นราธิวาส - รองประธานโต๊ะอิหม่าม อ.สุไหงโก-ลก วอนประชาชนอย่าตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้ก่อความรุนแรง เพราะหากเกิดความหวาดระแวงกัน ก็จะส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอและง่ายต่อการถูกชักจูงเข้าไปเป็นแนวร่วม เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้
วันนี้ (4 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอับดุลวาฮับ เจ๊ะปอ รองประธานโต๊ะอิหม่าม อ.สุไหงโก-ลก แสดงความเสียใจกับการเสียชีวิตของชาวไทยพุทธ ซึ่งถูกกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงยิงเสียชีวิตที่บ้านคอกกระบือ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
อย่างไรก็ตาม วอนประชาชนในพื้นที่อย่าได้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงที่พยายามสร้างสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความแตกแยกของชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม
ทั้งนี้ เพราะในความเป็นจริงประชาชนในพื้นที่ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข แต่จากนี้ไปหากจะต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง และหมดความไว้วางใจกันจากสถานการณ์ดังกล่าว ก็จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของฝ่ายตรงข้าม ที่มุ่งสร้างความแตกแยกเพื่อให้ชุมชนเกิดความอ่อนแอ และง่ายต่อการชักจูงเข้าไปเป็นแนวร่วมเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้
สำหรับการแก้ปัญหาในพื้นที่จำเป็นต้องใช้เวลา และใช้ความเข้าใจสภาพพื้นที่ และวิถีชีวิตของประชาชนเป็นหลัก โดยเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระดับชุมชนให้มากขึ้น ส่วนโต๊ะอิหม่ามและผู้นำศาสนา จำนวน 29 คน ที่ประจำอยู่ที่มัสยิดและบาราเซาะในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก ก็จะน้อมนำกระแสพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสนับสนุนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเชื่อมั่นว่าแนวทางดังกล่าวจะสามารถนำความสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
ด้านหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ได้กำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ พร้อมแจ้งเตือนให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง และเฝ้าระวังการเข้าพื้นที่ของบุคคลแปลกหน้า หากพบเห็นต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
วันนี้ (4 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอับดุลวาฮับ เจ๊ะปอ รองประธานโต๊ะอิหม่าม อ.สุไหงโก-ลก แสดงความเสียใจกับการเสียชีวิตของชาวไทยพุทธ ซึ่งถูกกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงยิงเสียชีวิตที่บ้านคอกกระบือ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี
อย่างไรก็ตาม วอนประชาชนในพื้นที่อย่าได้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้ก่อความรุนแรงที่พยายามสร้างสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความแตกแยกของชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิม
ทั้งนี้ เพราะในความเป็นจริงประชาชนในพื้นที่ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข แต่จากนี้ไปหากจะต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง และหมดความไว้วางใจกันจากสถานการณ์ดังกล่าว ก็จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของฝ่ายตรงข้าม ที่มุ่งสร้างความแตกแยกเพื่อให้ชุมชนเกิดความอ่อนแอ และง่ายต่อการชักจูงเข้าไปเป็นแนวร่วมเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้
สำหรับการแก้ปัญหาในพื้นที่จำเป็นต้องใช้เวลา และใช้ความเข้าใจสภาพพื้นที่ และวิถีชีวิตของประชาชนเป็นหลัก โดยเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระดับชุมชนให้มากขึ้น ส่วนโต๊ะอิหม่ามและผู้นำศาสนา จำนวน 29 คน ที่ประจำอยู่ที่มัสยิดและบาราเซาะในพื้นที่ อ.สุไหงโก-ลก ก็จะน้อมนำกระแสพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสนับสนุนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเชื่อมั่นว่าแนวทางดังกล่าวจะสามารถนำความสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
ด้านหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ได้กำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต่อการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ พร้อมแจ้งเตือนให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง และเฝ้าระวังการเข้าพื้นที่ของบุคคลแปลกหน้า หากพบเห็นต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น