ยะลา - ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเขียนจดหมายเปิดผนึก ชี้แจงการทำงานในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวยะลา ที่ตกเป็นผู้ต้องหา และจำเลยในคดีความมั่นคง พร้อมให้ญาติเร่งเจรจาผู้ที่หลงผิดออกมอบตัวสู้คดี
วันนี้ (10 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อชี้แจงการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กับข้าราชการในพื้นที่ ทั้งในการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งการสร้างความเป็นธรรมให้แก่พี่น้องชาวยะลา เพื่อให้เกิดความสันติสุข
จดหมายดังกล่าวได้พิมพ์เป็น 2 ภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษามลายูถิ่น และได้แจกจ่ายไปยังประชาชนในพื้นที่ตามมัสยิด และชุมชน โดยในจดหมายได้มีข้อความชี้แจงการทำงานในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวยะลา ที่ตกเป็นผู้ต้องหา และจำเลยในคดีความมั่นคง ซึ่งอยู่ในเรือนจำจังหวัดยะลา ซึ่งขณะนี้ศาลจังหวัดยะลา ได้ให้ประกันตัวออกมาแล้ว จำนวน 129 คน และได้ให้การช่วยเหลือโดยการหางานทำให้ และสนับสนุนทุนประกอบอาชีพให้บุคคลดังกล่าว
ส่วนผู้ที่ยังหลบหนีก็ได้มอบหมายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา และนายอำเภอ ไปเจรจากับญาติของบุคคลเหล่านั้นให้มารายงานตัว เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือให้ได้รับความเป็นธรรมเหมือนกับบุคคลทั้ง 129 คน ส่วนในเรื่องของการพัฒนานั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้ให้ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม ร่วมกันกำหนดกฎกติกาประจำหมู่บ้าน หรือ ฮูกมปาก๊ะ ขึ้นมาใช้ และแก้ไขปัญหาภายในหมู่บ้าน
วันนี้ (10 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลา เพื่อชี้แจงการทำงานของผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กับข้าราชการในพื้นที่ ทั้งในการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งการสร้างความเป็นธรรมให้แก่พี่น้องชาวยะลา เพื่อให้เกิดความสันติสุข
จดหมายดังกล่าวได้พิมพ์เป็น 2 ภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษามลายูถิ่น และได้แจกจ่ายไปยังประชาชนในพื้นที่ตามมัสยิด และชุมชน โดยในจดหมายได้มีข้อความชี้แจงการทำงานในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวยะลา ที่ตกเป็นผู้ต้องหา และจำเลยในคดีความมั่นคง ซึ่งอยู่ในเรือนจำจังหวัดยะลา ซึ่งขณะนี้ศาลจังหวัดยะลา ได้ให้ประกันตัวออกมาแล้ว จำนวน 129 คน และได้ให้การช่วยเหลือโดยการหางานทำให้ และสนับสนุนทุนประกอบอาชีพให้บุคคลดังกล่าว
ส่วนผู้ที่ยังหลบหนีก็ได้มอบหมายให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา และนายอำเภอ ไปเจรจากับญาติของบุคคลเหล่านั้นให้มารายงานตัว เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือให้ได้รับความเป็นธรรมเหมือนกับบุคคลทั้ง 129 คน ส่วนในเรื่องของการพัฒนานั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้ให้ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม ร่วมกันกำหนดกฎกติกาประจำหมู่บ้าน หรือ ฮูกมปาก๊ะ ขึ้นมาใช้ และแก้ไขปัญหาภายในหมู่บ้าน