ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผอ.ททท.ภูเก็ตพร้อมทำหนังสือแจงรายละเอียดปิดจุดดำน้ำ 7 จุด ฝั่งอันดามัน สร้างความเข้าใจนักท่องเที่ยวเชื่อยังมีจุดดำน้ำอีกหลายจุดที่พร้อมรับนักท่องเที่ยว เชื่อ การปิดจุดดำน้ำบางจุดในภาพรวมส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวในอนาคต
นางบังอรรัตน์ ชินะประยูร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต(ททท.) กล่าวถึงปัญหาปะการังฟอกขาวในฝั่งทะเลอันดามัน และการประกาศปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 จุด ในฝั่งทะเลอันดามัน ว่า สำหรับการประกาศปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 แห่ง ในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเปิดโอกาสให้แนวปะการัง ที่ได้รับความเสียหายจากการฟอกขาวได้ฟื้นตัวนั้น ถือว่าในภาพรวมเป็นเป็นผลดีกับการท่องเที่ยวในระยะยาว เพราะการปิดจุดดำน้ำทั้ง 7 แห่ง ก็เพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง เพราะถ้าปล่อยไว้ปะการังก็จะไม่มีโอกาสฟื้นตัวกลับมา เมื่อแนวปะการังไม่ฟื้นตัวกลับมาก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทางทะเลได้
นอกจากนี้ การปิดจุดดำน้ำ 7 แห่งนั้น เป็นการปิดเพียงแค่บางจุดเท่านั้น ในขณะที่แนวปะการังที่สามารถพานักท่องเที่ยวไปชมนั้นยังมีอีกหลายจุด และในส่วนของอุทยานแห่งชาติต่างๆ ก็ยังสามารถเข้าไปท่องเที่ยวหรือพักได้เหมือนเดิม
นางบังอรรัตน์ ยังกล่าวต่อไปว่า สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการนำท่องเที่ยวทางทะเลเองก็จะต้องปรับตัวหันมาเน้นให้ความสำคัญของการอนุรักษ์โดยเสริมเข้าไปในกิจกรรมการท่องเที่ยว เชื่อว่า จะได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวอย่างแน่นอน และที่สำคัญ จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพื่อรักษาความสวยงามของแนวปะการังให้อยู่อย่างยั่งยืน เชื่อว่าถ้าทะเลยังมีความสวยงามนักท่องเที่ยวก็พร้อมที่จะเดินทางเข้ามา
ส่วนกรณีที่ทางผู้ประกอบการเรียกร้องให้ทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยว ถึงการปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 จุดนั้น นางบังอรรัตน์ กล่าวในส่วนของ ททท.สำนักงานภูเก็ต พร้อมที่จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 จุดในฝั่งทะเลอันดามัน ว่า มีจุดใดบ้าง และการปิดจุดดำน้ำปิดเพียงบางจุดไม่ได้ปิดทั้งหมด นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางมาดำน้ำในจุดอื่นๆในพื้นที่ฝั่งอันดามันได้อยู่ ซึ่งจะทำเอกสารเผยแพร่ออกไปเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับทราบต่อไป
นางบังอรรัตน์ ชินะประยูร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต(ททท.) กล่าวถึงปัญหาปะการังฟอกขาวในฝั่งทะเลอันดามัน และการประกาศปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 จุด ในฝั่งทะเลอันดามัน ว่า สำหรับการประกาศปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 แห่ง ในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเปิดโอกาสให้แนวปะการัง ที่ได้รับความเสียหายจากการฟอกขาวได้ฟื้นตัวนั้น ถือว่าในภาพรวมเป็นเป็นผลดีกับการท่องเที่ยวในระยะยาว เพราะการปิดจุดดำน้ำทั้ง 7 แห่ง ก็เพื่อฟื้นฟูแนวปะการัง เพราะถ้าปล่อยไว้ปะการังก็จะไม่มีโอกาสฟื้นตัวกลับมา เมื่อแนวปะการังไม่ฟื้นตัวกลับมาก็จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทางทะเลได้
นอกจากนี้ การปิดจุดดำน้ำ 7 แห่งนั้น เป็นการปิดเพียงแค่บางจุดเท่านั้น ในขณะที่แนวปะการังที่สามารถพานักท่องเที่ยวไปชมนั้นยังมีอีกหลายจุด และในส่วนของอุทยานแห่งชาติต่างๆ ก็ยังสามารถเข้าไปท่องเที่ยวหรือพักได้เหมือนเดิม
นางบังอรรัตน์ ยังกล่าวต่อไปว่า สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการนำท่องเที่ยวทางทะเลเองก็จะต้องปรับตัวหันมาเน้นให้ความสำคัญของการอนุรักษ์โดยเสริมเข้าไปในกิจกรรมการท่องเที่ยว เชื่อว่า จะได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวอย่างแน่นอน และที่สำคัญ จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพื่อรักษาความสวยงามของแนวปะการังให้อยู่อย่างยั่งยืน เชื่อว่าถ้าทะเลยังมีความสวยงามนักท่องเที่ยวก็พร้อมที่จะเดินทางเข้ามา
ส่วนกรณีที่ทางผู้ประกอบการเรียกร้องให้ทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยว ถึงการปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 จุดนั้น นางบังอรรัตน์ กล่าวในส่วนของ ททท.สำนักงานภูเก็ต พร้อมที่จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปิดจุดดำน้ำจำนวน 7 จุดในฝั่งทะเลอันดามัน ว่า มีจุดใดบ้าง และการปิดจุดดำน้ำปิดเพียงบางจุดไม่ได้ปิดทั้งหมด นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางมาดำน้ำในจุดอื่นๆในพื้นที่ฝั่งอันดามันได้อยู่ ซึ่งจะทำเอกสารเผยแพร่ออกไปเพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับทราบต่อไป