ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เผยผลสำรวจหาดใหญ่โพลกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 14 จังหวัดภาคใต้ พบสูงถึงร้อยละ 60 ไม่เห็นด้วย เหตุวิตกกังวลต่อการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีเชีนเดียวกับที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ พบเกินครึ่งเห็นว่าประเทศไทยเหมาะที่จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 897 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28-31 มี.ค.ที่ผ่านมา
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยถึงผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนภาคใต้ร้อยละ 45.8 รู้สึกวิตกกังวลต่อข่าวการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น และร้อยละ 40.4 ไม่วิตกกังวลต่อข่าวการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีเพียงร้อยละ 13.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 ไม่เห็นด้วยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 15.7 ที่เห็นด้วยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และร้อยละ 24.0 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 50.5 หากเกิดสถานการณ์แบบญี่ปุ่น ประเทศไทยจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้
ร้อยละ 26.6 เห็นว่าสามารถควบคุมสถานการณ์การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้
ในส่วนของความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนร้อยละ 47.4 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 34.5 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 18.1 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับมากถึงมากที่สุด
ประชาชนร้อยละ 58.4 เห็นว่า การคอร์รัปชันส่งผลต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีเพียงร้อยละ 19.0 ที่เห็นว่าการคอร์รัปชั่นไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และร้อยละ 22.6 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 34.2 มีความวิตกกังวลการรั่วไหลของสารพิษในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากที่สุด รองลงมา คือ การกำจัดกากนิวเคลียร์ คิดเป็นร้อยละ 20.1
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานทดแทน พบว่า พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุด (ร้อยละ 38.4) รองลงมา ก๊าซธรรมชาติ, พลังงานน้ำ และแก๊สโซฮอล์/ไบโอดีเซล คิดเป็นร้อยละ 12.3, 11.2 และ 11.1 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 8.6 ที่เห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงาน ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 45.7 ไม่เชื่อหากมีการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะทำให้ได้ใช้ไฟฟ้าถูกกว่าปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 24.8 เชื่อว่าจะได้ใช้ไฟฟ้าถูกกว่าเดิม
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 897 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 28-31 มี.ค.ที่ผ่านมา
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยถึงผลการสำรวจ พบว่า ประชาชนภาคใต้ร้อยละ 45.8 รู้สึกวิตกกังวลต่อข่าวการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น และร้อยละ 40.4 ไม่วิตกกังวลต่อข่าวการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีเพียงร้อยละ 13.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 ไม่เห็นด้วยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย มีเพียงร้อยละ 15.7 ที่เห็นด้วยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และร้อยละ 24.0 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 50.5 หากเกิดสถานการณ์แบบญี่ปุ่น ประเทศไทยจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้
ร้อยละ 26.6 เห็นว่าสามารถควบคุมสถานการณ์การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้
ในส่วนของความมั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พบว่า ประชาชนร้อยละ 47.4 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 34.5 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 18.1 มั่นใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในระดับมากถึงมากที่สุด
ประชาชนร้อยละ 58.4 เห็นว่า การคอร์รัปชันส่งผลต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีเพียงร้อยละ 19.0 ที่เห็นว่าการคอร์รัปชั่นไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และร้อยละ 22.6 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 34.2 มีความวิตกกังวลการรั่วไหลของสารพิษในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากที่สุด รองลงมา คือ การกำจัดกากนิวเคลียร์ คิดเป็นร้อยละ 20.1
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานทดแทน พบว่า พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย มากที่สุด (ร้อยละ 38.4) รองลงมา ก๊าซธรรมชาติ, พลังงานน้ำ และแก๊สโซฮอล์/ไบโอดีเซล คิดเป็นร้อยละ 12.3, 11.2 และ 11.1 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 8.6 ที่เห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงาน ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 45.7 ไม่เชื่อหากมีการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะทำให้ได้ใช้ไฟฟ้าถูกกว่าปัจจุบัน มีเพียงร้อยละ 24.8 เชื่อว่าจะได้ใช้ไฟฟ้าถูกกว่าเดิม