว้เบื้องต้นนั้นยังคงมีการจำกัดจำนวนเจ็ตสกีเช่นเดิม ส่วนพื้นที่ให้บริการและระยะเวลาในการดำเนินการจะเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไรคงต้องรับฟังความคิดเห็นก่อน รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งนี้จะต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนการควบคุมดูแลเพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดนั้น คิดว่า หากทุกฝ่ายเข้าใจบทบาท และหน้าที่ของตัวเอง รวมทั้งคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมก็คงไม่มีปัญหา”
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาเจ็ตสกีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ปัญหาเจ็ตสกีเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมายาวนาน และเมื่อช่วงปี 2547 ได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการนำเจ็ตสกีมาให้บริการนักท่องเที่ยวบริเวณชายหาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อนักท่องเที่ยวที่เล่นน้ำอยู่บริเวณชายหาด ซึ่งการร้องเรียนในครั้งนั้น จังหวัดได้เรียกประชุมในส่วนของผู้เกี่ยวข้อง และได้ข้อสรุป โดยการกำหนดมาตรการดำเนินการเพื่อให้เจ็ตสกีในภูเก็ตหมดไปภายใน 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2547 พร้อมกำหนดโซนนิ่งการเล่นเจ็ตสกีในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพียง 5 พื้นที่ ประกอบด้วย หาดป่าตอง หาดกะตะ หาดกะรน หาดกมลา และ หาดบางเทา โดยให้คงจำนวนไว้ที่ 219 ลำ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่มีการใช้ประกาศดังกล่าว ในส่วนของผู้ประกอบการเจ็ตสกีเองก็ได้มีการเรียกร้องเพื่อให้บริการเจ็ตสกีได้ตลอดไปภายในเงื่อนไขที่กำหนด และขณะนี้ระยะเวลาตามประกาศดังกล่าวก็ครบ 7 ปีแล้ว จำเป็นที่จะต้องพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
นายตรี กล่าวต่อไปว่า การให้บริการเจ็ตสกีเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างหนึ่งที่สร้างสีสันให้แก่การท่องเที่ยวบริเวณชายหาด และมีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่ต้องการให้มีกิจกรรมดังกล่าวในพื้นที่ ดังนั้น การที่จะยกเลิกเจ็ตสกีตามที่ประกาศไว้คงจะเป็นไปได้ยาก ตามที่มีการระบุไว้ในประกาศจังหวัดภูเก็ต เรื่องมาตรการจัดระเบียบเจ็ตสกี เมื่อปี 2547 ที่จะทำให้เจ็ตสกีหมดไปจากเกาะภูเก็ตภายใน 7 ปี ตั้งแต่ปี 2547
จากการหารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมก็คงจะต้องมีการเชิญผู้ประกอบการเจ็ตสกีมาหารือ และรับฟังความคิดเห็นว่าเป็นอย่างไร รวมถึงการกำหนดมาตรการในการควบคุมดูแล เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากตามกฎหมายแล้วเจ็ตสกีจะต้องนำมาใช้ในเรื่องของการกีฬาไม่สามารถที่จะนำมาให้บริการด้านการท่องเที่ยวได้ แต่ที่ผ่านมาก็ได้มีการอนุโลม เพราะเป็นกิจกรรมที่สร้างสีสันให้แก่การท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
“ทั้งนี้ ธงที่ตั้งไว้เบื้องต้นนั้นยังคงมีการจำกัดจำนวนเจ็ตสกีเช่นเดิม ส่วนพื้นที่ให้บริการและระยะเวลาในการดำเนินการจะเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไรคงต้องรับฟังความคิดเห็นก่อน รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งนี้จะต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนการควบคุมดูแลเพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดนั้น คิดว่า หากทุกฝ่ายเข้าใจบทบาท และหน้าที่ของตัวเอง รวมทั้งคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมก็คงไม่มีปัญหา”