พัทลุง - ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดพัทลุง ร้องตลอดเวลา 3 เดือนที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ ยังไม่เคยเห็นผู้ว่าฯพัทลุง ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ต้องยืมเงินนอกระบบในการยังชีพ พร้อมวอนราชการให้การช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์
วันนี้ (10 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังไม่พ้นวิกฤต แม้ฝนได้หยุดตกแล้วก็ตาม โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มริมทะเลสาบสงขลา ในพื้นที่ อ.ควนขนุน อ.เมือง อ.เขาชัยสน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำจากเทือกเขาบรรทัดที่ไหลผ่านลำคลอง 7สาย ก่อนลงสู่ทะเลสาบสงขลา ระดับน้ำยังทรงตัว เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ทำให้บ้านเรือนราษฎร ถนนสายหลัก และสายรองในหมู่บ้านหลายสายไม่สามารถใช้สัญจรผ่านไปมาได้ โดยมีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 80 ซม.ถึง 1 เมตร และต้องใช้เรือในการเดินทาง
โดยชาวบ้าน ม.5, 6 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน ม.11 ต.ลำปำ อ.เมือง กว่า 700 ครัวเรือน ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำที่ท่วมมานานเกือบ 3 เดือน พร้อมร้องขอเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่มเพื่อการยังชีพ และวอนส่วนราชการเร่งให้การช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากพื้นที่ไม่มีหญ้าให้โคกิน ซึ่งบางครอบครัวต้องเดินหน้ากู้เงินนอกระบบมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
ในขณะที่ชาวบ้าน ระบุว่า จนถึงขณะนี้น้ำท่วมมานานเกือบ 3 เดือนเต็มยังไม่เคยเห็นผู้ว่าราชการจังหวัด ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแต่อย่างใด ซึ่งชาวบ้านผู้ประสบภัยต้องการเพียงกำลังใจจากส่วนราชการเท่านั้นที่ไม่ทอดทิ้งประชาชนในยามทุกยาก
วันนี้ (10 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง ว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังไม่พ้นวิกฤต แม้ฝนได้หยุดตกแล้วก็ตาม โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มริมทะเลสาบสงขลา ในพื้นที่ อ.ควนขนุน อ.เมือง อ.เขาชัยสน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำจากเทือกเขาบรรทัดที่ไหลผ่านลำคลอง 7สาย ก่อนลงสู่ทะเลสาบสงขลา ระดับน้ำยังทรงตัว เนื่องจากน้ำทะเลหนุน ทำให้บ้านเรือนราษฎร ถนนสายหลัก และสายรองในหมู่บ้านหลายสายไม่สามารถใช้สัญจรผ่านไปมาได้ โดยมีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 80 ซม.ถึง 1 เมตร และต้องใช้เรือในการเดินทาง
โดยชาวบ้าน ม.5, 6 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน ม.11 ต.ลำปำ อ.เมือง กว่า 700 ครัวเรือน ต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำที่ท่วมมานานเกือบ 3 เดือน พร้อมร้องขอเครื่องอุปโภคบริโภคและน้ำดื่มเพื่อการยังชีพ และวอนส่วนราชการเร่งให้การช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากพื้นที่ไม่มีหญ้าให้โคกิน ซึ่งบางครอบครัวต้องเดินหน้ากู้เงินนอกระบบมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
ในขณะที่ชาวบ้าน ระบุว่า จนถึงขณะนี้น้ำท่วมมานานเกือบ 3 เดือนเต็มยังไม่เคยเห็นผู้ว่าราชการจังหวัด ลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแต่อย่างใด ซึ่งชาวบ้านผู้ประสบภัยต้องการเพียงกำลังใจจากส่วนราชการเท่านั้นที่ไม่ทอดทิ้งประชาชนในยามทุกยาก