ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นพฤติกรรมการสูบบุหรี่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ พบอายุต่ำสุด 9 ขวบ คาดหวังให้รัฐบาลใหม่แก้ไขปัญหาควรยกเลิกการผลิตบุหรี่เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย รองลงมาเห็นว่าควรออกกฎหมายบังคับห้ามสูบบุหรี่
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้เป็นประชนชนที่มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 997 คน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม 2554 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
สถานภาพกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 51.98) เพศหญิง (ร้อยละ 48.02) ส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.85 มีอาชีพรับจ้าง รองลงมาเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 12.21) อาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 30.06) นักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 29.12) เกษตรกร/ชาวประมง (ร้อยละ 4.80) ตามลำดับ
จากผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในภาคใต้โดยการสอบถามจากสมาชิกในครอบครัวของผู้สูบบุหรี่ พบว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่มีอายุต่ำสุดในครอบครัวเป็นเยาวชนที่มีอายุเพียง 9 ขวบ และมีอายุสูงที่สุด 80 ปี โดยการสูบบุหรี่ของประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.01 มีอายุระหว่าง 9-22 ปี รองลงมามีอายุระหว่าง 23-34 ปี (ร้อยละ 22.68) และมีอายุระหว่าง 39- 53 ปี (ร้อยละ 10.31) ตามลำดับ เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.78 เห็นว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เนื่องจากเป็นการทำร้ายคนรอบข้าง เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี และเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจ และเห็นว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล (ร้อยละ 26.22)
เมื่อสอบถามถึงการกำหนดกฎหมายบังคับห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สูบบุหรี่ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.68 เห็นด้วย และมีไม่เห็นด้วย ร้อยละ 16.32 เมื่อสอบถามเกี่ยวกับมาตรการที่รัฐบาลกำหนดการปรับขึ้นภาษีบุหรี่จากเดิมร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 99 นั้นมีผลต่อการลดปริมาณการสูบบุหรี่ของประชาชนหรือไม่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.37 มีผลให้สูบบุหรี่น้อยลง และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ในปริมาณเท่าเดิม/มากขึ้น ร้อยละ 50.63 มากขึ้น
เมื่อสอบถามถึงการสูบบุหรี่เป็นปัญหาที่สำคัญของครอบครัวหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 54.92 เห็นว่าการสูบบุหรี่ปัญหาที่สำคัญของครอบครัวมากถึงมากที่สุด รองลงมาเป็นปัญหาที่สำคัญของครอบครัวในระดับปานกลาง (ร้อยละ 29.81) และเป็นปัญหาน้อยถึงน้อยที่สุด (ร้อยละ 15.27) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงประเด็นความคาดหวังให้รัฐบาลใหม่แก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของคนไทย ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.71 เห็นว่า ควรยกเลิกการผลิตบุหรี่เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย รองลงมาเห็นว่าควรออกกฎหมายบังคับห้ามสูบบุหรี่ (ร้อยละ 33.94)และอื่นๆ เช่น การปลูกฝังค่านิยมแก่เยาวชน การเผยแพร่ผลเสียของบุหรี่ (ร้อยละ 14.35) ตามลำดับ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้เป็นประชนชนที่มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 997 คน โดยใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม 2554 สรุปผลการสำรวจ ดังนี้
สถานภาพกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 51.98) เพศหญิง (ร้อยละ 48.02) ส่วนใหญ่ ร้อยละ 32.85 มีอาชีพรับจ้าง รองลงมาเป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 12.21) อาชีพค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 30.06) นักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 29.12) เกษตรกร/ชาวประมง (ร้อยละ 4.80) ตามลำดับ
จากผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชาชนในภาคใต้โดยการสอบถามจากสมาชิกในครอบครัวของผู้สูบบุหรี่ พบว่า ผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่มีอายุต่ำสุดในครอบครัวเป็นเยาวชนที่มีอายุเพียง 9 ขวบ และมีอายุสูงที่สุด 80 ปี โดยการสูบบุหรี่ของประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.01 มีอายุระหว่าง 9-22 ปี รองลงมามีอายุระหว่าง 23-34 ปี (ร้อยละ 22.68) และมีอายุระหว่าง 39- 53 ปี (ร้อยละ 10.31) ตามลำดับ เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.78 เห็นว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เนื่องจากเป็นการทำร้ายคนรอบข้าง เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี และเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจ และเห็นว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล (ร้อยละ 26.22)
เมื่อสอบถามถึงการกำหนดกฎหมายบังคับห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สูบบุหรี่ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.68 เห็นด้วย และมีไม่เห็นด้วย ร้อยละ 16.32 เมื่อสอบถามเกี่ยวกับมาตรการที่รัฐบาลกำหนดการปรับขึ้นภาษีบุหรี่จากเดิมร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 99 นั้นมีผลต่อการลดปริมาณการสูบบุหรี่ของประชาชนหรือไม่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.37 มีผลให้สูบบุหรี่น้อยลง และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ในปริมาณเท่าเดิม/มากขึ้น ร้อยละ 50.63 มากขึ้น
เมื่อสอบถามถึงการสูบบุหรี่เป็นปัญหาที่สำคัญของครอบครัวหรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 54.92 เห็นว่าการสูบบุหรี่ปัญหาที่สำคัญของครอบครัวมากถึงมากที่สุด รองลงมาเป็นปัญหาที่สำคัญของครอบครัวในระดับปานกลาง (ร้อยละ 29.81) และเป็นปัญหาน้อยถึงน้อยที่สุด (ร้อยละ 15.27) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงประเด็นความคาดหวังให้รัฐบาลใหม่แก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของคนไทย ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.71 เห็นว่า ควรยกเลิกการผลิตบุหรี่เพื่อจำหน่ายในประเทศไทย รองลงมาเห็นว่าควรออกกฎหมายบังคับห้ามสูบบุหรี่ (ร้อยละ 33.94)และอื่นๆ เช่น การปลูกฝังค่านิยมแก่เยาวชน การเผยแพร่ผลเสียของบุหรี่ (ร้อยละ 14.35) ตามลำดับ